Community Praticipation


Community Praticipation

Community Participation

การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ

การมีส่วนร่วมของชุมชนในงานด้านสาธารณสุขมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขปรับแนวคิดในการทำงานใหม่ “การแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยการมีการส่วนร่วมของชุมชน” เจ้าหน้าที่มีบทบาทเป็นเพียงผู้เอื้อประสาน  หนุนช่วย เอื้ออำนวย ติดตามและให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง

ตัวอย่าง นวัตกรรมการดำเนินงานให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบสุขภาพ

1)  การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชนงิ้วราย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยเจ้าหน้าที่ได้ปรับวิธีการคิด การวางแผนและการทำงานใหม่(เชิงรุก) โดยเจ้าหน้าที่เข้าไปพูดคุยกับชุมชนถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อให้เกิดความตระหนักในปัญหา และแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยการมอบหมายบทบาทหน้าที่ตามศักยภาพ ทั้งกลุ่มเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ อสม. ผู้นำ/แกนนำชุมชน และ อบต. เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง จนสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันได้ โดยเจ้าหน้าที่เป็นผู้ประสาน ติดตาม และให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง

2) การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด ได้จัดรายการวิทยุชุมชน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพให้กับชาวบ้าน ซึ่งเป็นการสื่อสารสองทาง ทำให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้าน รวมทั้งต่อยอดความคิดให้ชาวบ้านเป็นผู้สื่อข่าวในชุมชน โดยให้กำหนดประเด็นและจัดรายการในด้านสุขภาพกันเอง จนทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแก้ไขปัญหาร่วมกันภายในชุมชน

3) การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาผู้พิการในชุมชน โดยการถึงศักยภาพของชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งได้จัดตั้งเป็นชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการ สร้างโอกาสให้ช่วยเหลือกันเอง(ทวีพลัง) เพื่อให้คนพิการสำรวจปัญหาและจัดลำดับความสำคัญในช่วยเหลือผู้พิการร่วมกันในชุมชน จนสามารถประสบผลสำเร็จและสามารถขยายผลการดำเนินงานจากระดับชุมชนเป็นระดับอำเภอ

สรุปแนวทางการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

1) เจ้าหน้าที่ต้องปรับแนวคิดใหม่ “ปัญหาเกิดขึ้นที่ในชุมชน ต้องให้ชุมชนร่วมกันแก้ไขปัญหาภายในชุมชนร่วมกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืน”

2) การเริ่มต้น โดยเจ้าหน้าที่เข้าไปพูดคุยในชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ (ซึ่งจะทำให้ทราบปัญหาที่แท้จริงและมีพลังมากกว่าการประชุมอย่างเป็นทางการ)  เกี่ยวกับปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งจะทำให้ชุมชนเกิดความตระหนัก รู้สึกว่าเป็นเจ้าของปัญหา และจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

********************

คำสำคัญ (Tags): #community praticipation
หมายเลขบันทึก: 334428เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2010 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท