คนสี่ประเภท ข้อคิดเตือนตนจากครูบ้านนอก (ตอน 2)


AI

สืบเนื่องจากตอนก่อน ที่ผมพูดเรื่องคนสี่ประเภทครับ มีคำถามมาเยอะ ผมเลยขอเขียนตอนต่อไปครับ วันนี้ผมจะเริ่มจากการตั้งข้อสังเกต และประสบการณ์ที่มีต่อคนระดับปูชนียะ หรือ คนที่ เข้มงวดกับตนเอง และ เข้มงวดกับคนอื่น ในมุมมองของผม คนระดับปูชนียะ นี้เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ครับ ชีวิตเราจำเป็นต้องมีดวงอาทิตย์ครับ แต่ต้องรักษาระยะครับ ดวงอาทิตย์นี่ไกล้มากไปคุณจะถูกแผดเผาครับ ห่างไปคุณก็อาจถึงกับตายครับ

ปูชนียะคนแรกที่ผมเจอ ยังไม่ถึงกับถูกยกย่องเป็นทางการครับ เขาเป็นอาจารย์รุ่นใหม่ครับ ที่มีความเห็นตรงไปตรงมา ไม่ค่อยกลัวอะไร เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ ชอบการสอนครับ ตอนนีี้้อาจารย์ไม่อยู่แล้ว ออกไปสร้างกิจการโรงเรียนสอนฟิสิกส์ครับ เป็นคนที่ผมกล่าวถึงในตอน "จากลบ กลายมาเป็นบวก จนเป็นบวกสุดๆ ตอน 2 " คนที่ในเรื่องพูดว่า "...อาจารย์พูดคล้ายๆ The Tipping Point" คนนี้แหละครับ คนลักษณะนี้มีจุดยืนครับ และมีอำนาจต่อรองสูง บอกได้เลยครับว่าเป็นคนดี  เพราะอาจารย์จะเป็นคนที่พูดถึงการเรียนการสอน เทคนิคการสอนทุกครั้ง อาจารย์เป็นคนดีที่สุดคนหนึ่งที่ผมเคยพบครับ ในขณะที่คนจบปริญญาเอกที่ผมเจอมา จำนวนมากติดยึดกับปริญญาจากนอก จนกระทั่งไม่เห็นหัวใคร ขาดความเมตตา กรุณาต่อคนอื่น (ผมจะเขียนต่อไปครับ)  

ผมเองตอนนั้นทำได้เพียงกลับมาศึกษา และจับจุดสิ่งที่อาจารย์พูด เพื่อหาโอกาสชี้แจงอย่างสร้างสรรค์ในโอกาสต่อไป ส่งผลให้ผมค้นพบอะไรดีๆ มาปรับปรุงเครือข่ายผมได้อย่างไม่น่าเชื่อ  (ดู "จากลบ กลายมาเป็นบวก จนเป็นบวกสุดๆ ตอน 2 ") 

ครับแต่ผมก็ไม่สามารถอยู่ไกล้ดวงอาทิตย์ดวงนี้ได้ตลอด ไม่งั้นถูกเผาตาย คือคงต้องเลิกสอน เลิกทำสิ่งที่ผมเชื่อครับ 

สิ่งที่ผมทำได้ดีที่สุด คือผมต้องกลับมาทบทวนมาทำการบ้านตลอด เพื่อตอบรับความท้าทายจากภูมิปัญญาระดับสุดยอด อย่างไรก็ตามความเห็น การแสดงจุดยืนของคนระดับนี้ทำให้เราเข้มแข็งมากขึ้นจริงๆ ครับ ย้ำครับ "แสงจากดวงอาทิตย์ ทำให้คุณเรียนรู้และเติบโตได้เสมอครับ"

Einstein เคยกล่าวไว้ว่า "ถ้าเราไม่สามารถพูดอะไรให้คนฟังให้เข้าใจได้อย่างง่ายๆ ถือว่าเรายังไม่เข้าใจ" นี่เป็นสิ่งที่ผมต้องเตือนตนเอง และไม่โทษใครครับ หากความคิดผมจะไม่เป็นที่ยอมรับ นั่นเป็นเพราะผมยังไม่เข้าใจมันเป็นแน่แท้ครับ สิ่งที่เราจะทำคือเรียนรู้และทำให้มากๆครับ แล้วเราจะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งได้เองครับ เป็นกำลังใจทุกท่านที่เคยเจอแบบเดียวกันนะครับ

กลยุทธ์ที่ผมเสนอคือ เวลาเจอปูชนียะแบบนี้คือ "จับจุด" มา "จุดประกาย"  และ "ลุย" ทำสิ่งที่ตนเองเชื่อครับ

ขณะเดียวกันต้อง "ลุย" ฝึกตัวเอง จนกว่าจะพูดให้คนอื่นฟังแบบเข้าใจ "ง่ายๆ"

ลองสิครับ คุณอาจสร้างความแตกต่างได้แบบ "ก้าวกระโดด"ครับ

เสียดายอาจารย์ออกไปก่อน ยังไงผมก็นับถืออาจารย์อยู่ดีครับ

ผมจะพูดถึงปูชนียะคนต่อไปในตอนหน้าครับ สำหรับตอนนี้ "คุณคิดยังไงครับ" 

ติดตามงานเขียนของกลุ่ม AI Practitioners ได้ที่ Journal of AI Practitioners

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 332979เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2010 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีท่านอาจารย์ครับ

แวะมาเยี่ยมตอนที่ 2 ครับ

สวัวดีจ้าอาจารย์

แวะมาทักทายจ้า

ตอบคุณ Phornphon ขอบคุณที่แวะมาครับ

คุณชีวิตต้องสู้ ขอบคุณที่แวะมาเป็นกำลังใจครับ

เห็นด้วยค่ะกับคำคมของ Einsiein แต่ในความเป็นจริงคนเรามักไม่คิดอย่างนั้น เวลาเราพูดแล้วคนไม่เข้าใจ เราจะบอกว่า เขาคิดไม่ทัน ไม่มีความรู้ หูไม่ถึง แต่ถ้าใครพูดแล้วเราไม่เข้าใจ เราจะรำพึงว่า เขาพูดอะไรไม่เห็นรู้เรื่อง ถ้าคนเขาหัดมองย้อนเข้าไปข้างใน ใช้เวลาพิจารณาตนเองให้มากกว่าการวิจารณ์คนอื่น (หรือใช้ความเห็นส่วนตัวในการแยกประเภทบุคคลในรูปแบบต่างๆ) โลกนี้น่าจะน่าอยู่มากขึ้นนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท