kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การใช้ KM ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ศูนย์อนามัยที่ 8 - ผลงานที่ผ่านมา (3) :งานอนามัยแม่สิ่งแวดล้อม


สำหรับเรื่องต่อมาในการนำเสนอในการประชุมเชิงปฎิบัติการเรื่อง "การใช้ KM ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์" ที่วังยางรีสอรท์ จ.สุพรรณบุรี คืองานอนามัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องอาศัยภาคีเครือข่ายในการทำงานมาก ต้องการใช้ทักษะความรู้ในการบริหารจัดการสูง และต้องมีการทำงานที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เครือข่ายมีความเข้มแข็งและดำเนินงานได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และรักษามาตรฐานให้คงอยู่ต่อไป สำหรับผลงานที่นำเสนอได้แก่

เรื่อง  ตลาดน่าซื้อ

  • ระยะแรกเป็นการขอความร่วมมือ 
  • ต่อมามีตลาดที่ผ่านเกณฑ์  ปี 52 ผ่าน 86.52
  • สำเร็จจากการมีชมรม
  • งานที่ทำมีการนิเทศ ติดตาม สุ่มประเมินคุณภาพ
  • สุ่ม 30% ของตลาด  แต่เราก็ทำเกิน ส่วนใหญ่ถ้าเจอก่อนจะเป็นผักชีโรยหน้า
  • มีการนิเทศติดตาม มีการแลกเปลี่ยนกับพื้นที่ เอาวิธีตลาดหนึ่งไปให้กับอีกตลาดหนึ่ง
  • มีการคุยกับเจ้าหน้าที่ อบต.  ในการไปคนเดียวทำให้ต้องทำหน้าที่จดเอง บันทึกเอง
  • การเผยแพร่โดยใช้  Gotoknow web หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว วิทยุ กระจายข่าว
  • สรุปความรู้  มีดังนี้ การได้ความร่วมมือ มีการบูรณาการ , การมีส่วนร่วมของชมรม, การติดตามอย่างต่อเนื่อง , การมีความสัมพันธ์ที่ดี
  • ข้อจำกัดคือ ปัญหาการเมือง , บริบทที่ต่างกันจะไม่เหมือนกัน , มาตรการทางกฎหมายบังคับไม่ได้ ,เจ้าของตลาดไม่ให้ความร่วมมือ
  • สื่อสารกับภาคีโดย ร่วมเป็นวิทยากร , นิเทศ , การตรวจประเมิน
  • อนาคตจะจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชมรมตลาด เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง
  • หลังจากนั้นไปติดตาม  มีการประกวด เพื่อจูงใจด้วย

เรื่อง  มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย

  • มาตรฐานไม่ต่อเนื่อง 
  • ศูนย์ ถ่ายทอดให้ท้องถิ่น ประเมินแล้วไม่รักษามาตรฐาน
  • ผลงานมากขึ้นเรื่อย ๆ 
  • เพื่อสนับสนุนแนะนำ รักษามาตรฐานแบบต่อเนื่อง
  • เป้าหมายคือร้านอาหารแผงลอยที่ผ่านในปีที่ผ่านมา
  • ทีมงานคือผู้รับผิดชอบงานระดับจังหวัด
  • มีการนิเทศติดตามงาน  สนับสนุนจังหวัด
  • ส่วนใหญ่ไม่ค่อยประเมินซ้ำ
  • เลยมีกิจกรรมการตรวจซ้ำ
  • ขณะนิเทศติดตามมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ้าง  มีการเล่าเรื่อง ประสานแผนงานในระดับจังหวัด มีการแจ้งผลการสุ่ม
  • สรุปได้ความรู้คือ  มีการประเมินคุณภาพซ้ำจะทำให้ดี ถ้ามีการสนับสนุนจะดีแต่ไม่ยั่งยืน
  • คนประเมินภายนอกจะดีกว่า ศูนย์ประเมินจะดีกว่า แต่นาน ๆ เข้าจะไม่ดีเหมือนเดิม
  • การสื่อสารกับภาคีเครือข่าย จะมีการแจ้งผลให้ทราบ มีจุดเด่น จุดอ่อนอะไรบ้าง
  • การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จากจดหมายข่าว  web
  • ปีหน้าทำอย่างต่อเนื่อง บางจังหวัดทำข้อมูลเชิงปริมาณดี และเชิงคุณภาพยังน้อยลง
  • การสร้างความตระหนักกับภาคีเครือข่าย เป็นจุดที่สำคัญ

ในระหว่างการนำเสนอมีเรื่องมาให้ขัดจังหวะเล็กน้อย เนื่องจากที่ประชุมอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน คือมีก๋วยเตี๋ยวเรื่องผ่านมา เลยพักรับประทานกันก่อนเล็กน้อยครับ

เรื่องของส้วม

  • มี 12 setting ร้อยละ 60 ต้องผ่านเกณฑ์
  • ปีนี้มเน้นของโรงพยาบาล และของโรงเรียน
  • มีการอบรมมาตรฐานส้วมในทุกส่วน
  • มีการผลิตสื่อสนับสนุนมากขึ้น  ประชาสัมพันธ์  เกณฑ์ โครงการพัฒนาส้วม
  • รณรงค์ล้างส้วม  สนับสนุนจังหวัดคิดกิจกรรมขึ้นเอง
  • การประกวดสุดยอดส้วมแห่ง
  • หน่วยงานระดับอำเภอมีผลงานดีเด่นเรื่องส้วมดีเด่น
  • ส่วนกลางมีรางวัลบุคคลดีเด่นด้วย  เขตเราคือที่ขาณุ กพ.
  • กำแพงเพชรมีผลงานมากขึ้น
  • ภาพรวมในเขตเริ่มลดลงในปีหลัง ๆ
  • เข้าไปแลกเปลี่ยนเรื่องส้วมในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
  • การดูงาน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน กลับไปพัฒนาต่อ
  • ศึกษาสถานการณ์ส้วมสาธารณะ เป็นอย่างไร ดูเรื่องพฤติกรรมอย่างไร
  • อนาคตจะทำเรื่องการผลิตสื่อ  แสงสว่าง การระบายอากาศจะทำให้ผ่านได้ง่ายกว่า
  • การประชาสัมพันธ์ ทางวิทยุ จดหมายข่าว web
หมายเลขบันทึก: 330791เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2010 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วันนี้ว่างมาอ่านแล้วค่ะ

คราวนี้ทำไม่ค่อยจะถูก คราวหน้าจะทำให้ถูกกว่านี้...

แต่ครั้งนี้ได้บทเรียนคือ ก๋วยเตี๋ยวเรือ ล้างชามด้วยการจุ่มน้ำในแม่น้ำข้างกอผักตบ อร่อยจนลืมไม่ลง...555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท