การเข้าร่วมงาน ศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 3 : ศิลปากรสรรค์สร้าง สังคมเศรษฐกิจไทยสร้างสรรค์ ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ในวันที่ 28-29 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา มีส่วนช่วยเปิดจิตทางด้านสมองซีกขวาของผู้เขียน ที่จะถ่ายทอดเรื่องราวแก่สาธารณะ หลังจากว่างเว้นประมาณ 1 ปี
ด้วยผู้เขียนกำลังสนใจเรื่องงานวิจัย เพราะสงสัยพัฒนาการการเรียนรู้ของตนเองส่วนหนึ่ง จึงแสวงหาความรู้เชิงวิชาการ จากแหล่งต่างๆ ที่แตกต่าง ภายใน ระยะเวลา 1 เดือน ผู้เขียนมีวิธีเรียนรู้ ดังนี้
- ขอคำปรึกษา อธิบายความจาก เจ้าหน้าที่ สกว. พร้อมศึกษา เอกสารวิชาการ ตัวอย่างผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นต้น
- สัมภาษณ์และแลกเปลี่ยนความรู้ หรือข้อมูล กับผู้ที่เคยทำงานวิจัย และ/หรือ กำลังทำงานวิจัย
- เข้าร่วมฟังการเสวนา ระดับการแปลงงานวิจัยเป็นนโยบายสาธารณะ
- เข้าร่วมประชุมวิชาการเพื่อฟังการนำเสนอผลงานวิจัย
ผู้เขียนได้ข้อมูลทันสมัย ณ ปัจจุบัน ที่เป็นประโยชน์มากมาย ที่สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลความรู้เดิม เพื่อนำไปใช้จัดการ หรือดำเนินการในขั้นถัดไป
ถ้าผู้เขียนจะลองออกแบบงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น สักชิ้นหนึ่ง ก็ต้องใช้ความตั้งใจและต้องสร้างแรงบันดาลใจที่มากพอจะขับเคลื่อนสิ่งนั้นออกมา แม้ว่าตอนนี้ผู้เขียนจะรอลุ้นสิ่งนั้นเช่นกันว่าจะเป็นอย่างไร? มีรูปแบบไหน? ... (ช่างน่าตื่นเต้นพอควรจริงๆ)
ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช อาจารย์ ผู้เริ่มต้นเรื่องให้ผู้เขียนมีเรื่องเล่นต่อ... และ สมาชิกมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้ทุกท่าน ที่ร่วมเชียร์ผู้เขียน ในลักษณะการสัมภาษณ์ สอบถาม แลกเปลี่ยน ประเมิน ฯลฯ ผู้เขียนรู้สึกว่า เป็นวิธีการติดตามเส้นทางสายการเรียนรู้แบบเฉพาะคนที่ดีเยี่ยมเสมอมา ตั้งแต่ผู้เขียน เริ่มเป็น KM Intern จน ณ ปัจจุบันได้กลายเป็น ภาคีที่เก่าแก่ไปเสียแล้ว
สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนไม่เคยลืม คือ อุดมการณ์การเกิด สคส. ที่มาจาก "ไม่ต้องการให้งานวิจัยขึ้นหิ้ง"