เกาะล้าน6


เกาะล้านหาดสวยรวยวัฒธรรม

สายตาสั้นนั่งหน้าจอระวังต้อหิน

ดร. มาซากิ ตาเตมิชิ แห่งโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยโตโฮของญี่ปุ่น กล่าวว่า..
นอกจากการสูบบุหรี่ และโรคความดันโลหิตสูงแล้ว การนั่งอยู่หน้าจอ
คอมพิวเตอร์นานๆ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคสายตาสั้นได้เหมือนกัน สำหรับคนที่มีสายตาสั้นอยู่แล้ว ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด
ความผิดปกติของประสาทตาเพิ่มมากขึ้น แล้วอาจจะส่งผลให้
เป็นโรคต้อหินได้

คณะวิจัยของ ดร. มาซากิ ตาเตมิชิ ได้ทดลองทำแบบสอบถามกับพนักงาน
ที่นั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ พบผู้มีปัญหาในเรื่องสายตาอยู่ 5%
และหลังจากทำการตรวจสายตาอย่างละเอียดพบว่า มีผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นต้อหิน
อยู่ 1 ใน 3 จึงสันนิษฐานได้ว่าผู้ที่มีสายตาสั้นแล้วต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอ
คอมพิวเตอร์นานๆ เป็นเวลาติดต่อกัน อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อหินได้

ที่มา : คอลัมน์ Living Beware นิตยสารใกล้หมอ Health Well- being
ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม 2550

ป้องกันเส้นเลือดอุดตันด้วย ช็อกโกแลตดำ

นักวิจัยพบว่าช๊อกโกแลตดำเพียงวันละสองช้อนโต๊ะ หรือจะแปรรูปเป็นโกโก้ร้อน 
1 แก้ว ช่วยป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดได้พอๆ กับการกินยาแอสไพริน

โครงการศึกษาผลจากยาแอสไพรินที่มีผลต่อเกร็ดเลือด โดยศาสตราจารย์ไดแอนน์
เบกเกอร์ ผู้นำการวิจัยของมหาวิทยาลัย จอห์น ฮอปกินส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
กำหนดให้กลุ่มตัวอย่างออกกำลังกาย งดบุหรี่ และอาหารบางอย่าง เช่น ไวน์ ชา
กาแฟ และช๊อกโกแลตก่อนเข้ารับการทดลอง หลังจากนั้นนักวิจัยทำการเปรียบเทียบ ระยะเวลาที่เกล็ดเลือดจับตัวกันเป็นก้อน พบว่าเกล็ดเลือดของกลุ่มตัวอย่าง
ที่ไม่งดช๊อกโกแลต มีเกล็ดเลือดจับตัวกันช้ากว่า

กลุ่มนักวิจัยจึงศึกษาเพิ่มเติมคุณสมบัติของเมล็ดโกโก้ และพบว่าในเมล็ดโกโก้
มีสารเคมีชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญที่มีผลทางชีวเคมีที่
ออกฤทธิ์คล้ายกับยาแอสไพรินที่ช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ
ที่ทำให้เส้นเลือด และหลอดเลือดอุดตันที่อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด

ก่อนหน้านี้ก็ได้มีรายงานการวิจัยที่ออกมา
สนับสนุนประโยชน์ของช๊อกโกแลตอย่างต่อเนื่อง
อาทิ พบว่าในช๊อกโกแลตมีสารเพนเทเมอร์
ที่ช่วยยับยั้งการลุกลามของเซลล์มะเร็งได้
และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วย
ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

แม้ว่าสารเคมีที่อยู่ในเมล็ดโกโก้จะมีผลดี
ต่อการไหลเวียนของโลหิตได้ดี แต่หากว่า
ร่างกายได้รับไขมันและน้ำตาลที่มากเกินไป
ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อหัวใจของคุณได้เช่นกัน

มารู้จักกับ FBI (เอฟบีไอ)

 

 

ดูเท่ไหม?.. เวลาที่ตำรวจในหนังฮอลลีวูดพูดว่า.. "หยุดอย่าขยับนี่เจ้าหน้าที่ FBI" 
เจ้าหน้าที่ FBI ก็คือตำรวจประเภทหนึ่ง แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ ว่าเจ้าหน้าที่ FBI
คือตำรวจอะไร?

FBI นั้นย่อมาจาก Federal Bureau of In vestigation เป็นหน่วยสืบสวน
คดีอาญาของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1908 
ชื่อเดิมคือ Bureau of Investigation

ในปี ค.ศ. 1924 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานขึ้นใหม่ และได้กำหนดนโยบาย
ของหน่วยงานที่ชัดเจนขึ้น และในปี ค.ศ. 1935 เปลี่ยนชื่อเป็น Federal Bureau
of In vestigation (ซื่อเดียวกับปัจจุบัน)

ีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C.) และยังมี
สำนักงานอยู่ตามเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีก 58 แห่ง ทั่วสหรัฐอเมริกา
และเปอร์โตริโก

หน้าที่หลัก คือ สอบสวน และสืบสวนคดีของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เช่น การละเมิด
กฏหมายของรัฐบาลกลาง การก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย เป็นต้น

เอฟบีไอมีหน่วยรวบรวมรูปพรรณบุคคล (Identification Division) และได้ตั้ง
ระบบรายงานอาชญากรรม (Criminal Report System) ซึ่งเน้นการนำหลัก
วิทยาศาสตร์ มาใช้ในการสืบสวน สอบสวน และหาพยานหลักฐาน นอกจากนั้น ยังม
ีห้องปฏิบัติการทางด้านเคมีเพื่อใช้ในการพิสูจน์หลักฐานประกอบการสืบสวนอีกด้วย

ต่อมา ขอบเขตอำนาจของเอฟบีไอได้ขยายมากขึ้น
ตามความเจริญก้าวหน้าของโลกปัจจุบัน เพราะ..
เมื่อผู้ก่อการร้ายใช้วิธีใหม่ๆ ในการก่อความไม่สงบ
FBI ก็ต้องพัฒนาให้ทันเพื่อการต่อกร จึงนับว่า
เป็นองค์กรที่ต้องเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
เพื่อความสงบสุขของประชาชนสหรัฐอเมริกา

วาซาบิ (wasabi) เพื่อสุขภาพ

ถ้าบอกว่ามีสีเขียวทั้งเผ็ดและฉุนขึ้นจมูก ใช้รับประทานคู่กับปลาดิบ คุณคงต้องนึกถึงวาซาบิเป็นแน่ บางคนอาจจะร้องยี้ด้วยไม่ชอบรสชาติของมัน แต่รู้หรือไม่ว่าในความฉุนหรือเผ็ดนั้นมีคุณประโยชน์แฝงอยู่มากมาย

สารในวาซาบิที่ให้รสเผ็ดและกลิ่นฉุนนั้น มีสรรพคุณในการยับยั้งการเจริญเติบโต ของจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุ และยังพบสาร Isothiocyanate (ITCs) ซึ่งมีส่วนช่วยการยับยั้งการเจริญเติบโตของเอ็นไซม์ ที่ก่อให้เกิดหินปูนบนฟัน และยังมีฤทธิ์ต้านมะเร็งที่ปอด ลำไส้ใหญ่ ตับ หลอดอาหารและเต้านม อีกด้วย

ที่มา :
คอลัมน์ Living Beware นิตยสารใกล้หมอ Health Well- being ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม 2550
"วาซาบิ" :
http://th.wikipedia.org/wiki/วาซาบิ
"ระบบข้อมูลพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ : วาซาบิ" : http://www.agric-prod.mju.ac.th/vegetable/File_link/wasabi.pdf
"วาซาบิมีประโยชน์ต่อสุขภาพ" : http://www.thaiclinic.com/thaiclinicnews/news_wasabi.html

วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัยหรือหลักความเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร)


หลักธรรมในพระพุทธศาสนานี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ ที่อาศัยอยู่
ในเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล เนื่องจากในสมัยนั้นมีผู้อวดอ้างตนในคุณวิเศษกันมาก
เชิดชูแต่ลัทธิของตัว พูดจากระทบกระเทียบดูหมิ่นลัทธิอื่น พร้อมทั้งชักจูงมิให้เชื่อ
ลัทธิอื่น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเกสปุตตนิคมดินแดนที่เต็มไปด้วยผู้อวดอ้าง
ชาวกาลามะได้ทูลถามด้วยความสงสัยว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ?

พระพุทธองค์จึงทรงแสดงกาลามสูตร ว่าด้วย
วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย
หรือหลักความเชื่อ 10 ประการ
เป็นหลักตัดสิน คือ

1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา


เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า..ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า..ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ
เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ


ดังนั้น
พระสูตรนี้ท่านมิได้ห้ามมิให้เชื่อ แต่ให้เชื่อด้วยมีปัญญาประกอบด้วย
มิฉะนั้นความเชื่อต่างๆ จะไม่พ้น "ความงมงาย"
และไม่พึงแปลความเลยเถิดไป
ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อสิ่งเหล่านี้ และให้เชื่อสิ่งอื่นนอกจากนี้
แต่พึงเข้าใจว่า
แม้แต่สิ่งเหล่านี้ซึ่งบางอย่างก็เลือกเอามาแล้วว่า..
เป็นสิ่งที่น่าเชื่อที่สุด ท่านก็ยังเตือนไม่ให้ปลงใจเชื่อ
ไม่ให้ด่วนเชื่อ ไม่ให้ถือเป็นเครื่องตัดสินเด็ดขาด
ยังอาจผิดพลาดได้ ต้องใช้ปัญญาคิดพิจารณาให้ดีก่อน 


..
แล้วสิ่งอื่น คนอื่นเราจะต้องคิดต้องพิจารณา
ระมัดระวังให้มากสักเพียงไหน??

ที่มา: หนังสือ "
พระไตรปิฎก ฉบับดับทุกข์" จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ (หน้า 41-42), หนังสือ "พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน ย่อความจากพระไตรปิกฉบับบาลี 45 เล่ม" (หน้า 510) จัดทำโดย สุชีพ ุญญานุภาพ, หนังสือ "ธรรมาธิบาย หลักธรรมในพระไตรปิฎก" (หน้า 620 - 621) เรียบเรียงโดย อาจารย์ปัญญา ใช้บางยาง และคณะ
หมายเลขบันทึก: 335607เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท