ร่วมกันถอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น....เผยแพร่สู่อินเตอร์เน็ตด้วยเว็บไซต์ครูชาวบ้าน/ปราชญ์ชาวบ้าน


การจัดการความรู้ นำสิ่งที่อยู่ไกลมาไว้ใกล้ๆในอินเตอร์เน็ต

งาน ICT อีกด้านหนึ่งของครู กศน.อำเภอพระยืน ในฐานะ ผู้จัดการเรียนรู้ ก็คือ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้/ครูชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ผู้รู้/ผู้ประสบความสำเร็จ และนำนักศึกษา กศน.เข้าไปเรียนรู้ ในแหล่งเรียนรู้นั้นๆ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ประโยชน์แก่ตนเองและชุมชน บ่อยครั้งที่มีกิจกรรมศึกษาดูงานในพื้นที่ต่างอำเภอ ต่างจังหวัด ทำให้ยุ่งยากต่อการจัดการและสิ้นเปลืองงบประมาณ

ครู กศน.บุคลากร ICT จึงได้ทำการถอดองค์ความรู้ ครูชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น เหล่านั้นเผยแพร่สู่ระบบอินเตอร์เน็ต โดยการจัดทำเว็บไซต์ครูชาวบ้าน/ปราชญ์ชาวบ้าน สร้างโอกาสการเรียนรู้และการเข้าถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันจะมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

นี่กระมัง ที่เรียกว่า การจัดการความรู้ เพราะผลงานเว็บไซต์เหล่านี้ ถูกนำไปรวมรวมไว้ที่เว็บไซต์ KM-จังหวัดขอนแก่น หรือ การจัดการความรู้จังหวัดขอนแก่น ที่...

http://www.khonkaenpoc.com/kk_km/philisophy.html

จึงอยากเชิญชวน ครู กศน.ในพื้นที่ทุกท่าน  ร่วมกันสำรวจ/ถอดองค์ความรู้ แหล่งเรียนรู้ในชุมชน/ผู้รู้ผู้ประสบความสำเร็จในชุมชนท้องถิ่น และเผยแพร่ขึ้นสู่ อินเตอร์เน็ต ในรูปแบบต่างๆ เว็บไซต์บ้าง e-Book บ้าง อันจะทำให้การเรียนรู้ สังคมแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ขยายไปอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน 

หมายเลขบันทึก: 336633เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2010 08:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับ website ดีๆ ครับ

ผม copy link เอาไว้แล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท