Roles of Civil Society Organization in Health


องค์กรประชาสังคม (Roles of Civil Society Organization in Health)

องค์กรประชาสังคม (ภาคสังคม หรือ Civil Society)

การบริการและให้การช่วยเหลือประชาชนของประเทศนั้น บางครั้งบางนโยบายของรัฐบาลซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการทำหน้าที่ดูแลและบรรเทาสาธารณะภัยต่างๆนั้น ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างครอบคลุมหรือทั่วถึงความต้องการของประชาชนกับเหตุที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากขีดความสามารถในการเข้าถึงบางพื้นที่ยังมีน้อย หรือความสามารถในการเข้าหากลุ่มเป้าหมายยังไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาอยู่เอง ที่จะต้องพึ่งพาหรือขอความช่วยเหลือจากภาคประชาสังคมที่กำลังเติบโตหรือเกิดขึ้นท่ามกลางปัญหาที่ต้องการแก้ไขในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างไทยเรา

กลุ่มองค์กรประชาสังคมนั้นหมายถึง กลุ่มหน่วยงาน องค์กร ชมรม มูลนิธิ ฯลฯ หลากหลายที่ตั้งขึ้นในชุมชนหรือท้องถิ่นที่รวมตัวกันเพื่อทำงานเชิงอาสาสมัคร (จิตอาสา) ที่มุ่งหวังถึงประโยชน์ทางสังคมส่วนรวมและสาธารณะเป็นสำคัญ (NGO: Non-Government Organization ) ตัวอย่าง ได้แก่

1. มูลนิธิ Tzu-Chi (มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน) เป็นองค์กรที่ดำเนินงานเกี่ยวกับดูแลผู้ยากไร้เป็นกิจวัตรโดยได้บรรเทาอุบัติภัยปลอบประโลมถึงที่พักอาศัยบรรเทาภัยสากลและให้การช่วยเหลือสังคมอย่างหลากหลาย โดยยึดหลักการดำเนินงานที่สำคัญ คือ “การทำงานโดยเอาหัวใจแห่งการเป็นมนุษย์กลับคืนมา” ซึ่งตอนนี้มีสำนักงานอยู่ทั่วโลก โดยมีหลักของการปฏิบัติงานหลายประการ ตัวอย่าง เช่น ทุกคนจะทำงานอย่างเต็มที่ ถ้าหากไม่ทำงานตามที่กำหนดหรือตั้งเป้าไว้บุคคลากรจะไม่รับประทานอาหาร และองค์กรดังกล่าวนี้ยังช่วยเหลือสาธารประโยชน์ในอีกหลายโครงการต่างๆ อาทิ เช่น โครงการก่อตั้งโรงเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัย โครงการคัดแยกขยะเพื่อเป็นทุนสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ โครงการเล่าความดีแลกเปลี่ยนต่อกันและกัน

2. The Johns Hopkins Center ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ The global associational revolution ผลการศึกษาพบว่า - มีสินค้าและบริการที่ขาดแคลนในสังคม เช่น การรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม

- เป็นสินค้าสาธารณะ (Public-goods Production) เช่น การฉีดวัคซีน

- Governance (ระบบการดูแลจัดการ)

- รายได้ส่วนใหญ่มาจากการรับบริจาค

- Staff ส่วนใหญ่มาจากลุ่มจิตอาสา

- เป็นองค์กรไม่ต้องมีภาระเรื่องภาษี (Tax treatment)

- มีการจดทะเบียนองค์กรอย่างเป็นทางการ

ประโยชน์ของการศึกษาวิจัย

- มองเห็นภาพองค์กรอย่างชัดเจน/Legitimacy

- ช่วยให้การตัดสินใจทางนโยบายได้ดีและถูกต้องขึ้น

- เกิดความถูกต้อง โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

หมายเลขบันทึก: 337505เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท