หลักสูตรใหม่ กศน.ใช้ระบบหน่วยกิตไม่จำกัดปีจบ


โครงสร้างของหลักสูตรใหม่ กศน.

หลักสูตรใหม่ กศน.ใช้ระบบหน่วยกิตไม่จำกัดปีจบ

         ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดทำหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า  ขณะนี้คณะทำงานกำลังวางระบบการจัดทำหลักสูตรดังกล่าวอยู่ โดยในหลักการจะใช้มาตรฐานหลักสูตรในทิศทางเดียวกับการศึกษาในระบบซึ่งมีความเข้มข้นพอ ๆ กัน โดยแบ่งเป็น

  • ระดับก่อนประถมศึกษา
  • ประถมศึกษา
  • มัธยมศึกษาตอนต้น
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย

ส่วนวิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดตามระบบของ กศน. โดยมีหัวใจอยู่ที่ความเชื่อว่าผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ติดตัวมา สามารถนำความรู้และประสบการณ์มาเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตร กศน.ได้ เพราะฉะนั้นแนวโน้มหลักสูตรใหม่ของกศน. คือ จะใช้ระบบหน่วยกิต ซึ่งจะไม่กำหนดว่าต้องเรียนกี่ปีจึงจะจบหลักสูตรแต่ละระดับ เพราะผู้เรียนมีทุนเดิมมาไม่เท่ากัน

ดร.ชัยยศ กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงสร้างของหลักสูตรใหม่ในเบื้องต้นแต่ละระดับจะมีด้วยกัน 5 หมวด ได้แก่

  • หมวดทักษะการเรียนรู้
  • หมวดความรู้พื้นฐาน
  • หมวดพัฒนาอาชีพ
  • หมวดพัฒนาคุณภาพชีวิต
  • หมวดพัฒนาสังคม

ซึ่งแต่ละหมวดจะมีหน่วยกิตขั้นต่ำที่ต้องเรียน โดยหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่นสามารถจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนได้ โดยผู้เรียนต้องวางแผนอนาคตของตนเองก่อนว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร เช่น ถ้าต้องการเรียนต่อมหาวิทยาลัยก็ต้องลงเรียนในหมวดความรู้พื้นฐานมากหน่อย แต่ถ้าต้องการประกอบอาชีพก็เลือกหมวดพัฒนาอาชีพเป็นหลัก เป็นต้น ทั้งนี้หลักสูตร กศน.ใหม่ดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้ได้ทันปีการศึกษา 2552
 
“ทุกวันนี้ กศน.ใช้หลักสูตรการศึกษาพื้นฐานอยู่ แต่เมื่อประเมินแล้ว ปรากฏว่าผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ครบ ตามหลักสูตร แต่ไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องปรับเนื้อหาหลักสูตรกันใหม่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตผู้เรียนมากขึ้น โดยเมื่อนำหลักสูตรใหม่มาใช้แล้ว ต่อไปผู้เรียน กศน.จะต้องใช้ชีวิตเหมือนกับคนเรียนรามฯ ที่ต้องมีการวางแผนวางเป้าหมายของชีวิตก่อน ซึ่งครู กศน.จะต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะต้องช่วยนักศึกษาวางแผนการเรียนเป็นรายบุคคล” ผู้เชี่ยวชาญฯ กศน.กล่าว และว่าการใช้หลักสูตรใหม่ของ กศน.อาจจะส่งผลกระทบ  ต่อจำนวนผู้เรียนได้ แต่ต้องยอมรับว่าเรื่องนี้เป็นการสู้กันระหว่างปริมาณกับคุณภาพ ดังนั้นในระยะแรกเราคงต้องเน้นเรื่องคุณภาพก่อน เมื่อเรื่องของคุณภาพอยู่ตัวแล้วเรื่องปริมาณก็คงไม่ใช่เรื่องยาก.

 

หมายเลขบันทึก: 330652เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เกี่ยวกับ หลักสูตรใหม่ กศน.ใช้ระบบหน่วยกิตไม่จำกัดปีจบ ขอบคุณครู ศรช.ที่รัก ที่ฝากเรื่องดีดีมาให้อ่าน.../ปุนยิ

ถ้าอ่านแล้วยังไม่เข้าใจตรงใหน ก็สอบถามมาได้อีกนะคะคุณปุนยิ****napaty

บังเอิญไปอ่านเจอที่ www. tee nee.com แล้วชอบมากขออนุญาตนำมาบอกต่อ ขอบคุณteenee.com มากค่ะ

“ ตายแล้วไม่สูญ ” และ “ ตายแล้วไปไหน ” นี้ไม่น่าจะเป็นข้องใจของท่านเลยเพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วอย่างละเอียดว่าเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ทางที่ไปก็มี 5 สาย คือ

• อบายภูมิ ได้แก่ เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย และเป็นสัตว์เดรัจฉาน

• เกิดเป็นมนุษย์

• เกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้าอยู่บนสวรรค์

• เกิดเป็นพรหม

• ไปพระนิพพาน

ท่านที่ตายแล้วจะไปเกิดที่ใด พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกเหตุที่จะไปเกิดไว้ครบถ้วนตามกฎของกรรม คือการกระทำ ได้แก่ความประพฤติดีหรือชั่ว ในสมัยที่เกิดเป็นมนุษย์นี้เอง กฎของกรรมหรือความประพฤติดีหรือชั่ว ที่จะพาไปเกิดในที่ใดที่หนึ่งตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ 5 ทางนั้น ท่านว่าไว้อย่างนี้

แดนที่เกิดสายที่หนึ่งที่เรียกว่า อบายภูมิ

แดนที่เกิดสายที่หนึ่ง ที่เรียกว่า อบายภูมิ มีนรกเป็นต้นนั้นเป็นผลจากความประพฤติชั่ว คือก่อกรรมทำเข็ญในสิ่งที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่คนและสัตว์ ท่านจัดกฎใหญ่ ๆ ไว้ ๕ ประการ

• เป็นคนที่ใจ โหดร้าย ชอบข่มเหงรังแก เบียดเบียนคนและสัตว์ให้ได้รับความเดือดร้อน โดยเข้าใจผิดคิดว่า เป็นความดีหมายถึงละเมิดศีลข้อที่ ๑

• มือไว ชอบลักขโมยของที่เจ้าของยังไม่อนุญาต หรือฉ้อโกง เอาทรัพย์สินของคนอื่นด้วยเล่ห์กลโกง หมายถึง ละเมิดศีลข้อที่ ๒

• ใจเร็ว ได้แก่มีจิตใจไม่เคารพในความรักของคนอื่นชอบลอบทำชู้ ภรรยา และธิดา สามีของคนอื่น ด้วยความมัวเมาในกามคุณ หมายถึง ละเมิดศีลข้อที่ ๓

• พูดปด ได้แก่ พูดไม่ตรงต่อความเป็นจริง เพื่อหวังทำลายประโยชน์ของผู้อื่นโดยเจตนา หมายถึง ละเมิดศีลข้อที่ ๔

• ชอบทำตนให้เป็นคน หมดสติ ด้วยการย้อมใจให้หมดความรู้สึกในการรับผิดชอบด้วยน้ำเมา หมายถึง การละเมิดศีลข้อที่ ๕

กรรม คือ ความประพฤติในกฎ ๕ ประการนี้ ท่านว่าตายจากความเป็นคนแล้วไปสู่อบายภูมิ มีตกนรก เป็นต้น

แดนเกิดสายที่สองคือเกิดเป็นมนุษย์

แดนเกิดสายที่สอง คือเกิดเป็นมนุษย์ ท่านว่าคนที่ตายแล้วจะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้ ต้องมีกรรมบถ ๑๐ หรือที่รู้กันง่าย ๆ ก็คือ เป็นคนมีศีล ๕ ประจำได้แก่

• เป็นคนมีเมตตาปราณี ไม่รังแกข่มเหงทำร้ายใครไม่ว่าคนหรือสัตว์ มีความรัก เมตตาปรานีคนสัตว์เสมอด้วยรักตนเอง

• ไม่มือไว คือเคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ยอมถือเอาทรัพย์สินของใครมาเป็นของตน ในเมื่อเจ้าของไม่อนุญาตด้วยความเต็มใจ

• ไม่ใจเร็ว ละเมิดความรักในบุตร ธิดา ภรรยา สามีของบุคคลอื่น

• ไม่เป็นคนไร้สัจจะ พูดแต่เรื่องที่เป็นสาระตรงต่อความเป็นจริง

• ทำตนให้เป็นคนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ คือ เป็นคนมีอารมณ์รับรู้ความดี ความชั่วตามกฎของกรรม ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยด้วยน้ำเมาต่าง ๆ

ท่านที่ทรงความดี ๕ อย่างนี้ ท่านว่าตายจากความเป็นคนแล้ว มีสิทธิ์กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ได้

แดนเกิดที่สายที่สาม ได้แก่ สวรรค์

แดนเกิดสายที่สาม ได้แก่ สวรรค์ อาการที่ทำให้คนเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าบนสวรรค์ ท่านบรรยายไว้มาก แต่เมื่อสรุปกล่าวโดยย่อมี ๒ อย่างคือ

• เป็นคนมีความละอายต่อความชั่ว ไม่ยอมทำชั่วในที่ทุกสถาน

• เกรงผลของชั่ว จะทำให้เกิดความเดือดร้อน

เหตุ ๒ ประการนี้ เป็นผลทำให้ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้า

แดนเกิดสายที่สี่ได้แก่ พรหมโลก

แดนที่เกิดสายที่สี่ ได้แก่ พรหมโลก พรหมกับเทวดามีดินแดนที่เกิดเป็นคนละแดนกัน พรหมท่านว่าศักดิ์สิทธิ์ดีกว่าเทวดาและมีชั้นภูมิสูงกว่า มีอำนาจมากกว่า มีความสุขดีกว่า ความสวยสดงดงามดีกว่าเทวดา แต่พรหมไม่มีเพศ คือ ไม่มีเพศหญิงหรือเพศชาย ทั้งนี้เพราะพรหมไม่มีการครองคู่ ท่านว่ามีความสุขสงบสงัด ท่านที่จะเป็นพรหมได้ ท่านว่าต้องเป็นนักกรรมฐาน และมีอารมณ์จิตสุดท้ายก่อนตาย อารมณ์จิตเป็นฌานที่เรียกว่าเข้าฌานตาย

แดนเกิดสายที่ห้า ได้แก่ พระนิพพาน

แดนเกิดสายที่ห้าได้แก่ พระนิพพาน แดนนี้เป็นเขตที่รู้เรื่องกันยากมาก เพราะนักปราชญ์สมัยนี้ถือว่า “ นิพพานสูญ ” กันเป็นประเพณีไปแล้ว ขอบอกไว้ย่อ ๆ ว่า คนที่จะถึงพระนิพพานได้นั้น ต้องมีความบริสุทธิ์ ๑๐ อย่างคือ

• ไม่เมาในตนเองหรือวัตถุต่าง ๆ ที่คิดวาเป็นสมบัติของตน รู้เสมอว่าจะต้องตายและพลัดพรากจากของรักของชอบแน่นอน ไม่มีอะไรที่ห้ามความตายและความพลัดพรากได้ ทำจิตใจเป็นปกติเมื่อความตายมาถึงหรือเมื่อต้องพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรัก

• ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนตามความเป็นจริง ทุกอย่างในโลกนี้ไม่ว่าสิ่งที่มีชีวิตต้องทำลายตนเองลงไปในเมื่อกาลเวลามาถึง ไม่มีอะไรทรงสภาพเป็นปกติอยู่ได้ ใครทำความดี ความดีก็คุ้มครองให้มีความสุขใจ ใครทำชั่ว ความชั่วจะบันดาลความเดือดร้อนให้ แม้ผู้อื่นยังไม่ลงโทษ ตนเองก็มีความหวาดสะดุ้งเป็นปกติ

• รักษาศีลมั่นคง ดำรงจิตอยู่ในศีลเป็นปกติ

• ทำลายความใคร่ในกามารมณ์ให้สิ้นไปจากใจ ด้วยอำนาจความรู้ถึงความจริง ว่าความรักเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ภัยอันตรายที่มีขึ้นแกตน เพราะอาศัยความรักเป็นเหตุ

• มีจิตใจเต็มไปด้วยความเตตาปรานี ไม่โกรธ ไม่จองล้างจองผลาญ คิดทำอันตรายใคร ไม่ว่าใครจะแสดงอาการอย่างไร จิตก็ไม่คลายจากความเมตตา

• ไม่มัวเมาในรูปฌาน โดยคิดว่าการที่ตนทรงรูปฌานได้นี้ เป็นผู้ถึงที่สุดของความดี เมาฌานจนไม่สนใจความดีที่ตนยังไม่ได้

• ไม่มัวเมาในอรูปฌาน โดยคิดว่าความดีเพียงเท่านี้ยังไม่เป็นทางสิ้นทุกข์

• มีอารมณ์เป็นปกติ ไม่คิดถึงเรื่องอารมณ์เหลวไหล มีจิตใจเต็มไปด้วยความหวังดี ไม่ว่าต่อคนหรือสัตว์ ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่

• ไม่ถือตน ทะนงตน ว่าดีเลิศประเสริฐกว่าใคร มีอารมณ์ใจเป็นปกติ เห็นคน สัตว์ ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของธรรมดาที่จะต้องตาย จะต้องสลายไป และมีอารมณ์ไม่หวั่นไหวเมื่อเข้าสังคมสมาคมใด ๆ มีอาการเป็นเสมือนว่าสังคมนั้นสมาคมนั้น ๆ เป็นกลุ่มของคนที่ต้องตาย ไม่ทำตัวใหญ่หรือเล็กจนน่าเกลียด ทำตนพอเหมาะพอสมควรแก่สมาคมนั้น ๆ เรื่องของเขา เขาจะดีจะชั่วก็ต้องของเขา เราช่วยได้ก็ช่วย ช่วยไม่ได้ก็เฉยไว้ ไม่สนใจที่จะไปเบ่งบารมีทับใคร

• ตัดความรัก ความพอใจในโลกีย์วิสัยให้หมด งดอารมณ์อยากดีอยากเด่น ทำอารมณ์เป็นพระพุทธ ในพระอุโบสถ พระพุทธท่านยิ้มเสมอ ท่านที่จะถึงพระนิพพานต้องยิ้มได้อย่างพระพุทธ ใครจะดีจะชั่วก็ยิ้ม เพราะเห็นเป็นของธรรมดามันหนีไม่ได้ไล่ไม่พ้น

เมื่อยังมีตัวตนเป็นคนมันก็ต้องพบอาการอย่างนี้ อยู่ก็สบายใจ ความตายจะมาถึงก็ไม่สะดุ้งหวาดกลัวเพราะรู้ตัวอยู่เสมอว่าจะต้องตาย มีอารมณ์ในปกติ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่ผูกพัน ทรัพย์สินหรือสัตว์หรือบุคคลอื่น เท่านี้ก็ไปพระนิพพานได้

ขอบคุณลานธรรมจักร

บังเอิญไปอ่านเจอที่ www. tee nee.com แล้วชอบมากขออนุญาตนำมาบอกต่อ ขอบคุณteenee.com มากค่ะ

“ ตายแล้วไม่สูญ ” และ “ ตายแล้วไปไหน ” นี้ไม่น่าจะเป็นข้องใจของท่านเลยเพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วอย่างละเอียดว่าเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ทางที่ไปก็มี 5 สาย คือ

• อบายภูมิ ได้แก่ เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย และเป็นสัตว์เดรัจฉาน

• เกิดเป็นมนุษย์

• เกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้าอยู่บนสวรรค์

• เกิดเป็นพรหม

• ไปพระนิพพาน

ท่านที่ตายแล้วจะไปเกิดที่ใด พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกเหตุที่จะไปเกิดไว้ครบถ้วนตามกฎของกรรม คือการกระทำ ได้แก่ความประพฤติดีหรือชั่ว ในสมัยที่เกิดเป็นมนุษย์นี้เอง กฎของกรรมหรือความประพฤติดีหรือชั่ว ที่จะพาไปเกิดในที่ใดที่หนึ่งตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ 5 ทางนั้น ท่านว่าไว้อย่างนี้

แดนที่เกิดสายที่หนึ่งที่เรียกว่า อบายภูมิ

แดนที่เกิดสายที่หนึ่ง ที่เรียกว่า อบายภูมิ มีนรกเป็นต้นนั้นเป็นผลจากความประพฤติชั่ว คือก่อกรรมทำเข็ญในสิ่งที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่คนและสัตว์ ท่านจัดกฎใหญ่ ๆ ไว้ ๕ ประการ

• เป็นคนที่ใจ โหดร้าย ชอบข่มเหงรังแก เบียดเบียนคนและสัตว์ให้ได้รับความเดือดร้อน โดยเข้าใจผิดคิดว่า เป็นความดีหมายถึงละเมิดศีลข้อที่ ๑

• มือไว ชอบลักขโมยของที่เจ้าของยังไม่อนุญาต หรือฉ้อโกง เอาทรัพย์สินของคนอื่นด้วยเล่ห์กลโกง หมายถึง ละเมิดศีลข้อที่ ๒

• ใจเร็ว ได้แก่มีจิตใจไม่เคารพในความรักของคนอื่นชอบลอบทำชู้ ภรรยา และธิดา สามีของคนอื่น ด้วยความมัวเมาในกามคุณ หมายถึง ละเมิดศีลข้อที่ ๓

• พูดปด ได้แก่ พูดไม่ตรงต่อความเป็นจริง เพื่อหวังทำลายประโยชน์ของผู้อื่นโดยเจตนา หมายถึง ละเมิดศีลข้อที่ ๔

• ชอบทำตนให้เป็นคน หมดสติ ด้วยการย้อมใจให้หมดความรู้สึกในการรับผิดชอบด้วยน้ำเมา หมายถึง การละเมิดศีลข้อที่ ๕

กรรม คือ ความประพฤติในกฎ ๕ ประการนี้ ท่านว่าตายจากความเป็นคนแล้วไปสู่อบายภูมิ มีตกนรก เป็นต้น

แดนเกิดสายที่สองคือเกิดเป็นมนุษย์

แดนเกิดสายที่สอง คือเกิดเป็นมนุษย์ ท่านว่าคนที่ตายแล้วจะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้ ต้องมีกรรมบถ ๑๐ หรือที่รู้กันง่าย ๆ ก็คือ เป็นคนมีศีล ๕ ประจำได้แก่

• เป็นคนมีเมตตาปราณี ไม่รังแกข่มเหงทำร้ายใครไม่ว่าคนหรือสัตว์ มีความรัก เมตตาปรานีคนสัตว์เสมอด้วยรักตนเอง

• ไม่มือไว คือเคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ยอมถือเอาทรัพย์สินของใครมาเป็นของตน ในเมื่อเจ้าของไม่อนุญาตด้วยความเต็มใจ

• ไม่ใจเร็ว ละเมิดความรักในบุตร ธิดา ภรรยา สามีของบุคคลอื่น

• ไม่เป็นคนไร้สัจจะ พูดแต่เรื่องที่เป็นสาระตรงต่อความเป็นจริง

• ทำตนให้เป็นคนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ คือ เป็นคนมีอารมณ์รับรู้ความดี ความชั่วตามกฎของกรรม ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยด้วยน้ำเมาต่าง ๆ

ท่านที่ทรงความดี ๕ อย่างนี้ ท่านว่าตายจากความเป็นคนแล้ว มีสิทธิ์กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ได้

แดนเกิดที่สายที่สาม ได้แก่ สวรรค์

แดนเกิดสายที่สาม ได้แก่ สวรรค์ อาการที่ทำให้คนเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าบนสวรรค์ ท่านบรรยายไว้มาก แต่เมื่อสรุปกล่าวโดยย่อมี ๒ อย่างคือ

• เป็นคนมีความละอายต่อความชั่ว ไม่ยอมทำชั่วในที่ทุกสถาน

• เกรงผลของชั่ว จะทำให้เกิดความเดือดร้อน

เหตุ ๒ ประการนี้ เป็นผลทำให้ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้า

แดนเกิดสายที่สี่ได้แก่ พรหมโลก

แดนที่เกิดสายที่สี่ ได้แก่ พรหมโลก พรหมกับเทวดามีดินแดนที่เกิดเป็นคนละแดนกัน พรหมท่านว่าศักดิ์สิทธิ์ดีกว่าเทวดาและมีชั้นภูมิสูงกว่า มีอำนาจมากกว่า มีความสุขดีกว่า ความสวยสดงดงามดีกว่าเทวดา แต่พรหมไม่มีเพศ คือ ไม่มีเพศหญิงหรือเพศชาย ทั้งนี้เพราะพรหมไม่มีการครองคู่ ท่านว่ามีความสุขสงบสงัด ท่านที่จะเป็นพรหมได้ ท่านว่าต้องเป็นนักกรรมฐาน และมีอารมณ์จิตสุดท้ายก่อนตาย อารมณ์จิตเป็นฌานที่เรียกว่าเข้าฌานตาย

แดนเกิดสายที่ห้า ได้แก่ พระนิพพาน

แดนเกิดสายที่ห้าได้แก่ พระนิพพาน แดนนี้เป็นเขตที่รู้เรื่องกันยากมาก เพราะนักปราชญ์สมัยนี้ถือว่า “ นิพพานสูญ ” กันเป็นประเพณีไปแล้ว ขอบอกไว้ย่อ ๆ ว่า คนที่จะถึงพระนิพพานได้นั้น ต้องมีความบริสุทธิ์ ๑๐ อย่างคือ

• ไม่เมาในตนเองหรือวัตถุต่าง ๆ ที่คิดวาเป็นสมบัติของตน รู้เสมอว่าจะต้องตายและพลัดพรากจากของรักของชอบแน่นอน ไม่มีอะไรที่ห้ามความตายและความพลัดพรากได้ ทำจิตใจเป็นปกติเมื่อความตายมาถึงหรือเมื่อต้องพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรัก

• ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนตามความเป็นจริง ทุกอย่างในโลกนี้ไม่ว่าสิ่งที่มีชีวิตต้องทำลายตนเองลงไปในเมื่อกาลเวลามาถึง ไม่มีอะไรทรงสภาพเป็นปกติอยู่ได้ ใครทำความดี ความดีก็คุ้มครองให้มีความสุขใจ ใครทำชั่ว ความชั่วจะบันดาลความเดือดร้อนให้ แม้ผู้อื่นยังไม่ลงโทษ ตนเองก็มีความหวาดสะดุ้งเป็นปกติ

• รักษาศีลมั่นคง ดำรงจิตอยู่ในศีลเป็นปกติ

• ทำลายความใคร่ในกามารมณ์ให้สิ้นไปจากใจ ด้วยอำนาจความรู้ถึงความจริง ว่าความรักเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ภัยอันตรายที่มีขึ้นแกตน เพราะอาศัยความรักเป็นเหตุ

• มีจิตใจเต็มไปด้วยความเตตาปรานี ไม่โกรธ ไม่จองล้างจองผลาญ คิดทำอันตรายใคร ไม่ว่าใครจะแสดงอาการอย่างไร จิตก็ไม่คลายจากความเมตตา

• ไม่มัวเมาในรูปฌาน โดยคิดว่าการที่ตนทรงรูปฌานได้นี้ เป็นผู้ถึงที่สุดของความดี เมาฌานจนไม่สนใจความดีที่ตนยังไม่ได้

• ไม่มัวเมาในอรูปฌาน โดยคิดว่าความดีเพียงเท่านี้ยังไม่เป็นทางสิ้นทุกข์

• มีอารมณ์เป็นปกติ ไม่คิดถึงเรื่องอารมณ์เหลวไหล มีจิตใจเต็มไปด้วยความหวังดี ไม่ว่าต่อคนหรือสัตว์ ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่

• ไม่ถือตน ทะนงตน ว่าดีเลิศประเสริฐกว่าใคร มีอารมณ์ใจเป็นปกติ เห็นคน สัตว์ ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของธรรมดาที่จะต้องตาย จะต้องสลายไป และมีอารมณ์ไม่หวั่นไหวเมื่อเข้าสังคมสมาคมใด ๆ มีอาการเป็นเสมือนว่าสังคมนั้นสมาคมนั้น ๆ เป็นกลุ่มของคนที่ต้องตาย ไม่ทำตัวใหญ่หรือเล็กจนน่าเกลียด ทำตนพอเหมาะพอสมควรแก่สมาคมนั้น ๆ เรื่องของเขา เขาจะดีจะชั่วก็ต้องของเขา เราช่วยได้ก็ช่วย ช่วยไม่ได้ก็เฉยไว้ ไม่สนใจที่จะไปเบ่งบารมีทับใคร

• ตัดความรัก ความพอใจในโลกีย์วิสัยให้หมด งดอารมณ์อยากดีอยากเด่น ทำอารมณ์เป็นพระพุทธ ในพระอุโบสถ พระพุทธท่านยิ้มเสมอ ท่านที่จะถึงพระนิพพานต้องยิ้มได้อย่างพระพุทธ ใครจะดีจะชั่วก็ยิ้ม เพราะเห็นเป็นของธรรมดามันหนีไม่ได้ไล่ไม่พ้น

เมื่อยังมีตัวตนเป็นคนมันก็ต้องพบอาการอย่างนี้ อยู่ก็สบายใจ ความตายจะมาถึงก็ไม่สะดุ้งหวาดกลัวเพราะรู้ตัวอยู่เสมอว่าจะต้องตาย มีอารมณ์ในปกติ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่ผูกพัน ทรัพย์สินหรือสัตว์หรือบุคคลอื่น เท่านี้ก็ไปพระนิพพานได้

ขอบคุณลานธรรมจักร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท