Financial Management


การบริหารเงิน (Financial Management)

การบริหารเงิน (Financial Management)

                นักบริหารการเงินกับสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่มีทั้งปัจจัยภายในและภายนอกในการดูแลจัดการบวกกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันทำให้ การบริหารการเงินเป็นเรื่องที่ค่อนข้างกว้าง เพราะแต่ละคนและละหน่วยงานมีแนวทางการบริหารเงินของตัวเองที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่แตกต่างกันด้วย เช่น บางองค์กรมีรายได้มาก จึงสามารถบริหารการเงินได้หลายรูปแบบ แต่ในขณะที่บางองค์กรมีรายได้ค่อนข้างจำกัด จึงมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบทางการเงินในลักษณะที่แตกต่างกันไปตามที่กล่าว ซึ่งอาจทำให้มีข้อจำกัดบางประการในการบริหารการเงินของทางองค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ

ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบริหารการเงินคือ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ซึ่งมีแนวทางการจ่ายเงินของกรมบัญชีกลางประมาณ 10 ล้านคน/ปี และจะจ่ายตามปริมาณงาน (บริการ) ที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ ซึ่งมียอดค่ารักษาพยาบาลข้าราชการในแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

แผนในรับมือในอนาคต

                - จัดสรรโดยวิธีเหมาจ่ายรายหัว (Capitation) สำหรับผู้ป่วยนอก

                - จัดสรรโดยใช้ DRG (ผู้ป่วยใน) กำหนดเพดานงบประมาณ

                - ผู้ป่วยเรื้อรัง (บางโรค เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดันฯ มะเร็ง ไต) ลงทะเบียนได้มากกว่า 1 แห่ง

หมายเหตุ DRG (Diagnosis Related Groups) คือ รายการกลุ่มโรคและบริการทางการแพทย์ที่แบ่งกลุ่มตามน้ำหนักค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จัดกลุ่มโดยอาศัยข้อมูลการวินิจฉัย อายุ การรักษา หัตถการ ค่ารักษา

สำนักงานประกันสังคม (Social Security Office) กองทุนประกันสังคม

ในประเทศไทยกองทุนเงินทดแทน นับเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมไทย ที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงานทั้งนี้กองทุนเงินทดแทน เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน โดยในปีแรกของ การให้ความคุ้มครอง จะครอบคลุมเฉพาะ สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายความคุ้มครองออกไปจนครบทุกจังหวัด ทั่วประเทศใน วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 จวบจนกระทั่งได้มีการผลักดันพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 2 กันยายน 2533 เป็นต้นมา ประเทศไทยจึงมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพและตาย ทั้งนี้เนื่องและไม่เนื่องจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ

 

โครงการบัตรทอง (30 บาท) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

จากการที่รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ โดยถ้วนหน้า และได้ริเริ่มนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรคขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ตามความจำเป็น

เนื่องจากนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเรื่องที่สำคัญ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการสื่อสาร ทำความเข้าใจ ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการอย่างชัดเจน และต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทาง ในการสอบถามปัญหาข้อข้องใจและข้อร้องเรียน ซึ่งจะช่วยบรรเทาความทุกข์ร้อน วิตกกังวลของผู้รับบริการ และยังเป็นช่องทางให้ผู้ให้บริการได้รับทราบข้อบกพร่องของการให้บริการ ซึ่งจะสามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้ดีขึ้น สนองตอบความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานอีกด้วย

ส่วนแนวทางการจ่ายเงินเป็นความรับผิดชอบของ สปสช. ซึ่งครอบคลุมดูแลประชากรประมาณ 47 ล้านคน โดยมีหลักการดูแลจัดการ คือ จ่ายต่อหัวปี+ จ่ายตามปริมาณงาน (แต่มีเพดาน) + งบลงทุน ครุภัณฑ์

ทิศทางการพัฒนาในอนาคตของการดูแลการบริหารการเงินของประเทศ

                - รวมกองทุน

                - สร้างมาตรฐานสิทธิประโยชน์คุ้มครอง

                - แชร์ข้อมูล

                - พิจารณาคุณภาพและคำนึงถึงปริมาณในการรักษาพยาบาล

                - เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ

หลักการบริหารเงิน

1. รู้ทันสถานการณ์ผู้จ่ายเงิน กองทุนต่างๆ เช่น กองทุนข้าราชการ

2. รู้องค์ประกอบสำคัญ

3. ยึด วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ นโยบาย ค่านิยม

4. คิดให้รอบครอบโดยเชื่อมโยงการวางแผนในเรื่องรายได้ รายจ่าย บริการ

5. รู้วิธีวัดสถานการณ์ทางการเงิน

6. รู้วิธีบริหารความเสี่ยง

คำสำคัญ (Tags): #การบริหารเงิน
หมายเลขบันทึก: 337499เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 20:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท