พบพระเมืองใหม่ กลิ่นไอม่านหมอก


เมืองสนสองใบ ศิวิไลซ์นำตก พืชผลดกการเกษตร งามเนตรบ่อน้ำร้อน น่าพักผ่อนอากาศดี มากมีชาวเขา
อำเภอพบพระ
 ประวัติความเป็นมา

 

พบพระ  เดิมชื่อ เพอะพะ  เป็นหมู่บ้านชาวปะกากะญอ และชาวพม่าและ มอญ ตามประวัติศาสตร์  เนื่องจากสมัยก่อนเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยป่าเขา ไม่ค่อยมีผู้คน ชาวปะกากะญอ รวมกันตั้งเป็นหมู่บ้าน ไม่กี่หลังคาเรือน ดังนั้นดินแดนแถบนี้จึงเต็มไปด้วย ป่า สัตว์ป่ามากมาย มีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน กับฤดูหนาว ฤดูฝนจะมี 8 เดือน ด้วยสภาพที่ฝนตกเฉอะแฉะและมีน้ำขังอยู่ทั่วไป ดังนั้น ชาวปะกากะญอ จึงเรียกดินแดนนี้ ว่า เพอะพะ หมายถึงพื้นดินที่เฉอะแฉะ เลอะเทอะ สกปรก 

หลังจากนั้นไม่นาน ต่อมา ก็มีชาวไทยเหนือจากจังหวัดลำปาง ลำพูน อพยพ มาอยู่ในหมู่บ้านแม่โกนเกนในปัจจุบัน  ได้เข้ามาจับจองพื้นที่ทำมาหากิน เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ จากครอบครัว ขยายเป็น หลายครอบครัว จนเป็นชุมชนและเป็นหมู่บ้านตามลำดับ คนปะกากะญอ ก็ถอยร่นเข้าป่าไปเรื่อยๆ เพอะพะ ตอนหลังจึงเพี้ยนเป็นพบพระ ในปัจจุบัน  

 

                                                                                                                                                           1

 

สภาพทั่วไป

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

บ้านพบพระเหนือ  หมู่ที่  1  เขตพื้นที่บ้านใหม่สายรุ้ง  เดิมอยู่ในเขตสุขาภิบาลพบพระ  บ้านพบพระเหนือหมู่ที่  1  ตำบลพบพระ  มีชื่อว่า  “บ้านแพะ”  บุคคลที่เข้ามาอยู่เป็นคนแรก  ในปี  พ.ศ.2524  คือ  นายปั๋น  เป็กคำปา  หลังจากนั้น  นายปั๋น  ได้ชักชวนให้นายจันทร์  คำปวนโห้ง มาปลูกบ้านอยู่เป็นคนที่  2  จากนั้นทั้งสองท่านได้ชักชวนให้ราษฎร์เข้ามาพักอาศัย  จนกระทั่งในปี  พ.ศ.2526  ได้มีราษฎรได้เข้ามาปลูกบ้านอยู่เป็นจำนวนมาก  จึงได้รวมตัวกันขอให้ทางไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  ติดตั้งไฟฟ้าให้  เมื่อตั้งบ้านเรือนได้สักระยะหนึ่ง  ราษฎรก็ได้ปรึกษากันว่าจะตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่  เพื่อเป็นศิริมงคล  โดยได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น  “บ้านใหม่สายรุ้ง” คำว่าสายรุ้งมาจากน้ำตกสายรุ้งที่อยู่ในเขตหมู่บ้าน ซึ่งน้ำตกดังกล่าวมีความสูงมาก เวลาที่น้ำตกตกลงมาจะมีสายรุ้งปรากฏขึ้น  ส่วนชื่อที่เป็นทางการคือ “พบพระเหนือ” หมู่ที่ 1 ตำบลพบพระ

                ปี  พ.ศ.2530 ราษฎรได้ช่วยกันคิดจัดตั้งสำนักสงฆ์ มีชื่อว่า สำนักสงฆ์บ้านใหม่สายรุ้ง ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างาลาการเปรียญ เพื่อเป็นสถานที่สำหรับอ่านหนังสือและใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจทางศาสนา ซึ่งพื้นที่ที่ทำการก่อสร้างสำนักสงฆ์นั้น เป็นที่ดินที่ได้รับบริจาคจาก นายผัด คำปวนโห้ง

                ปี  พ.ศ.2545 ได้มีการแบ่งเขตพื้นที่ระหว่างเทศบาลตำบลพบพระกับองค์การบริหารส่วนตำบลพบพระ ปรากฏว่า บ้านใหม่สายรุ้ง อยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลพบพระ ดังนั้นจึงได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้น ซึ่งผู้ใหญ่คนแรกของ คือ นายจันทร์ คำปวนโห้ง 

ที่ตั้ง 

ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ของที่ว่าการอำเภอพบพระ 

ระยะทาง  2  กม.  ห่างศาลากลางจังหวัดตาก

เป็นระยะทาง  48  กม.

อาณาเขต    

ทิศเหนือ  จด บ้านเกษตรพัฒนา หมู่ที่ 8 ตำบลพบพระ 

ทิศใต้ จด บ้านมอเกอร์ไทยหมู่ที่ 1 ตำบลวาเล่ย์            

ทิศตะวันออก จด           ตำบลรวมไทยพัฒนา 

ทิศตะวันตก          จด           บ้านห้วยน้ำนัก    หมู่ที่ 4 ตำบลพบพระ 

การคมนาคม/ขนาดพื้นที่

ถนนลาดยาง  1 เส้น     ระยะทาง 5 กิโลเมตร

พื้นที่หมู่บ้านรวม  2,000  ไร่  แยกเป็น  พื้นที่ที่อยู่อาศัย  500 ไร่ พื้นที่การเกษตร 1,600 ไร่

พื้นที่ป่าชุมชน  500 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ

 เป็นพื้นที่ราบต่ำเหมาะแก่การทำการเกษตร  สภาพภูมิอากาศ  โดยทั่วไปเป็นแบบร้อนชื้น 

ลักษณะภูมิอากาศ  ฤดูร้อน  ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายนฤดูฝน  ระหว่างเดือนพฤษภาคม -  กันยายน  ฤดูหนาว  ระหว่างเดือนตุลาคม – มกราคม

คำสำคัญ (Tags): #ประวัติพบพระ
หมายเลขบันทึก: 333876เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2010 17:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท