สัมฤทธิ์ วงศ์หาจักร
สัมฤทธิ์ วงศ์หาจักร สัมฤทธิ์ วงศ์หาจักร

ปัญหาคุณธรรมจริยธรรมการใช้นวัตกรรม


ผู้จัดทำ    นายสัมฤทธิ์    วงศ์หาจักร   เลขที่  ๓   รหัส  ๕๒๑๕๐๖๐๑๑๐๓

นศ. ป.บัณฑิตศึกษาเอกการบริหารการศึกษา   ม.ราชภัฏอุดรธานี

   คติธรรม          เทคโนโลยีก้าวล้ำ...แต่คุณธรรมเสื่อมถอย

นวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรม

นวัตกรรม 10 ประเทศ

จากการศึกษาการวิจัยเรื่อง รูปแบบนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมของต่างประเทศ จำนวน 10 ประเทศ ดำเนินการโดย รศ.ดร.สุรศักดิ์ หลาบมาลาและคุณRose  Makaramani

      โดยการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมของประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน และฟินแลนด์ และพัฒนารูปแบบนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับประเทศไทย โดยพัฒนาจากรูปแบบนวัตกรรมของ 10 ประเทศที่ศึกษา

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. ญี่ปุ่น ประกอบด้วย การส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมในสมัยต่างๆ  การส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมในระดับรัฐบาล การส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมในระดับโรงเรียน และการประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนรู้จริยศึกษาของญี่ปุ่นในประเทศอื่น
  2. สิงคโปร์ ประกอบด้วย การส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมระดับรัฐบาล  และโครงการส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรม  
  3.  เกาหลี ประกอบด้วย การส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมในสมัยต่างๆ  การส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมในระดับโรงเรียน  การฝึกหัดครูและการพัฒนาครูจริยศึกษา และข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรม
  4. ออสเตรเลีย ประกอบด้วย หลักปฏิบัติด้านจริยธรรมสำหรับครู  วิธีสอนค่านิยมในมิติด้านหลักสูตร และการส่งเสริมการเรียนรู้สันติศึกษา
  5. นิวซีแลนด์ ประกอบด้วย การส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมในยุคต่างๆ โครงการเกี่ยวกับค่านิยมศึกษา โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ค่านิยมพื้นฐาน หลักสูตรค่านิยมศึกษา การใช้หลักสูตรค่านิยมศึกษาในโรงเรียน วิธีสอนค่านิยมพื้นฐาน  และข้อสังเกตเกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรม
  6. อังกฤษ ประกอบด้วย การส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  การสอนศาสนศึกษาและจริยศึกษาเป็นวิชาบังคับในสกอตแลนด์  โครงการ Electronic Media and Religion: ELMAR  และ โครงการ Religious Education Exchange Service: RE-XS
  7. เดนมาร์ก ประกอบด้วย การส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมระดับชาติ    การสอน ศาสนศึกษาเป็นวิชาบังคับ  และมุมมองเกี่ยวกับการสอนค่านิยมศึกษาให้เยาวชน
  8. สวิตเซอร์แลนด์ ประกอบด้วย  การส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียน  การเรียนรู้ค่านิยมจากบทเรียนทางอินเตอร์เนตสำหรับเยาวชน การพัฒนาการสอนหน้าที่พลเมืองศึกษาในโรงเรียน และโครงการฝึกหัดการเป็นพลเมือง            
  9. สวีเดน ประกอบด้วย  การสอนศาสนาในโรงเรียนช่วงศตวรรษที่ 19 การเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมในช่วงศตวรรษที่ 20 การส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมแบบประชาธิปไตยโดยให้หลักวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมแบบเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง การใช้เกมคอมพิวเตอร์สอนจริยศึกษา
  10. ฟินแลนด์ ประกอบด้วย การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมในครอบครัว การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมในระดับการศึกษาปฐมวัย  การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมในการศึกษาขั้นพื้นฐาน การเรียนรู้วิชาศาสนาในระดับหลังการศึกษาขั้นพื้นฐาน การเรียนรู้วิชาปรัชญาชีวิต  การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมผ่านทางหนังสือสำหรับเด็ก

ข้อเสนอแนะรูปแบบนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับประเทศไทย

     ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ

  • จัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งระบบให้เป็นการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรม โดยทุกคนในชาติปฏิบัติตนเป็นตัวแบบที่ดีแก่เด็ก พัฒนาสภาพแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์ใกล้ตัวผู้เรียน โดยเฉพาะสถานศึกษา ให้มีลักษณะเป็น Knowledge Management ด้านคุณธรรมจริยธรรม ครู ผู้ปกครอง และสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเป็นผู้ใช้และผู้จัดการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรม
  • พัฒนาครูและหลักสูตรให้มีลักษณะ KPI (Knowledge–Practice–Implementation) ด้านคุณธรรมจริยธรรม
  • สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในกิจกรรมเสริมหลักสูตรและทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น โครงการบริการชุมชนของญี่ปุ่นหรือโครงการพลเมืองฝึกหัดของสวิตเซอร์แลนด์ที่นำนักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของสังคม ตลอดทั้งศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมในสังคม แล้วร่วมกันเสนอแนะแนวทางแก้ไข
  • วิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรม โดยเฉพาะการปฏิบัติที่ได้ผลจริง ดังตัวอย่างการวิจัยการสอนค่านิยมศึกษาแบบสอดแทรกโดยตรงของนิวซีแลนด์ เป็นต้น  ศึกษารูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมของต่างประเทศแบบครอบคลุมในเชิงลึก เพื่อพิจารณานำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย โดยเน้นการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี
  • จัดการฝึกอบรมด้านคุณธรรมจริยธรรมตามลำดับตั้งแต่ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก โดยรัฐเป็นผู้กำหนดกรอบการดำเนินงานและจัดทำคู่มือสำหรับเป็นแนวปฏิบัติ
  • ควรมีการพิจารณา ทำความเข้าใจประเด็นคุณธรรมจริยธรรมที่ต้องการส่งเสริม และดำเนินงานให้มีการนำไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
  • ส่งเสริมกิจกรรมและนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรม โดยไม่ใช้การบังคับ แต่เป็นการจูงใจ การพัฒนาการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมไม่เน้นทฤษฎีหรือหลักการ แต่เน้นการปฏิบัติและการป้องกัน
  • จัดทำหลักสูตรวิชาสัมมนาการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 1 หน่วยกิตทุกภาคเรียน (ลงทะเบียนโดยไม่นับหน่วยกิต ให้เกรดผ่านกับไม่ผ่าน) ครูมอบการบ้านด้านคุณธรรมจริยธรรมโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม
  • กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงวัฒนธรรม และสื่อสารมวลชนทุกแขนง ควรร่วมมือกันในการส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยจัดเป็นวาระแห่งชาติ
  • กระทรวงศึกษาธิการและองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น ควรรื้อฟื้นการสอนหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น ลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารี ดนตรี กีฬา และศิลปะ เป็นต้น
  • สร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างครอบครัวและโรงเรียนในการอบรม สั่งสอน และพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน การพัฒนาการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมต้องดำเนินงานประสานกันทั้ง 3 ด้านคือ บ้าน สถานศึกษา และสิ่งแวดล้อมโดยบ้านให้ความรู้ความเข้าใจและเป็นแบบอย่างแก่เด็ก สถานศึกษาให้ความรู้ ความเข้าใจ จากครู จากเพื่อน ตลอดจนสร้างสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาท้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และด้านสิ่งแวดล้อมในสังคม ควรมีผู้นำประเทศและผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่าง มีการปฏิบัติพฤติกรรมที่ดี และยกย่องผู้มีคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นที่ประจักษ์
  • กำหนดกรอบหลักสูตร เนื้อหา สื่อ วิธีสอน วิธีจัดการเรียนรู้ กิจกรรม วิธีการประเมินผลและคู่มือการเรียนการสอนคุณธรรมจริยธรรม ตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียนถึงระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป ไว้เป็นแนวทางสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านคุณธรรมจริยธรรม
  • สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรม พัฒนาบุคลิกภาพ และจิตสำนึกของนักเรียนเป็นประจำโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนประจำ
  • สอนวิชาอันเป็นพื้นฐานความเชื่อในคุณธรรมจริยธรรม เช่น ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ตรรกศาสตร์ จริยศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ และปรัชญา ในโรงเรียน  
  •  สอนวิชาปรัชญา จริยศาสตร์ คุณธรรมจริยธรรม ศาสนาในวงกว้าง และการคิดวิเคราะห์ให้กับนักศึกษาครูทุกคน ตลอดทั้งอบรมครูประจำการในการสอนคุณธรรมจริยธรรมด้วย
  •  กิจกรรมสำหรับนักเรียนที่ควรปฏิบัติ ได้แก่  นำนักเรียนไปศึกษาดูงานการปฏิบัติกิจกรรมที่มีลักษณะเดียวกับคุณธรรมจริยธรรมของสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากของตน และปฏิบัติกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมโดยตัวนักเรียนเองด้วย  ให้นักเรียนมีโอกาสบำเพ็ญกิจกรรมคุณธรรมจริยธรรม และบริการสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะการช่วยเหลือและเข้าใจสภาพชีวิตของคนยากจน คนด้อยโอกาส และผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ให้นักเรียนที่ทำผิดระเบียบวินัยของโรงเรียน ทำการไถ่ถอนความผิดโดยการประกอบกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมแก่สังคม ทำบันทึกกิจกรรมคุณธรรมจริยธรรมของตนเอง พร้อมบอกสาเหตุของการกระทำและผลที่ตามมา โดยครูตรวจติดตามทุกๆเดือน
  • ให้นักเรียนอภิปรายปัญหาคุณธรรมจริยธรรมที่พบเห็นจากสื่อต่างๆ และปัญหาของนักเรียนเอง แล้วร่วมกันเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา รวมทั้งร่วมกันอภิปรายปัญหาคุณธรรมจริยธรรมที่พบเห็นในการเรียนวิชาต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมืองการปกครอง ธุรกิจ วิทยาศาสตร์ การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น  และให้นักเรียนมีโอกาสอภิปรายปัญหาคุณธรรมจริยธรรมกับผู้ทรงคุณวุฒิในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน
  • ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสวงหาและเสนอชื่อบุคคลที่เป็นตัวอย่างในการประกอบคุณธรรมจริยธรรมในสังคมเพื่อการยกย่องเชิดชูเกียรติ และยกย่องชมเชยนักเรียนที่เป็นตัวอย่างในการประกอบคุณธรรมจริยธรรม
  • จัดโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา นักเรียน ครู และผู้ปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมกับต่างประเทศ เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นมีสายตาและแนวความคิดที่กว้างไกลยิ่งขึ้น จัดให้นักเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติและกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมกับเพื่อนต่างประเทศในระดับเดียวกัน ซึ่งอาจกระทำโดยผ่านทางอินเตอร์เนตเช่นตัวอย่างโครงการวัฒนธรรมเยาวชนของสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น  
  • ยกย่องเชิดชู นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนที่เป็นตัวแบบด้านคุณธรรมจริยธรรมและสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ยกย่อง ชมเชย และเชิดชูบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านคุณธรรมจริยธรรมของสังคม
  • ใช้ศิลปะ บทเพลง ดนตรี ลีลาศ การละคร ภาพยนตร์ และจุลสาร เป็นสื่อ เครื่องมือ หรือเวทีแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน
  • จัดทำหนังสืออ่านสำหรับเด็กที่เป็นการสอนเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียน (ผู้ปกครองอ่านให้ฟังก่อนเข้านอน) จนถึงระดับอุดมศึกษาโดยความร่วมมือกับสมาคมนักเขียน  จัดประกวดการแต่งหนังสือ/นิทาน/เรื่องสั้นเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมที่ผู้แต่งมีวัยต่างๆกัน
  • อุตสาหกรรมบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ  วีซีดี ซีดี ดีวีดี มีการแทรกข้อคิดเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมไว้ในงานเหล่านั้น
  • ประชาชนยกย่อง นับถือ และให้เกียรติผู้ที่มีคุณธรรมสูงในสังคมของตน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน และไม่ให้ความนับถือแก่บุคคลที่ไม่คำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินงาน ทั้งนี้ควรปราศจากการโน้มนำทางการเมือง
  • การส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรม ควรประกอบด้วย 3 ขั้นคือ สร้างความตระหนัก ดำเนินการส่งเสริม  และสนับสนุน   

สรุป

จากการศึกษาผลงานวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมของ  10 ประเทศทำให้ได้ทราบแนวทางการนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอนกับเยาวชนในสังคมไทยที่ยังขาดจริยธรรมให้เป็นคนที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านความรู้และจริยธรรมในตนเองได้เป็นอย่างดี

สรุปโดยผู้เขียน

 

หมายเลขบันทึก: 328858เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2010 06:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้ามาดูแล้วเช่นกันนะครับ : )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท