“เพลงใบไม้ : ศิลปะมรดก” “สายเลือด” หรือ “ปาฏิหาริย์” ที่ช่วยสืบสานศิลปะพื้นบ้านให้คงอยู่


มองข้ามบ่านักวิจารณ์ ๑ (บทวิจารณ์ซ้อนวิจารณ์)

       บทวิจารณ์ “เพลงใบไม้ : ศิลปมรดก” เป็นบทวิจารณ์ของศศิธร เหลืองจินดาซึ่งรวมอยู่ในหนังสือรวมบทวิจารณ์ชุดมองข้างบ่านักเขียน เป็นบทวิจารณ์งานเขียนที่ได้รับวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์)

       บทวิจารณ์งานเขียนเรื่องสั้น “เพลงใบไม้” ของวาณิช จรุงกิจอนันต์ ซึ่งใช้ชื่อว่า “เพลงใบไม้: ศิลปะมรดก” ซึ่งผู้วิจารณ์มีแนวการวิจารณ์ที่เป็นเอกลักษณ์คือ การวิจารณ์ตรงประเด็น เนื้อความที่วิจารณ์กระชับได้ใจความ

       ผู้วิจารณ์นั้นได้พยายามสื่อให้ผู้อ่านเห็นแก่นเรื่อง “เพลงใบไม้” นั่นก็คือ ความสำคัญของศิลปะพื้นบ้านของไทยเราที่กำลังจะสูญหายไปพร้อมกับบรรพบุรุษและคนสมัยโบราณ โดยที่ไม่มีใครให้ความสนใจและต้องการจะสืบสานต่อ

       ผู้วิจารณ์ได้ตีความเรื่อง “เพลงใบไม้” ออกเป็น 2 แนวทั้งที่เป็นแนวลึกลับและแนววิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถหาเหตุผลมาประกอบการได้อย่างเหมาะสม โดยให้เหตุผลของทั้ง 2 แนวว่าในแนวลึกลับนั้นให้เหตุผลว่า ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนี้จะอยู่ได้ก็เนื่องมาจากปาฎิหารย์และเรื่องอัศจรรย์เหนือธรรมชาติเท่านั้น ส่วนในแนววิทยาศาสตร์ก็ได้ให้เหตุผลว่าศิลปะเป็นเรื่องของพันธุกรรมที่แฝงอยู่ในสายเลือดและเป็นเรื่องที่สามารถถ่ายทอดกันได้

       การที่ผู้วิจารณ์ตีความเรื่องและให้เหตุผลดังกล่าวนั้นมีความน่าเชื่อถือทีเดียว เนื่องมาจากผู้วิจารณ์ได้อ้างอิงจากเนื้อความของเรื่องและยกมาประกอบให้ผู้อ่านเห็นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังได้สะท้อนความรู้สึกของผู้เขียนได้แฝงความรู้สึกผ่านตัวละครที่เป็นยายให้ผู้อ่านได้เห็นว่า การที่ยายเป็นห่วงอนาคตของหลานก็เปรียบเสมือมความเป็นห่วงอนาคตของศิลปะพื้นบ้านเช่นเดียวกัน

       หากพิจารณาแล้วจะเห็นว่าผู้วิจารณ์ยังมีความละเอียดอ่อนถึงเรื่องผู้หลังของผู้เขียนว่ามีความใกล้ชิดกับศิลปะเพลงพื้นบ้านมาก่อนจึงมีความรู้และเข้าและนำเรื่องเหล่านี้มาเขียนเป็นเรื่องสั้นที่ใช้ภาษาที่เรียบง่าย นอกจากนี้ผู้วิจารณ์ยังกล่าวถึงการตีความในแง่มุมอื่นๆ อีกโดยยกแง่มุมของสตรีขึ้นมาเป็นตัวอย่างและยกเหตุผลข้อความที่ว่า

       “ถึงตกไปอยู่ในมือมาร ก็ยังคิดถึงกันอยู่ร่ำไป ไอ้เรื่องเลิกกับผัวฉันไม่กลัวเกรง แต่ให้เลิกกับเพลงฉันเลิกไม่ได้...”

       ยายยังจำเพลงที่ร้องกับเพื่อนร่วมวงตอนที่เลิกกับผัวใหม่ๆ ได้ดี ผัวของยายมาตามยายกลับไปอยู่ด้วยกันใหม่หลายหน แต่ยายไม่ยอมกลับ เป็นตายยังไงก็ขอเล่นเพลง ลูกของยายผัวเอาไปเลี้ยง...ส้มเช้าอายุได้ห้าหกขวบตอนที่แม่ตาย ส้มเช้าอยู่กับยายสองคน ยายก็เล่ยเพลงเลี้ยงมันมา...

       ซึ่งทำให้ผู้อ่านเข้าใจบทบาทของยายที่มีความแข็งแกร่งแบบไม่พึงพาสามี สามารถเลี้ยงดูตนเองได้นับว่าผู้วิจารณ์มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้สึกของตัวละครให้เข้าใจได้งายมากยิ่งขึ้น

       สุดท้ายผู้วิจารณ์ยังคงสรุปเรื่องได้อย่างสั้นและกระชับ ซึ่งทำให้ผู้อ่านรู้สึกยังมีบางสิ่งบางอย่างที่ยังค้างคาใจอยู่  เนื่องมาจากผู้วิจารณ์ใช้การสรุปเรื่องเป็นแบบทิ้งทายไว้ให้ผู้อ่านได้คิดว่าความเจริญงอกงามของศิลปะของชาติเปรียบเสมือนความเจริญงอกงามทางปัญญาที่ต้องหมั่นทำการบ้านอยู่เสมอ ศิลปะมรดกจึงจะมีผู้สืบทายาทต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 331331เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2010 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

มาศึกษาด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท