kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การอบรมการจัดการความรู้ ศูนย์อนามัยที่ 8 ปี 2553 เรื่อง KM อย่างไร อย่างไร KM : การฝึกกิจกรรมการเล่าเรื่อง และการบันทึก


หลังจากการสรุปการถอดบทเรียนจากกิจกรรมการเข้าฐาน http://gotoknow.org/blog/kongkiet/333776 ในวันต่อมาได้มีการบรรยายเพิ่มเติมในเรื่องเทคนิคการเล่าเรื่องโดยอาจารย์มณฑาวรรณ (นก) และเทคนิคการเป็น Note taker โดยอาจารย์ศศิชล (กบ) ซึ่งเมื่อครบกระบวนการให้ความรู้ทั้งหมดแล้วก็จะจัดทำกิจกรรมที่เรียกว่าสุนทรียปรัศนี ซึ่งดัดแปลงเพื่อให้ใช้เวลาน้อยลงจากกิจกรรมที่ได้ไปเรียนรู้จากอาจารย์อุทัยวรรณ ที่ทำในกลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง จากบันทึก http://gotoknow.org/blog/kongkiet/325351  ครับ

เริ่มจากการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม โดยประธานมีหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ให้โจทย์ เลขาทำหน้าที่บันทึกกิจกรรม และโฆษกทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมในกลุ่ม และเมื่อทุกกลุ่มเสร็จกิจกรรมแล้วจะให้ส่งสัญญาณโดยเรียกชื่อกลุ่ม และตามด้วยคำว่า เฮ เฮ

โจทย์แรกคือให้กลุ่มเขียนชื่อกลุ่ม และรายชื่อสมาชิกในกลุ่มลงในแผ่นกระดาษ เพื่อเป็นแสดงว่าได้มีกลุ่มเกิดขึ้นแล้ว

โจทย์ที่ 2 ให้กลุ่มคิดรูปสัญลักษณ์อะไรก็ได้  แล้ววาดลงให้แผ่นกระดาษให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่ทำได้

  ให้เลขาแจกกระดาษซึ่งมี 4 สีโจทย์ที่ 3คือชมพู ฟ้า เขียว และเหลือง  แล้วให้สมาชิกในกลุ่มจับคู่กันแล้วเล่าเรื่องของตนเองโดยผ่านข้อคำถาม 4 ข้อดังนี้คือ

  • ในการทำงานท่านมีความสำเร็จอะไรบ้างที่มีความภาคภูมิใจที่สุด
  • อะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสำเร็จนั้น ๆ
  • ท่านมีอะไรที่เป็นความสามารถที่เป็นที่ประจักษ์
  • จุดมุ่งหมายสูงสุดในการทำงานของท่านคืออะไร (ไม่นับเรื่องเงิน)

ในระหว่างเล่าเรื่องผู้ถามจะเป็นผู้บันทึกจากเรื่องเล่าและถอดบทเรียนเป็นคำสั้น ๆ เขียนลงบนกระดาษสีโดย

  • ในการทำงานท่านมีความสำเร็จอะไรบ้างที่มีความภาคภูมิใจที่สุด  เขียนบนสีเหลือง
  • อะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสำเร็จนั้น ๆ  เขียนบนสีฟ้า
  • ท่านมีอะไรที่เป็นความสามารถที่เป็นที่ประจักษ์  เขียนบนสีเขียว
  • จุดมุ่งหมายสูงสุดในการทำงานของท่านคืออะไร (ไม่นับเรื่องเงิน) เขียนบนสีชมพู

 หลังจากนั้นจะผลัดกันเล่าเรื่องและบันทึกลงบนกระดาษทั้ง 4 สี  (ในกิจกรรมนี้มีเวลาเล่าคนละรอบเท่านั้น)

สำหรับกิจกรรมนี้เป็นการฝึกการเล่าเรื่องโดยผ่านการถามจากผู้บันทึกด้วยคำถาม 4 คำถาม ซึ่งจะเป็นการสื่อให้เห็นว่าการเล่าเรื่องนอกจากเล่าเป็นกลุ่มแล้ว ยังสามารถเล่าโดยจับเป็นคู่ ๆ ได้ด้วย ผู้ฟังต้องฟังอย่างตั้งใจ พยายามสกัดออกมาให้ได้ถึงความรู้ที่แท้จริงในลักษณะ root cause และผู้เล่าก็ต้องเต็มใจเล่า ไม่สรุปเอง และผู้เล่าก็ต้องไม่สรุปเอง ให้เล่าตามที่ทำโดยผู้บันทึกเป็นผู้สรุปเรื่องเล่าและให้ผู้เล่าเห็นด้วยกับการบันทึก

หมายเลขบันทึก: 333779เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2010 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยินดีครับ....................

โค้งคำนับนั่งอ่านช่วยสานฝัน

สาระดีมีจุดเด่นเป็นสำคัญ

ชอบสร้างสรรค์เสพหาวิชาการ

ขยันเขียนเวียนหามาไม่ถ้วน

ไว้ประมวลขัดเกลาเหลาแก่นสาร

เกิดความคิดติดปัญญาพาเชี่ยวชาญ

ประสบการณ์พบเห็นเป็นบทเรียน

ธนา นนทพุทธ

จักสานอักษร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท