เรื่องเล่าจากโรงพยาบาล : ท้องผูกหรือเปล่า


พยาบาลไปถามผู้ป่วยเด็กว่า ท้องผูกหรือเปล่า ผู้ป่วยเด็กตอบว่า ไม่ แล้วก็หันไปถามแม่ว่า....

สวัสดีครับ

วันนี้ขอเปิดหัวข้อใหม่ เนื่องจากได้รับการบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากทางโรงพยาบาลมาหลายเรื่อง จึงอยากนำมาเล่าต่อ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ วันนี้ของนำเสนอเรื่อง คือ ท้องผูกหรือเปล่า?

 

เรื่องมีอยู่ว่า พยาบาลเดินเข้าไปซักประวัติเรื่องการขับถ่ายของผู้ป่วยเด็ก(อายุ 10 ปี) ที่ย้ายมาใหม่อยู่รักษาในหอผู้ป่วยแห่งหนึ่ง ซึ่งแม่ของเด็ก ก็ได้ยืนอยู่ข้างเตียงของเด็กคนนั้นด้วย

 

พยาบาล ถามว่า... มีอาการท้องผูกหรือเปล่า?

 

ผู้ป่วยเด็กและแม่(ของผู้ป่วยเด็ก) ตอบพร้อมกัน...

 

แม่ :  มี... มีอาการท้องผูกด้วย... จ้า

 

ผู้ป่วยเด็ก : บ่อ... พร้อมกับขมวดคิ้ว แล้วหันหน้าไปถามแม่ ว่า... อีแม่... ท้องผูกเป็นจังได๋ละ (ท้องผูกเป็นอย่างไร?...ละ)

 

ข้อคิด : ปัญหาของการสื่อสารอาจเกิดจาก

การให้และการรับข้อมูลไม่ตรงกัน หากผู้ให้ของมูลและผู้รับข้อมูล มีความเข้าใจแตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน ข้อมูล... ที่ได้รับอาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ 

 

ในเรื่องนี้ แม่เข้าใจ ความหมายของอาการท้องผูก  แต่ลูกไม่เข้าใจ  หากแม่ไม่อยู่ด้วย เมื่อพยาบาลถามกับผู้ป่วยเด็กโดยตรง ก็จะได้ข้อมูลที่ผิดพลาดไป

 

ทำนองเดียวกันสำหรับบางคน การตอบคำถามบางอย่าง อาจจะตอบเพราะ...ไม่เข้าใจคำถาม เพราะ...เกรงใจ หรือเพราะ... กลัวผิด กลัวผู้ถามจะว่า... ไม่รู้เรื่อง เชย หรือ โง่ ก็อาจจะตอบแบบขอไปที่... ซึ่งอาจจะส่งผล คือ ทำให้สูญเสีย ประโยชน์บางอย่างไป

 

นักเรียน นักศึกษา ยิ้ม ในห้องเรียน เมื่อคุณครูถาม อาจารย์ถามว่า...

เข้าใจ... เรื่องราวที่สอนไปหรือไม่?

มีคำถามหรือไม่? 

หากนักเรียน นักศึกษาไม่รู้ ไม่เข้าใจ แล้วปล่อยไป ไม่พูด ไม่ถาม ก็อาจจะทำให้พลาดหรือสูญเสียโอกาสที่จะได้เรียนรู้ ได้ศึกษา หรือได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเท่าที่ควร 

 

ภาษาในการสื่อสาร : ภาษาที่ใช้ต้องเข้าใจตรงกัน เข้าใจได้ง่าย การสื่อสารอาจจะไม่ใช่... เพียงแค่คำพูด เพียงอย่างเดียว อาจจะต้องใช้ภาษาท่าทางเข้าร่วมเข้า(อย่างเป็นมิตร) หรือภาพประกอบ ก็อาจเพิ่มความเข้าใจระหว่างกันได้มากขึ้น 

 

หลายครั้งที่บุคลากรทางการแพทย์ พูดคำศัพท์ทางการแพทย์ระหว่างการสอบถาม ขอข้อมูลหรือให้ข้อมูลผู้ป่วย อาจทำให้ผู้ป่วยไม่เข้าใจ ควรเลือกคำที่สอดคล้อง เข้าใจง่าย บางครั้งอาจต้องให้ภาษาท้องถิ่น

 

การสื่อสาร ไม่ใช่ แค่การพูด การทำหน้าที่สื่อสารให้สำเร็จ บางครั้งอาจจะต้องใช้เวลาให้เหมาสม

การสื่อสารที่ใช้ระยะเวลาสั้นไป... อาจทำให้ไม่เข้าใจ

การสื่อสารที่ใช้ระยะเวลายาวไป... อาจสร้างความสับสน

 

 

เพิ่มเติม

สำหรับท่านที่มีอาการท้องผูกบ่อยๆ ไม่ดีต่อสุขภาพนะครับ

สิ่งที่ช่วยได้บรรเทาอาการท้องผูก คือ

การทานอาหารที่มีกาก เช่น ผักหรือผลไม้ที่มีเส้นใย

ทานน้ำมากๆ ดื่มน้ำเพิ่มทันทีที่หิวน้ำ และสังเกตสีน้ำปัสสาวะ ถ้ากินน้ำมากพอ น้ำปัสสาวะจะมีสีเหลืองจาง ถ้าขาดน้ำ น้ำปัสสาวะจะมีสีเหลืองเข้ม

งดทานน้ำชา กาแฟ

ออกกำลังหรือเล่นกีฬา เช่น ว่ายน้ำ ช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหว เป็นต้น

 

เกมส์

เกมส์ หนูท้องผูก

http://www.gamedede.com/game/playgame.asp?gcode=83

เป็นเกมส์ที่ผู้เล่นต้องทุบก้อนอึให้ทันเวลาและต้องทุบไวๆนะครับ

หากท่านใดสนใจ ก็ลองแวะมาเล่นดูนะครับ

อย่าเล่นระหว่างทานอะไรนะครับ เพราะหากชนะภาพอาจเห็นภาพไม่น่าดูเท่าไร

 

 

หมายเลขบันทึก: 328825เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2010 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่อาจารย์..อ่านสนุกได้สาระจริงๆค่ะ..

เรียน คุณฐิตินันท์

การสื่อสาร ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการกับผู้รับบริการมีความสำคัญ (รวมถึงการใช้ในชีวิตประจำวัน) คิดถึงใจเขา ใจเรา หากดำเนินการได้ดี มีความชัดเจน ช่วยให้งานต่างๆประสบผลสำเร็จได้

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ครับ

อ่านแล้วนึกถึงเรื่องหนึ่งที่โรงพยาบาลผมเหมือนกันครับอาจารย์ เด็กมาถอนฟันเพราะปวดฟัน

- หมอฟันก็ถามอย่างเอ็นดู(ภาษาลาว) ว่า หำเจ็บ บ่ หำ ?

- เด็กตอบว่า หำ บ่ เจ็บครับ เจ็บแต่แข่ว

การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมากๆ

ขอบคุณอาจารย์ครับ

สวัสดีครับ คุณ mammos

555

คำพูดที่บงบอกว่า เอ็นดู ก็ทำให้สื่อสารผิดได้เหมือนกัน

ขอบคุณครับ ที่เล่าประสบการณ์ได้แลกเปลี่ยนกัน ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท