หลังจากที่ "ทีมจับภาพ" ของสคส.
ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมกิจกรรมการจัดการความรู้
ในสถาบันบำราศนราดูรเมื่อประมาณต้นเดือนที่ผ่านมา
ได้มีการสรุปภาพรวมของการจัดการความรู้ทั้งหมดลงในเอกสาร
แต่ไม่ได้นำมาลงในบล็อกด้วยเหตุผลบางการ แต่ทั้งนี้ทีมจับภาพฯ
ก็ได้มีการติดต่อกับสถาบันบำราศนราดูรทางหลังบ้าน (e-mail)
เนื่องจากคุณศุภลักษณ์ หัวหน้าห้องผ่าตัดขอให้ทีมจับภาพช่วย AAR
ให้ฟังหน่อยว่าKM ในห้องผ่าตัดที่เรามองเห็นนั้นเป็นอย่างไร
ซึ่งนับเป็นแบบอย่างที่ดีของการเป็น "เจ้าบ้าน" และเป็นผู้ให้ที่ดี
เมื่อมีคนมาดูงานก็มีเป้าหมายของตนเองเช่นกันว่าผู้ที่เป็นเจ้าบ้านก็ควรได้อะไร
(ความรู้) ติดมือกลับมาบ้างเช่นกัน
จึงขอนำเบื้องหลังการคุยกันหลังบ้านระหว่าง คุณศุภลักษณ์ และ
ทีมจับภาพ (น้ำ +จ๋า)
มาให้อ่านกันค่ะว่าหลังจากเราไปจับภาพแล้วเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น
|
|
From: "ktasila janjira" <[email protected]>
To:
[email protected]
Subject: เรียนคุณ ศุภลักษณ์ Date: Mon, 22 May 2006 03:19:33
+0000
เรียน คุณศุภลักณ์ หิริวัฒนวงศ์
หลังจากที่ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมกิจกรรมคุณภาพของห้องผ่าตัดแล้ว
ทีมจับภาพ มีความเห็นเช่นนี้ค่ะ
ซึ่งก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่า
ทีมเราจะต่างจากทีมประเมิณคุณภาพโรงพยาบาล
และไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
ซึ่งประเด็นนี้ขอมองเฉพาะในฐานะผู้รับบริการ
แต่ทีมเราจะเน้นที่กระบวนการการจัดการความรู้ โดยตรงค่ะ
สิ่งที่ทีมห้องผ่าตัดกำลังทำอยู่นั้นเราเห็นคุณค่าทุกขั้นตอนและแทบจะไม่มีข้อติเลย
ค่ะ ตั้งแต่เริ่มกิจกรรมมีการให้นั่งสมาธิ
การสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง
เห็นวัฒนธรรมของคนชุดเขียวที่เปิดใจ
(ไม่แน่ใจว่าจริงแล้วมีอะไรในใจกันมากกว่านี้หรือไม่
เพราะสังเกตเห็นตอนที่มีเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งบอกว่าพบรองเท้า
จอดอยู่
แต่ไม่เห็นมีใครยกมือรับผิดชอบหรือขอโทษต่อหน้าเพื่อนค่ะ)
คำถามที่ใช้กระตุ้นคำตอบ เช่น เกิดความผิดพลาดอะไรไหม
ซึ่งเป็นการทบทวนเพื่อไม่ให้เกิดความผิดซ้ำ แต่อย่างไรก็ตาม
ในแนวทางของการทำการจัดการความรู้ซึ่งมีทิศทางต่างออกไป
แต่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ไม่แพ้กันคือ
"การเรียนรู้จากความสำเร็จ"
ใครทำได้ดีวันนั้น ลองทำอะไรแล้วได้ผลดี (เล็กๆ น้อยๆ
ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่) นำมาเล่าให้ฟัง
ซึ่งดิฉันคิดว่าแม้ในวงตอนเช้าที่เราไปจะไม่ได้เห็น
แต่เชื่อว่าคงมีบ้างใช่ไหมค่ะ
การจดบันทึกความรู้ และความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง
เห็นความละเอียดละออ
แต่จะดีมากยิ่งขึ้นหากมีการนำมาทบทวนแล้วทำซ้ำ
ปรับปรุงให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
ที่สำคัญเห็นคลังความรู้ที่อยู่ในรูปของไฟล์เสียงและภาพก็เชื่อว่าทีมนี้เน้นเรื่องของการเรียนรู้จริงค่ะ
และทั้งคลังความรู้ที่อยู่ในสมุดและคลังความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของไฟล์ภาพและเสียงได้ไปอยู่ในอินทราเน็ต
หรืออินเตอร์เน็ต
เพื่อให้เกิดการแชร์ความรู้ที่กว้างขวางหลากหลายมากขึ้นน่าจะดี
สรุปรวมแล้วไม่มีอะไรน่าหนักใจค่ะ
หนักใจก็แต่ภาระงานที่มีมากอยู่แล้ว
จะทำอย่างไรที่เราจะทำให้การเรียนรู้ก่อให้เกิดการพัฒนาในเนื้องานได้
เป็นสิ่งที่ท้าทาย เพราะการเรียนรู้ รับรู้
เพียงอย่างเดียวคงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใช่ไหมค่ะ
ขอให้มีกำลังใจในการเรียรู้ เพื่อการพัฒนาต่อไปน่ะ ค่ะ จิราวรรณ เศลารัก (น้ำ
)
+++++
ต่อจากนี้เป็นความคิดเห็นของ
คุณฉันทลักษณ์ อาจหาญ (จ๋า) ค่ะ
การที่ผู้นำการประชุมสรุปผลการประชุมให้อีกครั้ง
เพื่อสร้างความเข้าใจของทีมงานให้ตรงกัน
และผู้บันทึกจะได้จดรายละเอียดของการประชุมให้ครบถ้วน
ดิฉันเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับกรณีของผู้ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด
และการที่มีการแก้ไขข้อความในสมุดสรุปการประชุมทุกครั้งก็เป็นเรื่องดีคะ
ควรจะทำทุกครั้งน่าจะดี และการสรุปประชุมทุกครั้งถ้าจัดเก็บอยู่ในรูป
CD
หรือ Online ได้คงจะดี (อาจจะonline เฉพาะในหน่อยงานก็พอ)
เพื่อความสะดวกในการเผยแพร่
ในการประชุมมีการให้คนที่ปฏิบัติงานจริงเป็นคนรายงานการประชุม
ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
มีการช่วยกันระดมความคิดของเจ้าหน้าที่
เพื่อหาทางแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ
โดยทุกคนมีส่วนร่วมระดมความคิด
มีการจัดทำ VCD ช่วยสอน เพื่อใช้ทบทวนความรู้ของนักปฏิบัติ
ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำ 3 เรื่องคือ การใส่สายยางสวนปัสสาวะ
การผ่าตัดกระดูกสันหลัง การผ่าตัดกรวยไต
โดยได้รับความร่วมมือจากแพทย์ในสถาบันเดียวกัน
ถ้ามีการจัดทำในหลายๆ
เรื่องจะจะดีคะ เพื่อประโยชน์แก่ตัวผู้ปฏิบัติเอง
(น่าจะจัดทำมากขึ้น)
การสร้างนวัตกรรม โดยการส่งผลงานเข้าประกวดตั้งปี 46 เช่น
การสร้างเตียงที่มีถังก๊าซออกซิเจนติดอยู่เพื่อช่วยในการทำงานเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
เป็นต้น ข้อนี้ดีแต่รางวัลอาจจะให้เป็นสิ่งอื่นมากกว่าเงินก็ได้
เช่น
ผู้ที่ได้รับรางวัลจะพาไปทำบุญ บริจาคอาหารกลางวันให้แกผูป่วย
คือทำให้เกิดความภาคภูมิใจ
ในการประชุมมีการจดบันทึกทุกครั้งเป็นหลักฐาน
และมีการตรวจสอบความถูกต้องอยู่ตลอดโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง
และเจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถหยิบอ่านได้
มีเจ้าหน้าที่ทดแทนเมื่อเกิดกรณีผู้นำการประชุมติดภารกิจอื่น
มี Blog (www.gotoknow.org/supalukbi )
และควรสนับสนุนให้พนักงานภายในทีมมีความสนใจในการศึกษาข้อมูลหรือมีการแลกเปลี่ยนความรู้ข้ามหน่วยงานเองด้วย
ซึ่งBlog สามารถช่วยได้ ฉันทลักษณ์
อาจหาญ
-------------------------------------------------------------------------------------
ถึงน้องน้ำและน้องจ๊ะจ๋า
ขอบคุณเป็นอันมากสำหรับข้อคิดเห็นในมุมมองของการจัดการความรู้
พี่มองอย่างนี้ค่ะ หากเราสามารถจัดการความรู้ของภายในหน่วยงาน
และดึงออกมาเป็นองค์ความรู้ให้กับทั้งตัวเราและผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างมีคุณภาพแล้ว
แสดงว่าหน่วยงานนั้นมีคุณภาพและมีการพัฒนาคุณภาพของงานอย่างต่อเนื่องโดยอัตโนมัติค่ะ
สำหรับ Blog
ชุมชนคนชุดเขียวนั้นพี่ป็นผู้ริเริ่มก็จริงแต่แนวคิดและวัตถุประสงค์ที่พี่ได้บอกกับสมาชิกทุกคนคือ
อยากให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและบันทึกได้ในเรื่องเกี่ยวกับองค์ความรู้และมุมมองต่าง
ๆ ของตนเอง
นอกจากนี้จากการที่น้อง ๆ ได้มา observe KM ภายในสถาบันฯ
ได้ก่อให้เกิดกระแสและความตื่นตัวเกี่ยวกับ Blog มากมาย
มีการต่อจิ๊กซอว์ KM ให้เห็นเป้นรูปธรรมมากขึ้นแล้วนะคะ
Blog ต่าง ๆ
ได้มีการจัดเข้าสู่ชุมชนใหญ่ของสถาบัน
ดังนั้นในช่วงเวลานี้เราจะมีการพูดคุย
มีการแบ่งปันความรู้ผ่านBlogกัน
ได้รู้จักงานของกันและกันแบ่งปันความรู้กันเป็นที่สนุกสนาน
งานก็ได้คนก็มีความสุข ค่ะ
และสุดท้ายขอบคุณกำลังใจจากคนคอเดียวกัน
และขอให้น้องสุขกับงานเช่นเดียวกันค่ะ
ศุภลักณ์
หิริวัฒนวงศ์
"การจับภาพการจัดการความรู้" เป็นKM อย่างหนึ่ง
ไม่เหมือนกับการดูงานทั่วไปที่นอกจากผู้ไปจับภาพจะได้เรียนรู้แล้ว
ผู้ถูกจับภาพก็ได้เรียนรู้ตนเองเช่นกันว่า มีจุดแข็ง
และจุดอ่อนอย่างไรตรงไหน และจะขยายจุดแข็งพัฒนาจุดอ่อนอย่างไร ฉะนั้น
การจัดการความรู้ จึงไม่ใช่การเรียนรู้ทางเดียวอย่างการไปอบรม
ฟังบรรยายน่ะน่ะ แต่การจัดการความรู้จะต้องมีความรู้สองทาง" การจับภาพ
ไม่มีพิษภัยน่ะค่ะ
|