การสร้างบารมี


การสร้างบารมี

บารมี

                การบริหาร  ต้องสร้างบารมี หรือใช้บารมี คำว่าบารมีทางพระพุทธศาสนา พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้เขียนไว้ในหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม ถึงทศบารมี ดังนี้
                ทศบารมี หมายถึง ปฏิปทาอันยวดยิ่ง , คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นมหาสาวก เป็นต้น ซึ่งมี ๑๐ ประการ ดังที่
                1. ทาน ได้แก่ การให้ การเสียสละ
                2.  ศีล ได้แก่ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย มีความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย
                3.  เนกขัมมะ ได้แก่ การออกบวช การปลีกตัวปลีกใจจากกาม
                4.  ปัญญา ได้แก่ ความรอบรู้ ความหยั่งรู้ เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
                5. วิริยะ ได้แก่ ความเพียร ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่
                6.  ขันติ ได้แก่ ความอดทน ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความประพฤติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ลุอำนาจกิเลส
                7.  สัจจะ ได้แก่ ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ
                8.  อธิษฐาน ได้แก่ ความตั้งใจมั่น การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่วแน่
                9.  เมตตา ได้แก่ ความรักใคร่ ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ
                10. อุเบกขา ได้แก่ ความวางใจเป็นกลาง ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้ายหรือชอบชัง
                                       สำหรับทศบารมีที่พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญในทศชาตินั้น มีดังนี้
๑. ทาน ทรงบำเพ็ญในพระชาติ พระเวสสันดร
๒. ศีล ทรงบำเพ็ญในพระชาติ พระภูริทัตต์
๓. เนกขัมมะ ทรงบำเพ็ญในพระชาติ พระเตมีย์
๔. ปัญญา ทรงบำเพ็ญในพระชาติ พระมโหสถ
๕. วิริยะ ทรงบำเพ็ญในพระชาติ พระมหาชนก
๖. ขันติ ทรงบำเพ็ญในพระชาติ พระจันทกุมาร
๗. สัจจะ ทรงบำเพ็ญในพระชาติ พระวิธูร
๘. อธิษฐาน ทรงบำเพ็ญในพระชาติ พระเนมิราช
๙. เมตตา ทรงบำเพ็ญในพระชาติ พระสุวรรณสาม
๑๐.อุเบกขา ทรงบำเพ็ญในพระชาติ พระนารท
บารมีนั้น ท่านกล่าวว่าจะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ต้องครบ ๓ ขั้น คือ
• บารมี คือบารมีระดับสามัญ เช่น ทานบารมี ได้แก่ ทรัพย์สินเงินทอง สมบัตินอกกาย
• อุปบารมี คือบารมีระดับรองหรือจวนจะสูงสุด เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การเสียสละอวัยวะเป็นทาน
• ปรมัตถบารมี คือบารมีระดับสูงสุด เช่น ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ การสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
การบำเพ็ญทั้ง ๑๐ บารมี ครบ ๓ ขั้นนี้ เรียกว่า สมตีสปารมี หรือ สมดึงสบารมี แปลว่า บารมี ๓๐ ถ้วน
จากหนังสือ ธรรมลีลา ปีที่ 6 ฉบับ 66 พฤษภาคม 2549

 

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ5
หมายเลขบันทึก: 337396เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2010 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 01:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท