อนุกรมเวลาในการประเมินความสามารถ


อนุกรมเวลาในการประเมินความสามารถตามช่วงเวลาทั้ง 3 ดังกล่าว สามารถขยายความได้ดังนี้คือ การมีผลงานในอดีตอันเป็นที่ยอมรับ เป็นการประเมินความสามารถในอดีต, การมีการบริหารชีวิตและเวลาในอดีตได้อย่างมีคุณค่า เป็นการประเมินความสามารถในอดีตที่ต่อเนื่องกับปัจจุบัน, การมีชุดความสามารถจำนวนมาก เป็นการประเมินความสามารถในปัจจุบัน, การมีคุณลักษณะทางจิตที่พึงประสงค์ เป็นการประเมินความสามารถในปัจจุบันอันนำไปสู่การคาดการณ์ความสามารถในอนาคต, และ การมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพูนความสามารถได้ เป็นการประเมินเพื่อคาดการณ์ความสามารถในอนาคต ซึ่งต้องใช้การประเมินความสามารถในอดีตที่ต่อเนื่องกับปัจจุบันอันนำไปสู่การคาดการณ์ความสามารถในอนาคตนั่นเอง

 

อนุกรมเวลาในการประเมินความสามารถ  

Competency Assessment Time Series

จะเห็นได้ว่า  คุณสมบัติของคนมีคุณภาพทั้ง 5 ประการ  อันได้แก่  การมีผลงานในอดีตอันเป็นที่ยอมรับ,  การมีการบริหารชีวิตและเวลาในอดีตได้อย่างมีคุณค่า,  การมีชุดความสามารถจำนวนมาก,  การมีคุณลักษณะทางจิตที่พึงประสงค์,  และการมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพูนความสามารถได้  สามารถนำไปใช้เป็น กรอบการประเมินความสามารถ (Competency Assessment Frameworks) สำหรับการพิจารณารับสมัครคัดเลือกบุคลากร  นอกจากนั้นกรอบการประเมินความสามารถดังกล่าว ยังสามารถจำแนก อนุกรมเวลาในการประเมินความสามารถ (Competency Assessment Time Series) ได้เป็น 3 ช่วงเวลา  ดังนี้

1)      การประเมินความสามารถในอดีต (Past)

2)      การประเมินความสามารถในปัจจุบัน (Present)

3)      การประเมินเพื่อคาดการณ์ความสามารถในอนาคต (Future) 

 

เพื่อให้เกิดความเข้าในอย่างลึกซึ้ง  อนุกรมเวลาในการประเมินความสามารถตามช่วงเวลาทั้ง 3 ดังกล่าว  สามารถขยายความได้ดังนี้คือ  การมีผลงานในอดีตอันเป็นที่ยอมรับ เป็นการประเมินความสามารถในอดีต,  การมีการบริหารชีวิตและเวลาในอดีตได้อย่างมีคุณค่า เป็นการประเมินความสามารถในอดีตที่ต่อเนื่องกับปัจจุบัน,  การมีชุดความสามารถจำนวนมาก เป็นการประเมินความสามารถในปัจจุบัน,  การมีคุณลักษณะทางจิตที่พึงประสงค์ เป็นการประเมินความสามารถในปัจจุบันอันนำไปสู่การคาดการณ์ความสามารถในอนาคต,   และ การมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพูนความสามารถได้ เป็นการประเมินเพื่อคาดการณ์ความสามารถในอนาคต  ซึ่งต้องใช้การประเมินความสามารถในอดีตที่ต่อเนื่องกับปัจจุบันอันนำไปสู่การคาดการณ์ความสามารถในอนาคตนั่นเอง  โปรดดูภาพประกอบที่ 2.2 (The Competency Assessment Model) 

 

ดร.จักษวัชร  ศิริวรรณ

 

หมายเลขบันทึก: 330908เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2010 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท