“เช็งเม้ง : สายสัมพันธ์ที่ไม่มีวันตัดขาด” สืบเชื้อสายจีนให้คงอยู่...ดั่งฝังเมล็ดมะระสายพันธุ์แท้ลงดิน


มองข้ามบ่านักวิจารณ์ ๒ (บทวิจารณ์ซ้อนวิจารณ์)

       บทวิจารณ์ “เช็งเม้ง : สายสัมพันธ์ที่ไม่มีวันตัดขาด” เป็นบทวิจารณ์ของสุภาพ พิมพ์ชน ซึ่งรวมอยู่ในหนังสือรวมบทวิจารณ์ชุดมองข้างบ่านักเขียน เป็นบทวิจารณ์งานเขียนที่ได้รับวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์)

       บทวิจารณ์งานเขียนเรื่องสั้น “เช็งเม้ง” ของวินทร์ เลียววาริณซึ่งใช้ชื่อว่า “เช็งเม้ง : สายสัมพันธ์ที่ไม่มีวันตัดขาด” ซึ่งผู้วิจารณ์มีแนวการวิจารณ์ที่เป็นเอกลักษณ์คือ การวิเคราะห์ตามองค์ประกอบ ใช้อัตนัยขยายปรนัย เพื่อกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

       ผู้วิจารณ์มีการเปิดเรื่องโดยการอธิบายถึงรากเหง้าของการเขียนเรื่องสั้นแล้วต่อด้วยรากเหง้าของเรื่อง “เช็งเม้ง”

       “รากเหง้า” ซึ่งมีสาระโดยสรุปว่า มนุษย์ทุกคนล้วนกำเนิดมาจากรากเหง้าเดียวกัน หรือมีบรรพบุรุษร่วมกัน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่แล้วกลับต้องแบ่งแยกออกจากกันเป็นกลุ่มพวกและขัดแย้งกันด้วยความแตกต่างของเปลือกนอกที่ต่างฝ่ายต่างสมมุติขึ้นมานั่นเองการตั้งคำถามว่า “เราคือใคร” นำไปสู่การสืบทวนที่มาของรากเหง้าอันเป็นเนื้อหาสำคัญของเรื่องสั้นเรื่อง “เช็งเม้ง”

       จากนั้นผู้วิจารณ์เริ่มวิจารณ์ถึงการเปิดเรื่อง “เช็งเม้ง” โดยกล่าวถึงการพรรณนาภาพถ่ายหมู่ญาติพี่น้องในอดีต เปรียบเทียบกับช่วงเวลาปัจจุบัน และการเปิดตัวละคร “ผม” ซึ่งเป็นตัวแทนของคนสมัยใหม่ที่ต้องกลับไปสัมผัสกับบรรยากาศของสังคมแบบเก่า

       จากนั้นผู้วิจารณ์ดจึงต่อด้วยการหยิบยกโครงเรื่องว่าแจกแจงว่า เป็นประจุความคิดที่ขัดแย้งหลากหลายมิติ ซึ่งปมความขัดแย้งที่กินใจผู้อ่านมากที่สุดเห็นจะเป็นปมในจิตใจของตัวละคร อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางความคิด ที่ทำให้ตัวละครรู้สึกว่าตนเองเป็นคนนอกอยู่ตลอดเวลา

       ความแตกต่างทางความคิดเช่นนั้นนำไปสู่การสะเทือนใจสูงสุดเมื่อผู้เขียนค่อยๆ เปิดเผยออกมาว่าที่แท้จริง “ผม” ไม่มได้มาร่วมงานเช็งเม้ง แต่ทว่าเขามาเพื่อนทำงานสำรวจหาลู่ทางบุกเบิกธุรกิจใหม่ ซึ่งผู้วิจารณ์ก็ไม่ลืมที่จะยกประเด็นเด่นๆ เช่นนี้ออกมาอธิบายให้ผู้อ่านได้เห็นอย่างแจ่มชัดมากขึ้น

       โดยใช้ข้อความในกรอบเช่นเดียวกับผู้เขียน ซึ่งเป็นการอ้างอิงที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจการนำเสนอเรื่องของผู้เขียนได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ข้อความในกรอบหรือข้อความทับศัพท์ที่เน้นย้ำอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร ผู้วิจารณ์ก็นำมาอธิบายเปรียบเทียบได้เป็นอย่างดี

       ก่อนที่จะกล่าวถึงกลวิธีการนำเสนอเรื่อง “เช็งเม้ง” ของวินทร์ว่าเป็นการใช้กลวิธีการเขียนที่เป็นไปเพื่อรับรองเนื้อหาสาระของเรื่องโดยแท้ โดยวิจารณ์ว่าเนื้อเรื่องมีลักษณะค่อนข้างยาวซึ่งเป็นเรื่องจริง เพราะว่าผู้เขียนต้องการที่จะเขียนให้ครอบคลุมรายละเอียดของตัวละครและเหตุการณ์ แต่เหตุการณ์ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นภูมิหลังของตัวละครทั้งสิ้น

       ซึ่งจุดเด่นของบทวิจารณ์ “เช็งเม้ง : สายสัมพันธ์ที่ไม่มีวันตัดขาด” ก็เห็นจะเป็นเรื่องของการสรุปประเด็นการวิจารณ์ที่ทำได้เป็นอย่างดี จบเรื่องได้อย่างสวยงามไม่มีที่ติ โดยเริ่มสรุปที่ละประเด็นอย่างละเอียด ซึ่งสร้างความกระจ่างชัดทางความคิดและความเข้าใจแก่ผู้อ่านเป็นอย่างมาก  และมีการทิ้งท้ายไว้ให้ผู้อ่านได้คิดว่า

       ภาพของ “ผม” ที่ยังยืนอยู่ที่ฮวงซุ้ยเป็นคนสุดท้ายและฝังเมล็ดมะระอันเปรียบเสมือนพืชพันธุ์ประจำครอบครัวลงไปในดิน คล้ายเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่า ท่ามกลางยุคสมัยที่ดูเหมือนว่าสิ่งต่างๆ ในวัฒนธรรมเดิมกำลังจะแตกกระจายออกจากกัน โดยไม่อาจเชื่อมโยงถึงกันได้อีกแล้ว อาจมีบางสิ่งบางยังคงสืบต่อกันมาในความลึกเร้นและรอการค้นพบ

       การทิ้งท้ายโดยผู้วิจารณ์ได้ตีความหมายของเมล็ดมะระว่าเปรียบเสมือนเป็นความมีเชื้อสายจีนแท้ที่แฝงอยู่ในตัวของ “ผม” ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เขาได้หันมามองเห็นรากเหง้า รูปแบบการใช้ชีวิตของตัวเองและยังคงสืบทอดวัฒนธรรมของจีนต่อไป

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท