โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ส่งรายงานผู้ตรวจ...วิเคราะห์ระบบบริการ primary care แม่สอด ตอนที่ 2


ทางที่ดีเรากำหนดตัวเองให้เดินบนหลักการ-แล้วมุ่งหน้าทำงานให้เกิดผล-ระหว่างทางโดยด่าก็จำทน-ถึงปลายทางบรรลุผลก็ชื่นใจ

จากตอนที่แล้ว ส่งรายงานผู้ตรวจ...วิเคราะห์ระบบบริการ primary care แม่สอด ตอนที่ 1 พูดถึงข้อมูลพื้นฐานของ PCU ของเราย้อนหลัง 3 ปี พบว่า ปัจจุบัน เราดูแลผู้ป่วยเรื้อรังมากขึ้น+ รพ. แม่สอดส่งผู้ป่วยกลับมารักษาใกล้บ้านมากขึ้นอย่างชัดเจน แต่ปัญหาที่เราประสบ คงไม่ต่างจากที่อื่นนัก คือ อัตรากำลังไม่สัมพันธ์กับจำนวนบุคคลากรที่มีอยู่

เราลองมาวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน ของงาน primary care แม่สอดกันครับ

จุดแข็ง

1.เรามี co-ordination care ที่ดีกับ รพ. แม่สอด โดยร่วมงานกันแบบเท่าเทียม โดยเฉพาะงาน home health care และ งาน palliative care

HA reaccreditation กับงาน palliative care KPI แม่สอด (ทีมกัลยาณมิตร)

HA reaccreditation กับงาน Home health care KPI แม่สอด ตอนที่ 1 "home health care center"

2.โรงพยาบาลแม่สอด (ในอดีตและปัจจุบัน) ให้โอกาสทีมเวชศาสตร์ครอบครัว ได้ทำงาน primary care โดยสามารถบริหารงาน และคนคือ พยาบาล PCU โดยตรง (ในหลายที่อาจต้องขึ้นกับหัวหน้าเวชกรรม หรือ ฝ่ายการพยาบาล) ทำให้การกำหนดทิศทางงานเป็นไปได้ง่ายขึ้น

3.เปิดโอกาสให้ทีมได้ทำสิ่งที่ตัวเองต้องการทำอย่างเต็มที่.....เน้นจินตนาในงานมากขึ้น..ส่วนถ้างานไม่ดี ก็คงช่วยไม่ได้ เพราะ "ระบบ abuse เราทุกทาง..งานนโยบายมาก และ KPI งานอายุสั้นมาก บางงานไม่เคยสั่งให้เก็บ แต่พอถึงเวลาก็จะเอา-บางอย่างสั่งให้เก็บ แต่กลับหายไปในกลีบเมฆเมื่อเปลี่ยนนโยบาย...แสดงให้เห็นถึงความไร้ทิศทาง-ขาดเสถียรภาพตั้งแต่ระดับบริหาร-จนทำให้ระดับปฏิบัติ งง งง"

ทางที่ดีเรากำหนดตัวเองให้เดินบนหลักการ...แล้วมุ่งหน้าทำงานให้เกิดผล-ระหว่างทางโดยด่าก็จำทน-ถึงปลายทางบรรลุผลก็ชื่นใจ

จุดอ่อน

1.ที่ชัดเจนสุดคือ เรื่องบริหารงานใน primary care ที่มี สอ.+รพ. ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง....ระบบไม่ค่อยเอื้อให้ทำงานได้สอดประสานกันนัก...หลายที่ยังแบ่งแยกว่าหน้าที่นั้นฉัน หน้าที่นี้เธอ...ทั้งที่ลืมไปว่ามี กันแค่ 4-5 คนทั้ง PCU ...อันนี้ส่วนหนึ่งคงเป็นผลจากโครงสร้างองค์กรที่คงไม่มีที่ไหนในโลก มี CEO 2 คน ในอนาคตจะมี 3 คน ข้อดีของแนวคิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมก็เป็นการดี...แต่ระดับนโยบายตีความหมายประชาชน คือ การเมือง...อันนี้ผมว่าอันตราย...เพราะเมืองไทยยังห่างไกลจากคำนั้นมากโดยเฉพาะ social responsabillity ของนักการเมืองเรา near-zero ผมเกรงว่า การเริ่มต้นที่ขาดการเตรียมความพร้อมเราจะพบหายนะเล็ก ๆ ระหว่างทาง และความฉิบหายขนาดใหญ่ในอนาคต ตราบใดที่เรายังจัดสมดุลของปฏิสัมพันธ์ในองค์กรภาคีที่เข้าร่วมในงานนี้ได้ไม่ดี

2.กำลังคนต้องพึ่ง รพ.ทั้งที่ตอนนี้ขาดมาก....ไม่มีทางเลยที่ รพ. จะยอมเพิ่มพยาบาลให้ผมอีกซักสองคนเพิ่มลดปัญหานี้

3.ขาดคนก็เลย ต้องหมุนเวียนกำลังที่มีไปปฏิบัติงานตาม PCU ในขณะ PCU ที่มี team ประจำต้องเจียดอัตรากำลังไปช่วย ทำให้ไม่สามารถประจำที่เดิมได้เต็มเวลา---นั่นหมายถึงคุณภาพงานที่ไม่เม็ดเต็มหน่วย

4.ระบบ IT ที่ล้าหลังและขาดประสิทธิ์ภาพ เพิ่มงานมากกว่าสร้างงานหรือช่วยงาน-บุคคลากรขาดทักษะ IT อันีน้ทำให้การบริหารจัดการขาดข้อมูลที่แม่นยำในการตัดสินใจ

จะเห็นเลยว่า BAD MANAGMENT สร้างปัญหาในองค์กรได้มากขนาดไหนครับ ครั้งหน้าทีมเราได้วางยุทธศาสตร์ 3 ปีไว้แก้ปัญหานี้....ติดตามต่อครับ

หมายเลขบันทึก: 336427เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2010 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรา(ทุกคนในระบบสาธารณสุข..รวมถึงนักการเมือง และในฐานะประชาชน) ได้ปล่อยให้มีการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิโดยขาดทิศทางที่ชัดเจน และการกำกับ

ผมคิดว่าบางทีอาจต้องมีโครงสร้างรองรับที่ชัดเจนทั้งระดับกระทรวงจนกระทั่งถึง โรงพยาบาล ไม่เช่นนั้น อาจต้องเสียทหารราบหน่วยหน้าที่กล้าตาย(บุคคลากรปฐมภูมิปัจจุบัน) ไปอีกหลายราย

เห็นประเด็นนี้ชัดครับ การที่เป็นแบบนี้นาน ๆ คนทำงานก็ล่า ไม่ช้าก้หมดแรง

มาทำงาน คุมโครงการเยี่ยมผู้ป่วย ในระดับจังหวัด งาน คนละแบบ

อันนี้ งานสร้างทีม และฝึกอบรม+เสริมพลัง

กับไปต่างกับ ลุยเดี่ยว เยี่ยม คนไข้ 300 คน ใน 3 เดือน

มีนาคม 53 คงได้เิปิดเฟรมครับ

เน้นโรคไตวาย + โรคหัวใจ ครับ

สวัสดีคะพี่โรจน์

มีเรื่องจะขอรบกวน พี่โรจน์ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานกับโรคเรื้อรัง

ตอนนี้แต้กำลังทำ review และข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ให้กับหน่วยงาน สธ.หนึ่ง

เรื่องความเป็นไปได้ในการนำ Chronic care model มาประยุกต์ใช้ในบริบทไทย

จึงเชิญพี่โรจนแชร์ความเห็น อันจะเป็นประโยชน์ที่นี่คะ

http://gotoknow.org/blog/thaiccm/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท