ผศ.ดร.วศิน เหลี่ยมปรีชา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วศิน เหลี่ยมปรีชา

อาจารย์ที่ปรึกษา : วิเคราะห์


อาจารย์ที่ปรึกษา หยิน-หยาง

บันทึกนี้ต่อจากบันทึกที่แล้ว

เป็นเรื่องของ อาจารย์ที่ปรึกษา (supervisor or advisor)

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มีอาจารย์ที่ปรึกษามาแล้ว 6 คนทั้งที่เป็นผู้หญิงและผู้ชาย แต่ละคน ก็แต่ละสไตล์ คละเคล้ากันไป

ทำไมเยอะจัง ส่วนใหญ่ลาออกไปหาประสบการณ์ที่อื่น ไม่ใช่เพราะทนเราไม่ได้นะครับ :) ที่นี่ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ต้องทำใจ

ลองวิเคราะห์เท่าที่เห็น...

  • ผู้ชายจะมองภาพรวมเป็นหลัก ส่วนผู้หญิงดูที่รายละเอียด
  • ผู้ชายให้มองภาพวิทยานิพนธ์ที่สำเร็จแล้วว่าหน้าตาเป็นอย่างไร แล้วค่อยๆเขียนย้อนกลับไป  ส่วนผู้หญิงให้เขียนเริ่มจากบันไดขั้นแรกและค่อยๆเดินขึ้นไปทีละขั้น ห้ามกระโดดข้ามขั้นเด็ดขาด
  • ผู้ชายจะมองเรื่องคุณภาพเป็นเรื่องรอง  ผู้หญิงมองเรื่องคุณภาพเป็นเรื่องหลัก
  • ผู้ชายให้ไปอ่านมาก่อนแล้วมาคุยกัน  ส่วนผู้หญิงให้ไปเขียนมาแล้วค่อยมาคุยกัน
  • ผู้ชายมองอะไรจะง่ายๆไปหมด ส่วนผู้หญิงเหมือนอะไรจะยากไปหมด (ตรงนี้อาจต่างบ้าง)
  • ผู้ชายจะให้มองหางานวิจัยใหม่ๆ ส่วนผู้หญิงให้มองงานที่มีอยู่แต่จะประยุกต์ใช้หรือเพิ่มเติมอย่างไร

เจออย่างนี้แล้ว...จะทำอย่างไร...บางทีอาจจะเลือกไม่ได้ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย

ถ้าคิดกันง่ายๆ...ผู้หญิงก็ได้ ผู้ชายก็ดี ไม่เห็นจำเป็น...ไม่ใช่...ต้องเลือกให้ได้

ที่ไม่เห็นด้วยเพราะมีส่วนสำคัญสำหรับผู้เรียนเป็นอย่างมาก

ที่ออสเตรเลียจะแตกต่างจากที่อื่นหรือเปล่าไม่ทราบ ว่าต้องมีอาจารยที่ปรึกษาอย่างน้อยสองคน ผู้เรียนต้องหา อ.ที่ปรึกษาหลักหนึ่งคน แล้วอ.ที่ปรึกษาหลักจะให้คนเรียนเลือกว่าจะให้ใครมาเป็น อ.ที่ปรึกษารอง

จากประสบการณ์เป็นอย่างนี้ครับ...ถ้าเลือกได้เลือกผู้ชายเป็นที่ปรึกษาหลัก และผู้หญิงเป็นที่ปรึกษารอง (อย่าไปมองความไม่เท่าเทียมกันนะครับ)

สิ่งที่สำคัญต่อมา...ผู้เรียนต้องบริหารเวลาเอง ทำงานแบบ active ไม่ใช่ passive ให้ อ.ที่ปรึกษาทุบเอา

ต่อมาทำอย่างไรให้ทั้งสองคนนี้มาพบกัน (บ้าง) แต่อย่าบ่อยนัก ส่วนตัวใช้ทฤษฎี 20/80 เพราะ...ไม่อย่างนั้นจะตีกันตาย แต่ที่ตีกัน ก็เพราะอยากให้ผู้เรียนได้ดีครับ แต่คนเรียนจะตายเอา (งานหนักอยู่แล้ว...แต่จะหนักขึ้นไปอีก) เพราะเอาใจไม่ถูก (แนะว่า ให้ตามใจ อ.ที่ปรึกษาหลักครับ) แต่ต้องโน้มน้าวให้ อ.ที่ปรึกษารองรับลูกด้วย ไม่ใช่ง่าย แต่ก็ไม่ยาก จิตวิทยาจำเป็นอีกแล้ว

เปรียบเทียบแล้วเหมือน....หยินกับหยาง...ดีกันคนละแบบ มีเชิงรุก มีเชิงรับ สลับกันไป

ก็ขึ้นอยู่กับผู้เรียนแล้วล่ะว่าจะรับมืออย่างไร จะใช้กระบวนท่าไหน ตรงนี้ต้องอาศัยการสังเกตและประสบการณ์เป็นสำคัญ

ส่วนตัวแล้ว ชอบใช้หลักการ "ครูพัก ลักจำ" ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 333742เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2010 08:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

+ สวัสดีค่ะ...อ.วศิน

+ อ.สบายดีไหมค่ะ...ที่ออสเตรเลียเป็นอย่างไรบ้างค่ะ...

+ พวกเรา "แอมแปร์แอนด์เดอะแก็งค์"มาส่งกำลังใจค่ะ...สู้ สู้  ค่ะอาจารย์...ไม่มีอะไรยากเกินใจศรัทธาค่ะ...

+ แอมแปร์ฝากความคิดถึงคุณลุงวศินไว้ที่นี่ค่ะ..

+ ด้วยความคิดถึงค่ะ

    

สวัสดีครับ

ขอบพระคุณครับสำหรับกำลังใจ

ที่นี่เข้าหน้าร้อน อากาศร้อนครับ

"ไม่มีอะไรยากเกินใจศรัทธา"

ชอบคำที่ให้กำลังใจนี้มากๆครับ :)

ฝากหอมแก้มป่องๆของน้องแอมแปร์ด้วยครับ

อวยพรวันตรุษจีนก่อนคนอื่นครับ

ขอให้ "แอมแปร์แอนด์เดอะแก็งค์" สุขภาพแข็งแรง จิตใจเบิกบานกันทั่วหน้าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท