รักที่จะเรียนรู้ ความรู้ที่ตกหล่นในห้องเรียน และนอกห้องเรียน


ย้อนอดีตไปอีก ๓ ปี เรายังอยู่ในสภาวะของการทำงานตามใจ ไม่ได้นึกรักในองค์ความรู้ ไม่ได้สนใจที่จะแสวงหาความรู้นอกห้องเรียน รู้แค่ว่า อ่านหนังสือในตำราก็เพียงพอ ซึ่งเราในวันนี้ หากทำงานแบบในอดีตเมื่อ ๕ ปีก่อน นึกไม่ออกเหมือนกันว่า เราจะมีโอกาสในการทำงานในฐานะเจ้าของโครงการ ที่จะเข้ามาทำงานให้กับสังคมได้อย่างไร นึกเล่นๆว่า ถ้าวันนี้เรายังไม่รักที่จะเรียนรู้ความรู้ จากสังคม เราจะเป็นอย่างไร

 

รักที่จะเรียนรู้ ความรู้ที่ตกหล่นในห้องเรียน และนอกห้องเรียน

            วันนี้ ได้มีโอกาสที่เข้ามานั่งประชุมร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิใน เวทีการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์สื่อเพื่อเด็ก โดยโครงการยุทธศาสตร์สื่อเด็ก ของมูลนิเพื่อการพัฒนาเด็ก งานนนี้จัดขึ้นในวันเสาร์ที ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๙ ณ ห้องประชุมที่ โรงแรมโรสการ์เด้น ที่สวนสามพราน

             มาคราวนี้ได้ความรู้มากมาย ที่สำคัญก็คือ มากกว่า การอ่านหนังสือ อย่างน้อยๆ เราก็ไม่เสียเวลานั่งอ่านหนังสือ และ ความรู้ที่เกิดขึ้นในการประชุม บางเรื่องยังไม่มีหนังสือเล่มไหนตีพิมพ์ออกมา

              วันนี้ได้นั่งใกล้ปรมาจารย์หลายคนด้านวิชาการ ด้านการเคลือนไหวทางสังคม ที่สำคัญได้แลกเปลี่ยนมุมมองในการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนสื่อเพื่อเด็ก ทำให้เราได้เรียนรู้มุมมองที่กว้างและยาวมากขึ้น

             ย้อนอดีตไปสัก ๒ ปีก่อน เพราะวิทยานิพนธ์กำหนดชะตาชีวิต เราจึงต้องนั่งอ่านหนังสือ และอาจารย์แหวว (รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร) สอนให้เรารู้ว่า การเรียนรู้ที่ดีที่สุด ก็คือ การเรียนรู้นอกห้องเรียน จาก ครูที่มีชื่อว่า เครือข่ายสังคม วันนั้น ยังไม่ค่อยเข้าใจนักถึง กระบวนการการเรียนรู้นอกตำรา และ ห้องเรียน แต่เพราะต่อมาต้องทำงานกับการแสวงความรู้จากหนังสือที่มีชีวิต ก็คือ ผู้คนในสังคม ทำให้เรานึกสนุกกับการจัดกลุ่มควารู้ที่เราได้เรียนรู้มาจากที่ต่างๆ อันนี้เองกระมัง ที่คนอื่นๆเรียกว่า การสังเคราะห์และประมวลผลงานความรู้

            ย้อนอดีตไปอีก ๓ ปี เรายังอยู่ในสภาวะของการทำงานตามใจ ไม่ได้นึกรักในองค์ความรู้ ไม่ได้สนใจที่จะแสวงหาความรู้นอกห้องเรียน รู้แค่ว่า อ่านหนังสือในตำราก็เพียงพอ ซึ่งเราในวันนี้ หากทำงานแบบในอดีตเมื่อ ๕ ปีก่อน นึกไม่ออกเหมือนกันว่า เราจะมีโอกาสในการทำงานในฐานะเจ้าของโครงการ ที่จะเข้ามาทำงานให้กับสังคมได้อย่างไร นึกเล่นๆว่า ถ้าวันนี้เรายังไม่รักที่จะเรียนรู้ความรู้ จากสังคม เราจะเป็นอย่างไร

       อาจารย์แหววมักจะส่งเราไปประชุมในงานต่างๆแรกๆก็รู้สึกขี้เกียจ ไม่อยากไป แต่จำใจไป แต่พอได้ไป เราเร่มมีความรู้ในสิ่งที่ทุกคนกำลังสนใจ เร่มค้นคว้าความรู้เพื่อจะอามาตอบคนอื่น โดยเฉพาะอาจารย์แหวว ที่จะตั้งโจทย์ในการไปประชุมทุกครั้ง การบ้านของเราก็คือ กลับมาเล่า และสรุปให้ฟังทกครั้ง เท่ากับว่า เราต้องตั้งใจประชุมทุกครั้ง และในเวลาที่อาจารย์แหววเข้าประชุมด้วย  เราจะพบว่า อาจารย์แหววจะลุกขึ้นมาจับประเด็นและสังเคราะห์ประเด็นในที่ประชุม เราจึงเห็งานจากการประชุมที่ก้าวขาทำงานต่อได้เลย

        วันนี้ ก็พยายามทำตามต้นแบบ แบบครูพักลักจำเอาเองบ้าง ได้รับการสอนจากอาจารย์แหววบ้าง คิดเองบ้าง

       ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า วันนี้ เรามักสนุกกับการนังฟังคนอื่นอธิบายความรู้ เรานึกสนุกกับการจับประเด็น การวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู ทำให้หลายๆคนเร่มฟังเรา เร่มที่จะสนใจในส่งที่เราคิด จากแต่ก่อน ใครๆก็ไม่รู้จัก ใครๆก็ไม่สนใจ

       อันนี้เองกระมังที่เรียกว่า ความสนใจที่เรียนรู้ความรู้ ไม่รังเกียจหรือผัดผ่อนที่จะเรียนรู้ วันนี้และต่อไป เราจึงกระโจนลงไปในที่ต่างๆที่ความรู้จะตกหล่นและฟุ้งกระจาย

        ใครอยากเป็นแบบเราในวันนี้ ลองทดลองที่จะรักที่จะเรียนรู้ดูสิ ........ 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 33075เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2006 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แวะมาคุยให้น้องๆ ที่ มธ.ฟังบ้างก็ดี

 

หนูน่ะ..จับประเด็นได้นะ

แต่เรื่องวิเคราะห์-สังเคราะห์.. ยังไม่ได้เรื่องเลย

สอนมั่งดิ

นั่นสิ  การจับประเด็นจากผู้บรรยาย หรือผู้พูด  เมื่อได้ยินและรับฟัง  เราจะต้องฝึกส่วนในของสมองในการฟังบ้าง 

และถ้าในขณะที่เรารับฟัง แต่สมาธิในการฟังขณะนั้นไม่นิ่ง  แต่เราต้องสานต่อการฟังให้อยู่นิ่งเพื่อที่จะฟังและนำมาคิดต่ออย่างไร

ถ้ามีการสื่อสอน  การจับประเด็น  ก่อนมาสังเคราห์  บอกด้วยนะครับบบบบ

ต่อ..ครับ

อย่างไร ก็ต้องรบกวนท่านอาจารย์พี่โก๋ด้วยนะครับ  ที่จะช่วยสอนหรือแนะแนวทาง  ผ่านทาง gotoknow  นี้ก็ได้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท