Update การแสดงในงานเทศกาลละครนานาชาติ ปทุมธานี ที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร


เทศกาลละครนานาชาติ ปทุมธานี

ก่อนอื่นขอแจ้งถึงกำหนดการที่มีการเปลี่ยนแปลงล่าสุดก่อนนะครับ

ตารางข้างล่างนี้ จัดการแสดงที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ทั้งหมดนะครับ

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553

10:00 – 12:00 น การแสดง (Dance) จาก Netherland ห้อง Lecture 2
12:00 – 13:00 น การแสดง (Dance) จาก Germany สนามกีฬา ชั้น 3
13:00 – 14:00 น. ละครจาก Slovenia Auditorium บ้านวิทย์
15:00 – 16:00 น. ละครจาก Slovenia Auditorium บ้านวิทย์
19:00 – 20:00 น ละครจาก Slovenia Auditorium บ้านวิทย์
21:00 – 22:00 น. ละครจาก Slovenia Auditorium บ้านวิทย์

 

 

 

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553
9:00 – 12:00 น.                 ละครเยาวชน จาก สุราษฎร์, น่าน, อุทัยธานี และ เลย

 

ส่วนกิจกรรมที่ผ่านมาเมื่อคืนและเมื่อเช้านี้ ก็ขอนำเรื่องราวมาให้ชม ณ ที่นี้นะครับ

เมื่อได้เวลายามแดดร่มลมตก บ้านวิทย์ก็กลับมาคึกคักอีกครั้ง มีผู้ชมเข้ามารอชมการแสดง อย่างมากหน้าหลายตา

มีการจัดการแสดงเรียกน้ำย่อยที่เรียกว่า เซิ้งกระโป๋ มาให้ชมก่อนละครต่างประเทศจะเริ่ม
พอดีอาศัยอยู่ใกล้พื้นที่แต่งตัว ก็เลยยังถ่ายไม่ทันเห็นกระโป๋ครับ เห็นแต่หลังขาวๆของน้องๆนักแสดง...

มาดูกระโป๋กันบ้าง ... กระโป๋ก็คือกะลามะพร้าวครับ น้องๆนำมาแสดงมีเอากะลามาสัมผัสกันด้วยท่าทางและลีลาที่น่าสนใจครับ

มีผู้ชมเข้ามาดูและให้ความสนใจกันเยอะทีเดียวครับ น้องๆแสดงได้อย่างสนุกสนานมาก

ห้องประชุมที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นโรงละครได้อย่างน่าสนใจ

  

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมรู้สึกสนใจเป็นพิเศษ ก็คืออุปกรณ์ที่ใช้ยกพื้นคนดูขึ้นเป็นชั้นๆครับ

ในเวลาที่ไม่ได้ถูกใช้งาน เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้จะถูกพับเป็นรูปเหมือนบันได

 

แต่พอกางออกมา ก็จะกลายเป็นกรอบสี่เหลี่ยม แล้วปูไม้ลงไป ก็จะได้พื้นที่ประหนึ่งอัฒจันทร์ที่แข็งแรง

 

มีผู้สนใจเข้ามาชมการแสดงในค่ำคืนนั้นเยอะทีเดียว

 

แล้วการแสดงก็เริ่มต้นขึ้น สำหรับคืนนี้อาจจะดูยากหน่อย เพราะเป็นเรื่องราวภาษารัสเซีย

แต่เป็นการแสดงที่นักแสดงได้แสดงความสามารถในการสื่อถึงอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยมครับ

 

ในเช้าวันต่อมา ก็มีการแสดงน่ารักๆจากน้องๆเยาวชนไทย มาให้ชมกันถึง 4 เรื่อง

 

มีผู้ชมให้ความสนใจกันมากมาย บางคนก็มากันเป็นคู่ๆ

 

สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ก็คือการให้ comment จากนักการละครจากนานาชาติ

 

 

ในเช้าวันนี้ผมก็ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ดีอยู่หลายอย่าง โดยเฉพาะจาก comments เหล่านั้น

ผมจำได้อย่างหนึ่งว่า ถึงแม้ commentators เหล่านี้ จะมีข้อจำกัดทางด้านภาษา ที่ทำให้เค้าไม่เข้าใจเรื่องราวทั้งหมด แต่สิ่งที่สำคัญที่เค้าเฝ้าจับตาดู ก็คือ Visual Cue ต่างๆ ภาพที่เค้าเห็น เป็นสิ่งที่สื่อให้เค้าได้ติดตามเรื่องราวต่างๆได้ โดยไม่ต้องเข้าใจในคำพูด

ความชัดเจนของ Visual Cue เหล่านี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้ผู้ชม สามารถปะติดปะต่อเรื่องราวต่างๆ ให้เชื่อมโยงเข้าหากันได้ หาก Visual Cue เหล่านี้ถูกละเลยไป ความสมบูรณ์ของการสื่อสารก็จะขาดหายไป

แล้วก็ทำให้ผมกลับมานึกถึงละครจาก Russia ในค่ำคืนนั้น ที่ผมก็รู้สึกสนุกไปได้ ด้วยการดูภาพที่เค้าสื่อออกมา โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจในสิ่งที่เค้าพูดออกไป

เรื่องนี้ก็ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า...ผมเองเวลาจะสื่อสารอะไรออกไป ก็ไม่ควรจะละเลยเจ้า Visual Cue เหล่านี้นะครับ ต้องลองทดสอบดูว่า เวลาที่ไม่มีเสียงไม่มีคำพูด สื่อของผมสื่ออะไรให้กับคนรับชมได้บ้าง

 

สิ่งใหม่ๆ ยังคงมีให้ผมได้เรียนรู้อยู่ทุกวัน... ละครครั้งนี้ สอนให้ผมได้รู้จักโลกในอีกมุมหนึ่งที่ผมไม่เคยสัมผัสได้มากขึ้น

แล้ววันนี้... คุณพร้อมที่จะเปิดใจที่จะได้เรียนรู้โลกใหม่ๆ ที่แตกต่างออกไปหรือยังครับ

โอกาสมีมาให้แล้ว... ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะไขว่คว้ามันไว้หรือไม่....

 เทศกาลละครยังไม่จบนะครับ ยังมีโอกาสให้มาเรียนรู้ร่วมกันนะครับ....

http://www.patumthani-itf.org

คำสำคัญ (Tags): #สวทช.
หมายเลขบันทึก: 333845เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2010 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท