ธรรมบรรยาย


บันทึกธรรมบรรยาย

เรื่องเล่าจาก...คำบรรยายธรรมของพระอาจารย์

พระราชปฏิภาณโสภณ  รองเจ้าอาวาสวัดโอรสาราม

วันที่ 14-18 มกราคม 2553 

การฝึกจิตใจ ฝึกจิตให้เข้มแข็ง  ต้องใช้เวลา จิตนิ่ง  มั่นคง  เข้มแข็ง

กิเลส   : โลภ  โกรธ  หลง  รัก  ชัง    ทำใจให้รุ่มร้อน : ฟุ้งซ่าน  

คนเรามีโรคอยู่ 2 ชนิด คือ 

1)โรคภายในของใจ

2)โรคภายนอกใจ  -- การได้รู้เห็นสิ่งกระทบข้างนอก ความเศร้าโศก

ใจเข้มแข็ง    จะต่อสู้โรคภายใน – นอก จิตใจได้

สร้างเกราะป้องกันตัวเรา   ที่ดีที่สุดคือ  ศีล  5

   1.รักษาศีล   ดูแลศีลของตัวเองให้ดี  เป็นเกราะที่จะป้องกันตัวเราเองได้

   2.สมาธิ     ใจที่ตั้งมั่น  เข้มแข็ง   การสวดมนต์  ระงับใจ  ระงับอารมณ์

   3.ปัญญา      ความรู้เท่าทัน  รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

ไตรสิกขา  เป็นแนวปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  ทำให้ชีวิตปลอดภัย เหมือน มีรั้ว  มีเกราะ 

 ประโยชน์

                1. ทำงานด้วยความไม่หวั่นไหว  สุข  สงบ  สดชื่น

                2. ได้บุญกุศล

   พุทธศาสนา  สอนให้รู้จักชีวิตตามความเป็นจริง พอดี ๆ ยึดมาก  ทุกข์มาก  จับพอดี

  1) นามขันธ์

    ใจ  มี 4 ขันธ์   (กอง) ภาวะของจิตใจ    จิต

         1.  เวทนา    รู้สึกสบาย  ไม่สบาย  เฉย ๆ

         2.  สัญญา    ความจำ   จำที่จิต   เป็นจิต

        3.  สังขาร  (ปรุงแต่งจิต)  ความโลภ  โกรธ  รักชอบ ชัง ศรัทธา  อยาก  ความยินดี   อยากได้  โมหะ = หลง

        4.  วิญญาณ   คือ ตัวรู้  จิตที่รู้  ตัวรู้รส คือ จิต (วิญญาณ) ไม่ต้องการ  ก็ไม่มีราคาตเกิดที่ตาเห็น  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ

   2) รูปขันธ์ ( กาย )

                คนเราเกิดมามี กายและใจ รูป กับ นาม

 อริยสัจ  4   ความจริงอันประเสริฐ

                1. ทุกข์  

                2. สมุทัย  -- เหตุให้เกิดทุกข์

                3. นิโรธ

                4. มรรค

การปฏิบัติธรรม ก็คือ การดูทุกข์ สติอยู่ที่รูปปัจจุบัน   ทุกข์บังคับให้เราเปลี่ยน

วันที่ 15 มกราคม 2553

                ขณะที่หลับจิตกำลังทำงาน

                ขณะหลับสนิท  --- จิตตกภวังค์   จะรู้อารมณ์ในแต่ละชาติ จิตมีอารมณ์   รู้อารมณ์ก่อนตาย 

                การพัฒนาคน  ---    ตัองพัฒนาจิต  --  การฝึกจิตนั้นเป็นการดี   จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้

                อารมณ์ที่จิตต้องการ  อารมณ์ที่คุ้นเคย  อารมณ์ของกิเลสตัณหา

                ได้มาพอใจ  แล้วแสวงหาอันใหม่

                เมื่อผิดหวัง  จะเกิดโกรธ  เศร้า  เกลียด  เสียใจ

                ที่เป็นอย่างนั้น คือ ความไม่รู้  (.อวิชชา) หลงในอารมณ์เหล่านั้น

                วิปัสสนาปัญญา :  เห็นด้วยปัญญา

                การปฏิบัติธรรม คือ  -- ให้จิตเห็นตรงกับความเป็นจริงของชีวิต  โดยการวิปัสสนาปัญญา

พิจารณา รูป + ขันธ์  ที่เห็นวิปลิส คือ ทำให้เราสุขไม่แท้จริง  เราจึงวุ่นวายด้วยกิเลส

                - จิตใจเราขุ่นมัว  เพราะ   โลภ  โกรธ  หลง

                - จิตไม่นิ่ง  ไม่ผ่องใส   ความรู้เห็นตามความเป็นจริงไม่เกิด

                กรรมฐาน   ---  มีสติเป็นตัวตั้ง   เป็นที่ตั้งของสติสัมปัญชัญญะ ทำใจให้รู้ตรงตามความเป็นจริง

รู้แล้วตั้งสติใหม่ คือ ความเพียรให้มีสติสัมปัญชัญญะ  รู้ตรงกับความจริง

ชาวพุทธอยู่กับปัจจุบัน  ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด   กายและใจ มีการเกิดดับอยู่เสมอ

ชีวิตเราประกอบด้วยกายและใจ (รูป + นาม)   เกิดดี เพราะกุศลกรรมดี  บางครั้งมีชีวิตไม่ดี เพราะบาปให้โทษ

คำสอนของพระพุทธศาสนา

   1. ความชั่วทุกอย่างไม่ให้ทำ

   2. กุศลความดี  ความฉลาดพึ่งสะสม  : ทำความดีอยู่เรื่อย

    3. จิตของตนชำระจิตตัวเองให้ผ่องแผ้ว  ตัดโลภ โกรธ หลง ความสงสัย ความตระหนี่  อิจฉา  ริษยา  ความเห็นผิด

  วิธีจิตให้จิตผ่องแผ้ว  คือ ฝึกให้มีสติอยู่เสมอ

คำสำคัญ (Tags): #การเจริญสติ
หมายเลขบันทึก: 331513เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2010 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท