สุขภาพกาย พลังจิตแข็งแรงด้วยโยคะ


สุขภาพกาย พลังจิตแข็งแรงด้วยโยคะ

โยคะ(YOGA)

ความหมาย

                มาจากคำว่า “ยุชิระ” หรือ “ยุช” แปลว่า เทียมแอก ผูกมัด ประกอบ

                เป็นความเพ็งเล็ง  หรือสมาธิควบคุมความแปรปรวนแห่งจิต เพื่อทำให้จิตสู่ความหลุดพ้น “ ความหลุดพ้นในขั้นสูง ด้วยองค์แปด คือ ยมะ นิยมะ อาสนะ ปราณยามะ ปรัคยาหาระ สารณะ ธยามะ และสมาธิ”

                หมายถึง วิธีพัฒนากายและจิตใจทำหน้าที่สัมพันธ์กันจนเกิดศักยภาพสูงสุด ก่อให้เกิดมีสุขภาพดีทั้ง

ร่างกายและจิตใจ

ปรัชญาโยคะ

                 หลักโยคะศาสตร์ มีความเชื่อว่า “มนุษย์จำเป็นต้องดูแลรักษาร่างกายให้ดีและฝึกร่างกายให้สมบูรณ์ถึงขนาด ร่างกายจึงจะสามารถพาจิตใจให้บรรลุถึงภูมิอันสูงสุดได้ตามปรารถนา”

ประวัติและหลักการของโยคะ

                เกิดในประเทศอินเดียเมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว ค้นพบรูปปั้นมนุษย์ในท่าโยคะหลายท่าที่หุบเขาของอินเดียชื่อ ฮาราปปา(HARAPPA) และหุบเขาโมฮันโจดาโร(MOHANJODARO) โดยพบรูปปั้นขององค์ศิวะ

และพระชายา องค์ปารวดี ในท่าโยคะหลากหลายท่า ถือได้ว่า ท่านทั้งสองเป็นสัญลักษณ์และเป็นต้นแบบ

การปฏิบัติท่าโยคะ(ORIGINATOR OF YOGA)

                ระหว่างปี พ.ศ. 2468-2469 พระยานรรัตน์ราชมานิต ขณะนั้นเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 6 ขณะนั้นพระยานรรัตน์ราชมานิตสุขภาพไม่แข็งแรง ท่านได้ฝึกโยคะจากตำราฉบับภาษาอังกฤษจนกระทั่งท่านมีสุขภาพสมบูรณ์ขึ้น ท่านจึงได้แนะนำวิชาโยคะให้กับญาติ และผู้ใกล้ชิดและแปลตำราเล่มนั้นออกมาชื่อ “วิทยาศาสตร์การหายใจ” เขียนโดย โยคีรามจักร (YOGI RAMACHARAKA)

ตำราเล่มนี้ยังมีเผยแพร่มาจนถึงปัจจุบัน

                ในสมัยอาจารย์ชด หัสบำเรอ ท่านป่วยเป็นโรคเบาหวานขั้นรุนแรง และเป็นฝีหลายหัว ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และจำเป็นต้องทำการผ่าตัด ซึ่งท่านไม่ต้องการเข้ารับการผ่าตัด จึงตัดสินใจเดินทางไปประเทศอินเดีย เมืองฤาษีเกษ และปฏิบัติวิชาโยคะกับท่านมหาฤๅษี ศิวนันษ์ ท่านได้ฝึกฝนปฏิบัติตนอย่างตั้งใจ

จนกระทั่งโรคภัยทุเลา และหายในที่สุด ท่านเดินทางมาเมืองไทยและได้เปิดสอนโยคะเมื่อ พ.ศ. 2499 ที่ซอยวัฒนโยธิน

ถนนรางน้ำ แล้วท่านได้เผยแพร่วิชาโยคะไปจนถึงวันสุดท้ายจนถึงเวลาสละร่างตามธรรมชาติ ด้วยการนอนหลับ

อย่างเป็นปกติ ค่อยๆผ่อนลมหายใจเบาลง เบาลง หมดลมหายใจในที่สุดด้วยอาการสงบและเป็นสุข

แนวปฏิบัติของโยคะ

                ให้ยึดหลักการของ “หะฐะโยคะ(HATHA YOGA)” เป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งที่สามารถทำให้ร่างกายและจิตใจของตนบรรลุถึงขั้นสมบูรณ์อย่างปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง พิจารณาได้จากฤๅษีที่ไปบำเพ็ญพรตในป่าตามลำพังนั้น ไม่มีเจ็บไข้ได้ป่วยแต่ประการใด

 

 

ประโยชน์ของโยคะ

                1. สร้างเสริมสุขภาพกาย ช่วยในการเคลื่อนไหว ก้ม เงย บิดซ้ายขวาได้ดี

                2. ปลุกศูนย์รวมระบบประสาทและพลังชีวิต (Psychic Center)

                3. ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดแข็งแรงและมีศักยภาพต่อการยืดหด ได้แก่ หัวใจ หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ

เส้นเลือดฝอย เลือด น้ำเหลืองหลอดน้ำเหลือง

                4. ทำให้ระบบหายใจและการไหลเวียนมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะรูจมูก หลอดลม หลอดเสียง สะอาด

โล่ง ไม่มีสิ่งแปลกปลอมมาอุดตัน

                5. ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี อวัยวะท่อทางเดินอาหาร ลิ้น ฟัน ต่อมน้ำลาย ตับอ่อน กระเพาะอาหาร

ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับ แข็งแรง โดยได้รับการนวดตามธรรมชาติตามจังหวะการหายใจเข้า หายใจออก เนื่องจาก

กล้ามเนื้อขยายตัว บีบตัว หดตัว

                6. ทำให้ระบบขับถ่าย ทำให้อวัยวะในระบบแข็งแรง ทำงานได้ดี และช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายจนหมดไม่ตกค้าง

                7. ทำให้ระบบต่อมไร้ท่อ โดยต่อพิทูอิตารี่ ซึ่งเป็นแม่ของต่อไร้ท่อสมบูรณ์ได้รับการควบคุมทำหน้าที่

ได้ดีเยี่ยม ช่วยการหลั่งฮอร์โมนให้สมดุล อาทิ เมื่อตับอ่อนแข็งแรงหลั่งฮอร์โมงอินซูลินสมดุลป้องกันโรคเบาหวาน

                8. ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์แข็งแรง เพศหญิงมีประจำเดือนปกติ มีสมรรถภาพทางเพศแข็งแรง และมีบุตร ธิดาได้สมบูรณ์

                9. สร้างเสริมสุขภาพจิต ทำให้จิตรับรู้โดยสัญชาตญาณ จิตสามารถวิเคราะห์ จิตนึกคิดสูงส่ง และความคิดสร้างสรรค์ เสมือนได้รับพลังธรรมชาติมาเกื้อหนุน

 

อ้างอิง

                กองการแพทย์ทางเลือก. (2547). คู่มือโยคะวัยรุ่น สำหรับฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ,

                                องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 110 หน้า

คำสำคัญ (Tags): #ยิ่งศักดิ์
หมายเลขบันทึก: 335186เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2010 01:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านแล้วเข้าใจ

หากจะติดต่อ ติดต่ออย่างไร

สามารถปฏิบัติอย่างไร

อยากลองปฏิบัติจังเลย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท