การศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่ออุปกรณ์กันกระแทกบริเวณขอบมุมเตียงเอกซเรย์ที่ใช้ในห้องเอกซเรย์เพื่อป้องกันความปลอดภัยแก่ผู้มารับบริการที่มาเอกซเรย์ในโรงพยาบาล


นวตกรรม

การศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่ออุปกรณ์กันกระแทกบริเวณขอบมุมเตียงเอกซเรย์ที่ใช้ในห้องเอกซเรย์เพื่อป้องกันความปลอดภัยแก่ผู้มารับบริการที่มาเอกซเรย์ในโรงพยาบาล

นายฤชา นิมิตรพรชัย   นักรังสีการแพทย์ชำนาญการ งานรังสีวินิจฉัย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  ศูนย์อนามัยที่ 8  นครสวรรค์
        การศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่ออุปกรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐ์อุปกรณ์ฯป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้บริเวณขอบมุมเตียงเอกซเรย์ที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาลทั่วไป โดยประชาชนที่มารับบริการเอกซเรย์สามารถเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้เช่น  เกิดการเฉี่ยวชน   ลื่นล้มทำให้เกิดการได้รับบาดเจ็บตามอวัยวะต่างของร่างกายเช่น  ศีรษะ  แขน   ขา  เป็นต้นโดยเป็นจุดที่มีความเสี่ยงที่มีอันตรายที่มองข้ามไปโดยขั้นตอนการดำเนินงานใช้หลักการพัฒนาคุณภาพงาน  PDCA (PLAN, DO, CHECK, ACT )

            

 

PLAN  
1.มีการประชุมในแผนกเพื่อดูสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น   2.บันทึกความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในแผนก
3.ทำกิจกรรมทบทวนในแผนกรังสี                          4.กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ
DO
    เป็นเบาะหนังชนิดหนาหุ้มด้วยฟองน้ำอย่างดีมีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวน  2    อันโดยวัดขนาดแต่ละอันได้ดังนี้
               กว้าง  =        8.5  ซม.
               ยาว     =       85   ซม.
                สูง      =       8.5  ซม.
และจัดทำเบาะหนังชนิดหนา หุ้มด้วยฟองน้ำอย่างดีใช้สำหรับหุ้มขาเตียงที่สามารถเป็นอันตรายได้จำนวน 3 อันโดยวัดขนาดแต่ละอันได้ดังนี้
              กว้าง   =      10.5    ซม.
               ยาว    =       27.5   ซม.
               สูง     =        6.5     ซม.
    ใช้งบประมาณ  1,300 บาท  (หนึ่งพันสามร้อยบาท )        

       

 

CHECK
     ผู้รับบริการเอ็กซเรย์ได้ทำแบบประเมินความพึงพอใจ ต่ออุปกรณ์ฯ ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.51 – 31 ก.ค.52 จำนวน 55 รายแบ่งเป็นเพศชายจำนวน  23  คนหญิงจำนวน  32  คน ดังนี้

                                                                                                                                                                      

 

หัวข้อ 

ระดับความพึงพอใจด้านต่างๆ 

มาก 

ปานกลาง 

น้อย 

ด้านความปลอดภัย 

87.3%

12.7%

รูปแบบความสวยงาม 

 

67.3%

32.7%

 

ความแข็งแรงทนทาน 

 

85.5%

14.5%

 

การทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของอุปกรณ์ฯ

อุปกรณ์ที่ใช้ทดลอง
1.แตงโม                จำนวน  1  ผล
2.เตียงเอกซเรย์ 
3.อุปกรณ์กันกระแทกฯ
วิธีการทดสอบ
1.นำผลแตงโมน้ำหนักประมาณ 3.5 กิโลกรัมจำนวน 1 ผล ปล่อยจากที่สูงประมาณ 1 เมตร  (เป็นน้ำหนักค่าเฉลี่ยศีรษะคนระหว่าง 3 - 4 กก.)
2.มีผู้สังเกตการณ์ได้แก่ แพทย์  พยาบาล และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นพยานในการทดสอบ
3.ให้แนวตกของผลแตงโมอยู่ที่ขอบเตียงเอกซเรย์โดยมีอุปกรณ์กันกระแทกฯติดตั้งไว้
4.ปล่อยแตงโมพร้อมบันทึกผลการทดลอง
5.นำแตงโมผลเดิมมาทดสอบซ้ำโดยใช้ระยะทางเท่าเดิมแต่ไม่มีอุปกรณ์กันกระแทกฯติดตั้งไว้
6.ปล่อยแตงโมพร้อมบันทึกผลการทดลอง
ACT
      สรุปผลการทดสอบได้ว่าอุปกรณ์กันกระแทกบริเวณขอบมุมเตียงเอกซเรย์สามารถป้องกันการได้รับบาดเจ็บได้ดี มีการวัดผลความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านต่างๆของอุปกรณ์ฯโดยเก็บข้อมูลจากผู้รับบริการที่ห้องเอกซเรย์จำนวน 55 คน โดยสรุปแต่ละด้านได้ดังนี้  ด้านความปลอดภัยของอุปกรณ์ได้ระดับความพึงพอใจมากร้อยละ 87.3  ระดับความพึงพอใจปานกลางร้อยละ12.7 ด้านรูปแบบความสวยงามได้ระดับความพึงพอใจมากร้อยละ  67.3 ระดับความพึงพอใจปานกลางร้อยละ 32.7 ด้านความแข็งแรงทนทานได้ระดับความพึงพอใจมากร้อยละ  85.5 ระดับความพึงพอใจปานกลางร้อยละ 14.5  ผลการวัดความพึงพอใจอุปกรณ์สามารถนำไปประยุกต์เป็นแนวทางในการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับโรงพยาบาลที่มีเตียงเอกซเรย์ และเป็นการประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยแก่ผู้รับบริการต่อไป
บทวิจารณ์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นายแพทย์ชาญชัย บรรพตปราการ และผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 8 นายแพทย์ชาญชัย พิณเมืองงามได้แสดงความคิดเห็นไว้ดังนี้
-          อุปกรณ์กันกระแทกฯน่าจะป้องกันอุบัติเหตุของผู้รับบริการได้ดี
-          อุปกรณ์กันกระแทกฯสามารถเป็นแบบอย่างใช้กับโรงพยาบาลอื่นๆได้
หมายเลขบันทึก: 335807เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2010 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท