Economic Impact of Alcohol Consumption


ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของผู้ดื่มสุรา (Economic Impact of Alcohol Consumption)

ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของผู้ดื่มสุรา

การซื้อขายสุรานั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยนิยมใช้ในงานเลี้ยงฉลอง สังสรรค์ทั่วไปและในปัจจุบันนั้นแนวโน้มของอัตราการดื่มได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี จนทำให้เกิดผลกระทบจากดื่มสุราในด้านต่างๆ มีดังต่อไปนี้ คือ

- ด้านร่างกาย ถ้าหากดื่มในปริมาณที่มากเกนไปหรือมีรูปแบบการดื่มที่ค่อนข้างสูงจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรง เช่น การเกิดพิษต่อร่างกาย เมา ส่วนทางอ้อม คือ โรคมะเร็งตับ

- ด้านจิตใจ เกิดภาวะซึมเศร้า เหงา การฆ่าตัวตาย

- ด้านสังคม ทำให้เกิดความรุนแรง การทะเลาะวิวาทกัน อุบัติเหตุบนท้องถนน ต้องออกจากงาน เกิดปัญหาในครอบครัว การทำร้ายเด็กหรือสตรี ความขัดแย้งต่างๆ ตามมา เป็นต้น

- ด้านเศรษฐกิจ ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลต่างๆ

การประเมินทางด้านเศรษฐกิจ จะคิดคำนวณจาก ค่ารักษาพยาบาลและค่าขนส่งผู้ป่วย

                1) Cost-illness Approach = ราคาของความเจ็บป่วย เช่น การสูญเสียโอกาส ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ความเสียที่เกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน

                2) Social and Private Cost = ต้นทุนสังคม เช่น ค่าเสียหายของตัวเองและค่าเสียหายกับคนอื่น

                3) Cost component = การสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ค่ารณรงค์ประชาสัมพันธ์ ค่ารักษาพยาบาล การสูญเสียผลิตผล ทำงานไม่ได้ตามเป้าที่ตั้ง เกิดต้นทุนในสังคม

                4) Human cost = ต้นทุนมนุษย์

ค่ารักษาพยาบาลเป็นเท่าไหร่จากการดื่มแอลกอฮอล์

                จากการศึกษา Economic cost hospitalized alcohol-related illness patients in Songkla in 1991 พบว่า ต้องสูญเสียค่าใช้จ่าย ประมาณ 2,000 บาท/คน/ครั้ง

                จากการศึกษา Economic cost of alcohol consumption in Thailand 2003 พบว่า การสูญเสีย Productivity loss from accident relate to alcohol treatment สูงถึง 6974.9 ล้านบาท

                จากการศึกษา Social Cost of alcohol consumption in Thailand 2006 พบว่า สูญเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 156,105.4 ล้านบาท (% of GDP= 1.99) คิดเป็นต่อหัวประชากรทั้งประเทศเท่ากับ 2,391 บาท

                จากการศึกษา ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการบริโภคสุรา : การศึกษาในจังหวัดขอนแก่น  (สุชาดา ภัยหลีกลี้, 2547) พบว่า ผู้ที่ดื่มคิดเป็นเพศชาย 56.9 % สถานภาพสมรสคิดเป็น 67.1 % จำแนกตามอายุที่เริ่มดื่มพบว่า - อายุที่เริ่มดื่ม 7-61 ปี เฉลี่ย 22.16 (SD=8.4)

- เริ่มดื่มอายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ 33.7

- เริ่มดื่มอายุมากกว่า 18 ปี เพศชาย 42.4 %

- เริ่มดื่มอายุมากกว่า 40 ปี เพศหญิง 10.9 %

หมายเลขบันทึก: 337509เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท