สาวภาษาไทย
นางสาว พัชราพร สาวภาษาไทย สุขเผือก

ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยแท้หรือไม่


คำไทย ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต

 สวัสดีค่ะ วันนี้หนูเปิ้ลจะมาพูดเกี่ยวกับภาษาไทยที่เราใช้ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร

       ภาษาไทยที่เราใช้ในปัจจุบัน ไม่ได้มาจากคำไทยแท้ทั้งหมด เพราะคำไทยแท้เป็นคำโดด คือ มีความหมายชัดเจนตรงตัว เช่น คำว่า พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น และอีกอย่างก็คือคำไทยแท้มีน้อย เราจึงต้องรับคำจากภาษาอื่นมาใช้ เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาจีน ภาษามลายู เป็นต้น โดยส่วนมากที่เรารับมาใช้จะเป็นคำในภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมากที่สุด รองลงมาคือคำในภาษาเขมร นั่นเอง คนส่วนใหญ่คิดว่าภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นภาษาเดียวกัน อาจเป็นเพราะว่าคนส่วนใหญ่มักเอ่ยชื่อภาษาทั้งสองนี้คู่กันเสมอว่า "ภาษาบาลี-สันสกฤต" นอกจากนี้แล้ว ทั้งภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตต่างก็เป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาอารยันอินเดียด้วยกัน มีโครงสร้างหลักทางไวยากรณ์ใกล้เคียงกัน ใช้จารึกบทสวดและคำสอนทางศาสนาเช่นเดียวกันและในปัจจุบันก็เป็นภาษาที่ตายแล้วเหมือนกัน แท้จริงแล้วเป็นคนละภาษากัน คำเหล่านี้ส่วนมากพบในคำราชาศัพท์

      เราสามารถสังเกตคำต่างๆว่าเป็นคำไทยแท้ได้ โดยดูจาก คำนั้นต้องเป็นคำโดดมีความหมายตรงตัวชัดเจน เช่น ข้าว ยา แดง ดำ เป็นต้น

      การสังเกตคำที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤตอย่างง่ายๆ คือ ดูจากชื่อ เช่น ศิวพร ธานินทร์ อนุชิต โสภณ เป็นต้น แม้แต่นามสกุลก็ยังมีการรับคำภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ เช่น มาลากุล บุณยรัตเวช ไกรฤกษ์ เป็นต้น

       ดังนั้น คำที่ใช้ในภาษาไทยปัจจุบัน ไม่ใช่คำไทยแท้ทั้งหมด เรารับเอาคำในภาษาอื่นมาใช้ด้วย ถ้าใครอยากรู้หรือสงสัยว่า ชื่อของตนเป็นภาษาไทยแท้หรือไม่ เราสามารถหาได้โดยวิธีง่ายๆคือ เปิดพจนานุกรม หรือ เปิดดูจากหนังสือไวยากรณ์ ก็ได้

  เอาไว้คราวหน้าหนูเปิ้ลจะมาต่อยอดความรู้ต่อนะคะ หากมีผิดพลาดประการใดช่วยติชมมาด้วยนะคะ หนูจะได้นำความผิดพลาดนั้นกลับมาแก้ไข

  สุดท้ายนี้หนูขอขอบคุณ คุณครูพิสูจน์  ใจเที่ยงกุล และ อาจารย์ผู้สอนทุกท่านที่ได้มอบความรู้ต่างๆเกี่ยวกับภาษาให้กับหนู  หนูจะตั้งใจศึกษาหาความรู้ และนำความรู้ที่ได้กลับมาพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญ...

หมายเลขบันทึก: 329011เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2010 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท