สิทธิบัตร เซลล์ iPS กับนักวิจัยเวคเตอร์ไวรัส


เรื่องนี้เข้ากลุ่มไหนดี พื้นฐานคือสเต็มเซลล์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี แต่เนื้อหาเป็นเรื่องเกร็ดข่าวจากสิทธิและการจดสิทธิบัตร

ดังนั้น กฏหมายแล้วกัน

บริษัท iPierian เป็นบริษัทด้านชีวเวชศาสตร์ (Biomedical) ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้รับสิทธิบัตรที่ออกให้นอกประเทศญี่ปุ่นสำหรับเทคโนโลยีในการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมพันธุกรรม (genetic reprogramming technology) ที่ใช้ในการผลิตสเต็มเซลล์ที่เรียกว่า iPS cells (induced pluripotent stem cells) เซลล์ชนิดนี้สามารถนำไปใช้เปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ชนิดต่างๆของร่างกาย และทำให้ไม่ติดปัญหาเรื่องจริยธรรมในการใช้ตัวอ่อนมนุษย์ แม้ว่ากลุ่มวิจัยจากหลายชาติจะยื่นขอสิทธิบัตรมากกว่า 75 ฉบับที่เกี่ยวกับเซลล์ iPS แต่จนถึงปัจจุบันนี้มีงานของนายยามานากะเท่านั้นที่ได้รับสิทธิบัตรที่ออกโดยญี่ปุ่น

เทคโนโลยีของการผลิตเซลล์ iPS

  1. เอาเซลล์ชนิดไฟโบรบลาสที่แยกจากผิวหนังของคน (ผู้ใหญ่)หรือจากตัวอ่อนของหนูเม้าส์
  2. ใช้เวคเตอร์เรโทรไวรัสในการใส่ยีนที่จำเพาะของ ES เรียกว่าเป็น iPS factor (สีแดงแสดงว่าเซลล์เริ่มสร้างแฟคเตอร์แล้ว) 
  3. เก็บและเพาะเซลล์ตามวิธีที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง embryonic stem cell (ES)
  4. แสดง iPS cells ที่แสดงคุณสมบัติคล้ายกับ ES

ข้อมูลเรื่องเซลล์ iPS มากขึ้นไปที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Induced_pluripotent_stem_cell

 

สิ่งที่กำลังโต้แย้งกันคือใครยื่นขอจดสิทธิบัตรก่อนกัน
"...Crucially, iPierian contends that Bayer had filed its key claims for the use of iPS technology in human cells months ahead of any rivals, including Yamanaka.

Akemi Nakamura, a spokesperson for Kyoto University, disagrees. "We believe we have an advantage over his claim, as the Yamanaka claim was filed prior to the Sakurada claim," Nakamura wrote in an e-mail. (see reference)

สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของอังกฤษ ได้ตัดสินใจโดยไม่ได้อิงงานของ ชินยะ ยามานากะ มหาวิทยาลัยเกียวโต ที่ประดิษฐ์เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จการสร้าง iPS แต่ได้ให้เครดิตการประดิษฐ์แก่กลุ่มนักวิจัยญี่ปุ่นที่เป็นคู่แข่งนักวิจัยกลุ่มนี้นำโดยนาย คาซูฮิโร่ ซากุราดะ ที่ทำงานในเมืองโกเบสำหรับการมีส่วนร่วมกับบริษัท Bayer Schering Pharma ที่อยู่ที่ตอนใต้ของซานฟรานซิสโก

ยามานากะ
• ยื่นจด iPS technology ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2549
• สำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่น ออกสิทธิบัตรให้ ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2551
• ครอบคลุม วิธีการผลิตเซลล์ iPS จากคนและหนูเม้าส์ โดยใช้เวคเตอร์ไวรัสที่ให้ยีนสี่ยีน
ซากุราดะ
• ยื่นจดในญี่ปุ่นเมื่อ มิถุนายน 2550
• ในวิธีการไม่ใช้ยีนก่อมะเร็ง c-Myc ในกระตุ้นการโปรแกรมพันธุกรรมใหม่
• ยังไม่ได้รับสิทธิบัตรจากญี่ปุ่น

ความสัมพันธ์ของทั้ง ยามานากะ, ซากุราดะ, และบริษัท iPierian นั้นค่อนข้างซับซ้อน เพราะยามานากะเคยร่วมในการก่อตั้งระยะแรกของ iPierian ที่ตอนแรกจัดตั้งห้องปฏิบัติการภายในสถาบัน Gladstone ซึ่งเป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานฟรานซิสโก (UCSF) ที่ยามานากะทำงานในห้องปฏิบัติการย่อยๆของมหาวิทยาลัย (satellite lab) เดือนละครั้ง นายยามานะกะไม่มีหุ้นในบริษัท iPierian แต่ห้องปฏิบัติการวิจัยในโตเกียวของเขาร่วมมือกับบริษัทนี้ในการที่มุ่งปรับวิธีการที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเซลล์ (reprogramming cells) เช่นเกี่ยวกับการเตรียมเวคเตอร์ไวรัส ส่วนนายซากุราดะมีตำแหน่งหัวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ของบริษัท iZumi Bio ในระยะเวลาสั้นๆ แต่ต่อมาบริษัทนี้รวมเข้ากับ iPierian  นายซากุราดะในปัจจุบันไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท

ยามานากะว่า ไม่อยากให้ความขัดแย้งทางทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเหตุทำให้ความก้าวหน้าทางด้านนี้ช้าลง และเทคโนโลยีไม่ควรถูกจำกัดการใช้ในพื้นที่หรือประเทศใด "This kind of technology should not be confined to any region or country,"

เคน เทย์มอร์ ผู้อำนวยการศูนย์กฏหมาย ธุรกิจและเศรษฐกิจของเบอร์คลี่ในแคลิฟอร์เนียกล่าวว่าสิทธิบัตรนั้นเกี่ยวข้องกับประเทศที่ออกให้เท่านั้น ("Ken Taymor, executive director of the Berkeley Center for Law, Business and the Economy in California, says that patents are pertinent only in the countries where they are issued.")



Reference
http://www.nature.com/news/2010/100128/full/news.2010.43.html

หมายเลขบันทึก: 333233เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท