Lord Buddha: an Excellent CEO


พระพุทธเจ้ากับนักบริหารที่ดีเยี่ยม (Lord Buddha: an Excellent CEO)

หลักคำสอนของพระพุทธองค์กับการขจัดความขัดแย้งในองค์กร

- การจัดฝึกอบรมในเรื่องการทำสมาธิของบุคคลกรในองค์กร

- การรู้สติทุกขณะ (Mindfulness)

- การฝึกกำหนดลมหายใจเข้าออกจะช่วยให้เรามีสติสัมปชัญญะและทำงานได้อย่างดี

- การใช้สุนทรียสนทนา คือ การพูดคุยอย่างมีสติและฟังอย่างมีประสิทธิภาพ (ฟังอย่างลึก) คือ การปล่อยให้เสียงและความเป็นตัวตนทั้งหมดของผู้อื่นเข้ามาในตนเองเพื่อรวบรวมและประมวลสิ่งที่ได้ยินโดย สร้างความหมายให้กับสิ่งที่ฟังและอาศัยสมาธิเข้ามาเป็นตัวช่วยในการพิจารณาหรือวิเคราะห์ ในการฟังอย่างลึกนั้นจะประกอบด้วย

1) การหยุดเสี่ยงภายในอันเป็นลบที่เข้ามา เช่น หยุดการสินผู้คนว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

2) การหยุดเสียงของความคลางแคลงหน่ายแหนงใจหรืออคติ

3) การหยุดเสียงของสิ่งที่ทำให้เป็นวิตกกังวลหรือความกลัว

ความขัดแย้งในองค์กรสามารถสรุปถึงสาเหตุของความขัดแย้งได้ดังนี้

1. ปัจจัยทางจิตวิทยาและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลที่ขัดแย้งกัน ได้แก่ การที่บุคคลในองค์การแต่ละคนมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน มีการรับรู้และความเข้าใจในปัญหาที่แตกต่างกัน มีค่านิยมที่ยึดถือเป็นตัวของตัวเองและแตกต่างจากบุคคลอื่นๆ การมีอคติและการไม่เชื่อถือกันเป็นการส่วนตัว การมีเป้าหมาย อุดมการณ์ในชีวิตการทำงานร่วมกับองค์การที่แตกต่างกัน รวมไปถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลและความพึงพอใจของบุคคลต่อฐานะของตนในองค์การ

2. ผลประโยชน์ขัดกัน ผลประโยชน์นับว่าเป็นเรื่องสำคัญมากโดยเฉพาะในทางการเมืองบุคคลแต่ละคนย่อมจะมีผลประโยชน์ที่ตัวเองต้องการได้รับ แต่บางทีผลประโยชน์ที่ต้องการนั้นก็จะไปขัดหรือกระทบต่อความต้องการของคนอื่นๆ ด้วย

3. การมีทรัพยากรที่จำกัด การมีทรัพยากรที่จำกัดทำให้ไม่สามารถสนองตอบต่อความต้องการของทุกคนได้ ดังนั้นจึงมีการแข่งขันเพื่อจะให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น เมื่อฝ่ายใดได้ไปก็ย่อมทำให้อีกฝ่ายไม่พอใจจึงเกิดความขัดแย้งขึ้นมาได้

4. อุปสรรคจากการติดต่อสื่อสารขององค์กร โครงสร้างองค์การก็มีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคลในองค์การได้ ถ้าหากว่าองค์กรหรือกลุ่มบุคคลใดมีการจัดโครงสร้างที่ไม่ดี ขาดประสิทธิภาพในการทำงานและก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างตำแหน่งต่างๆ ในองค์กร

พระพุทธเจ้าในแง่ของนักบริหารหรือ CEO (CHIEF EXECUTIVE OFFICER)

พระองค์ทรงค้นพบหลักคำสอน(พระธรรม) ที่เปรียบได้กับสินค้า

- สินค้า (พระธรรมและพระวินัย)                                                   - การเปิดตัวสินค้า (เผยแผ่พระธรรมคำสอน)

- การบริหารงานบุคคลหรือองค์กร (ก่อตั้งพระพุทธศาสนา)     - คุณสมบัติของความเป็นผู้นำ (พระศาสดา)

หลักคำสอนของพระพุทธองค์ที่ควรนำมาปฏิบัติในองค์กรภายใต้ความขัดแย้งและความกดดัน

1. สังสารวัฏ คือ ภพภูมิที่มนุษย์ทุกคนต้องเวียนว่ายตายเกิดขึ้นมา

2. กรรมลิขิต คือ ผลของการกระทำที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอันสืบเนื่องมาจากการกระทำในอดีต

3. อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

4. อนัตตา คือ ความไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน มิใช่อัตตา มิใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้

5. นิพพาน คือ สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้ทุกข์

6. รูปกับนาม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตาดู หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่สามารถสัมผัสถูกต้องได้ชัดเจน รู้เห็นได้ เรียกว่ารูป ส่วนที่ไม่สามารถสัมผัสถูกต้องชัดเจน รู้เห็นได้ เรียกว่า นาม

 

 

หมายเลขบันทึก: 337513เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท