Be green
กลุ่มงานส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14

โครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายเฝ้าระวังและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำตาปี


กลุ่มงาน ส่ส. ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นและหาแนวทางการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายเฝ้าระวังและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำตาปี   ทำไม  ต้องมีการพูดคุย ก็เพราะว่า เกิดปัญหาคะ ปัญหาอะไร  เรื่องมีอยู่ว่า   เดิม แนวคิดการทำงานของโครงการเสริมสร้างฯ คือ การทำงานต่อยอดโดยการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่อาสาสมัครในพื้นที่เครือข่ายเดิมที่ สสภ.14 ได้เคยลงไปทำงานสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ เมื่อปี 2552  เพื่อสอดรับกับข้อเสนอของอาสาสมัคร ที่ให้ความเห็นว่า  ขอให้มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง    ควรมีการให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำเสีย และ ควรมีการสนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่   สิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้เกิดการแก้ปัญหาหรือการเฝ้าระวัง อย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรมมากขึ้น 

แต่มีเหตุให้ต้องให้ดำเนินการในพื้นที่ใหม่ ทางกลุ่ม สส. จึงได้หารือกันว่า จะทำอย่างไร เพราะองค์ประกอบเปลี่ยน  ต้นทุนเดิมไม่มี  

จึงได้เริ่มต้นจากการทบทวนโครงการและกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการ ว่ามีอะไรบ้าง พบว่า เรามีกิจกรรมหลักๆ ดังนี้

1. กิจกรรมการอบรมให้ความรู้  ด้านน้ำเสียและขยะมูลฝอย

2. กิจกรรมให้ชุมชนและโรงเรียนเขียนและทำโครงการ เพื่อแก้ปัญหา หรือเฝ้าระวัง สิ่งแวดล้อมในพื้นที่

3. กิจกรรมการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ในวันสำคัญสิ่งแวดล้อม

4. กิจกรรมการจัดทำสื่อนิทรรศการชุดความรู้ด้านการจัดการขยะมูลฝอยและน้ำเสีย

 

ประสานงานกับพื้นที่

เมื่อดูรายละเอียดกิจกรรมแล้ว  จึงได้มีแนวคิดว่า อันดับแรกเราควรจะได้รับทราบข้อมูลความต้องการของคนในพื้นที่ว่าจะการทำโครงการเพื่อที่จะจัดการสิ่งแวดล้อมได้ตรงกับปัญหาในพื้นที่ นั้น    จะทำด้านไหน น้ำเสีย หรือ ขยะ หรือต้องการทำทั้งสองด้าน

 

คิดกันต่อ จากข้อมูลโครงการจากพื้นที่ น่าจะทำให้เห็นว่าเราควรจะวางกิจกรรมอย่างไรต่อ  โดยตั้งวัตถุประสงค์ว่า ต้องไม่ซ้ำซ้อน  ตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่ และการบูรณาการร่วมกับโครงการด้านสิ่งแวดล้อมของ อบต.  หรือหน่วยงานอื่นๆที่มีกิจกรรมในพื้นที่เดียวกัน  (ถ้ามี)

ดังนั้น จึงมีข้อสรุปว่า จะดำเนินการด้วยโครงการเป็นตัวตั้ง  และมี ข้อมูลโครงการที่พื้นที่ (ชุมชนและโรงเรียน)ต้องการทำ

ดังนั้น  ในกลุ่มฯจึงคิดว่า กิจกรรมการชี้แจงโครงการ เพื่อรับฟังความคิดเห็น จากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน   อปท.  แกนนำชุมชน  และโรงเรียน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง    ทำให้มีเวลาช่วงครึ่งวันบ่าย ซึ่งมีเวลาที่จะให้แต่ละพื้นที่แบ่งเป็นพื้นที่  ได้พูดคุยปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ และช่วยกันคิดโครงการที่จะทำ ทำให้เราได้ข้อมูลโครงการ  ว่าเป็นด้านไหน และทำกิจกรรมอะไร   จากสิ่งที่คิดนำไปสู่การวางกำหนดการประชุมเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553

ผลการประชุมเป็นอย่างไร จะมาเล่าให้ฟังต่อคะ

หมายเลขบันทึก: 333804เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2010 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แต่มีเหตุให้ต้องให้ดำเนินการในพื้นที่ใหม่ ทางกลุ่ม สส. จึงได้หารือกันว่า จะทำอย่างไร เพราะองค์ประกอบเปลี่ยน  ต้นทุนเดิมไม่มี  จึงได้เริ่มต้นจากการทบทวนโครงการและกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการ ว่ามีอะไรบ้าง

  • หากมองในแง่ดี ก็ทำให้มีการขยายพื้นที่ไปอย่างมากจากเดิม ทำให้ชุมชนใหม่ๆได้รับประโยชน์จากโครงการมากขึ้น
  • ส่วนชุมชนเดิมที่เคยเป็นเครือข่ายอยู่ แม้จะไม่ได้รับโอกาสจากโครงการนี้เป็นการต่อยอด ก็อาจพิจารณาในปีต่อไป

 

หากสส. ลงสำรวจเครือข่ายเมื่อไหร่อย่าลืมพากลุ่มงานสารสนเทศไปด้วยนะค่ะ ทีมสารสนเทศยินดีบูรณาการร่วมเพื่อเก็บข้อมูลเครือข่ายนำมาจัดทำเป็นฐานขอมูลเครือข่ายต่อไปค่ะ

ปล.ฝากเนื้อฝากตัวด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท