ควาหมายของโลโม่


โลโม่

LOMO LOMO!!

           

        ทำความเข้าใจกับนัย และความหมายที่แท้จริงของ Lomography เสียก่อน...
ก่อนที่จะกลายเป็นโลมั่ว  นับเป็นความเข้าใจที่ไขว้เขวผิดเพี้ยนอย่างมหันต์ของ       คนนักถ่ายภาพ(ไทย)หลายๆ คน  ซึ่งเข้าใจผิดเพี้ยนไปว่า

        "การถ่ายภาพแนวโลโม่ ก็คือ รูปแบบการเล่นภาพอีกสไตล์หนึ่ง...ซึ่งจะต้องเป็นภาพที่มีสีสันแบบเพี้ยนๆ จัดๆ แป๋นๆ ฯลฯ อะไรประมาณนั้น?”   และพยายามที่ปรับภาพให้มีสีสันออกไปในทำนองนั้น แล้วมักจะนำมาโพสต์โชว์กันว่า

                               "นี่แหละ..ภาพสไตล์โลโม่" ล่ะ
 
        ซึ่ง..หากบรรดาท่านๆ เหล่านั้นได้ศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็จะเข้าใจได้กระจ่างว่า  แท้ที่จริงแล้วคำว่าการถ่ายภาพแบบ "Lomo" หรือ "ภาพแนว Lomography"      นั้น โดยนัยที่แท้ที่จริงแล้ว...  หมายความว่าอย่างไร?  มาทำความเข้าใจกับคำว่า Lomography หรือ LOMO กันก่อน

     LOMO โดยนัยดั้งเดิม ก็คือ เดิมทีนั้นเป็นเพียงชื่อยี่ห้อ(ต้นตำรับ)ของกล้องป็อกแป้ก ราคาถูกๆ คุณภาพต่ำๆ จากสหภาพโซเวียต ซึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นมาโดยนโยบายของ  ทางการของสหภาพโซเวียตตั้งแต่ช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองมาแล้ว  (โดยมีวัตถุ-ประสงค์เพื่อการเก็บภาพในสมรภูมินั่นเอง และต่อเนื่องมาจนถึงยุคสงครามเย็น โดยทางสหภาพโซเวียตได้มีเป้าประสงค์ที่จะให้ประชาชนชาวสหภาพโซเวียต ได้เก็บบันทึกเหตุการณ์ทั่วๆ ไปของบ้านเมืองในแต่ละช่วงเวลา ฯลฯ)

      ทำไม?...ภาพที่ได้จากกล้องโลโม่จึงมีลักษณะเช่นนั้น?  ดังที่หลายๆ คนมักจะ  เข้าใจผิดๆ ว่า เจตนาในการผลิตกล้องฯ ขึ้นมาก็เพื่อ "ต้องการให้มีลักษณะภาพ..เป็นเช่นนั้น"

 

      แต่..  "เหตุผล(ปัจจัย, ตัวแปร)ที่แท้จริง ซึ่งทำให้เกิดภาพในลักษณะ และคุณภาพภาพเป็นเช่นนั้น"   ก็คือ เป็นเพราะด้วยข้อจำกัดของกล้องนั่นเอง กล่าวคือ "เนื่องจากความด้อยคุณภาพของชิ้นเลนส์ ตลอดจนวัสดุที่ใช้ในการผลิตคุณภาพต่ำมากๆ นั่นเอง ฯลฯ"

วัตถุประสงค์ในการผลิตขึ้นมา :  ขอเพียงให้สามารถเก็บภาพเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ได้


แค่เพียงต้องการให้รู้ว่า
     ใคร? ทำอะไร? ที่ไหน? อย่างไร? กับใคร? ฯลฯ เท่านั้นก็พอ

**********************************

 

 

คำสำคัญ (Tags): #โลโม่
หมายเลขบันทึก: 332687เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2010 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะ ^^

รู้ความหมายจริงๆ แล้ว :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท