ทำไมชาวบ้านของหมู่บ้านปางจำปีถึงอยากให้ขยะหายไป??


สงสัยกันไหมว่าทำไมชาวบ้านของหมู่บ้านปางจำปีถึงอยากให้ขยะหายไป...

             สวัสดีค่ะสมาชิกชาวGotoknow และทุกๆคนที่ได้เข้ามาอ่านบันทึกนี้นะคะ >> ดิฉัน นางสาวภิรมย์ญา สมประจบ จะขอเรียกแทนตัวเองสั้นๆว่า "น้ำ" นะคะ

                    

             วันนี้จะมาบอกเล่าเกี่ยวกับเรื่อง "ขยะหายไปไหน?" ของหมู่บ้านปางจำปีต่อจากเพื่อนสาวหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม "กำปอ" นะคะ

              อันดับแรกเราดีใจมาก เพราะน้องเข้มและเพื่อนๆได้บอกพวกเราว่า "นี่แหละพี่..ทางขึ้นไปที่พัก" (เย้ๆ...จะถึงแล้วจะได้พักสักที่^^) แต่ปรากฏว่าพอเห็นป้ายบอกว่าที่พักของเราห่างไปอีก 1.5 กม. แล้วมองขึ้นไปเห็นทางที่สูงชันมากกว่าเดิมที่เราเดินขึ้นมาซะอีก พวกเราถึงกับมองหน้ากันแล้วทำหน้าบึนอย่างที่เพื่อนสาวบอกไว้ในบันทึกที่แล้วจริงๆ (55+ อาการหลุดออกมาซะงั้น) น้องเข้มและเพื่อนๆเห็นหน้าพวกเราน้องๆถึงกับหัวเราะออกมาเลยทีเดียว 

                

              เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเราจึงรีบเดินกันต่อไป ระหว่างทางเราก็จะเห็นป้ายเขียนว่า "ห้ามทิ้งขยะ"มาตลอดทางเลย สมาชิกในกลุ่มของเราจะมีถุงดำสำหรับเก็บขยะอยู่ในมือเอาไว้คอยเก็บขยะที่พบเห็นตลอดทาง (เพื่อเป็นการสำรวจไปด้วยว่าจะเป็นอย่างที่พี่ชัยบอกเราจริงหรือเปล่า)

 

>> ทุกๆคนคงสงสัยกันสิว่า "พี่ชัยคือใคร?"

              พี่ชัยเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มเยาวชนของหมู่บ้านปางจำปี พี่ชัยบอกพวกเราว่า..เมื่อก่อนนะขยะในหมู่บ้านมีเต็มไปหมด แต่ตอนนี้ไม่เชื่อไปดูได้เลยว่าไม่มีแล้วจริงๆถ้ามีก็เพียงชิ้นสองชิ้นเท่านั้นแหละ

             และพี่ชัยได้เล่าถึงการทำงานของกลุ่มเยาวชนว่า...เริ่มแรกกลุ่มเยาวชนได้ไปดูงาน เรื่องการจัดการขยะ ณ บ้านไร่น้อย ต.ม่วงน้อย จ.ลำพูน ซึ่งเป็นเครือข่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (สรส.) ทุกๆวันอาทิตย์ชาวบ้านจะนำขยะมาไว้ที่หน้าบ้านและกลุ่มเยาวชนก็จะเริ่มดำเนินการดังนี้

             1.กลุ่มเยาวชนจะนำขยะที่ได้มาจากชาวบ้านมารวมกันที่  ”จุดรวมขยะ”

             2.กลุ่มเยาวชนจะทำการคัดแยกขยะที่นำไปขายได้ และขยะที่ไม่สามารถนำไปขายได้

              3.ขยะที่ไม่สามารถขายได้ก็จะนำไปกำจัดตามกระบวนการ คือ ฝังหรือเผา ส่วนขยะที่สามารถนำไปขายได้กลุ่มเยาวชนก็นำไปคัดแยกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กระดาษ, โลหะ,อลูมิเนียม เพื่อเตรียมนำไปขายเพื่อเป็นรายได้ของกลุ่มเยาวชนต่อไป

              หลังจากที่ได้ไปเรียนรู้ดูงานมาแล้วกลุ่มเยาวชนของหมู่บ้านปางจำปีก็นำมาเผยแพร่ให้ชาวบ้านได้รับรู้ถึงกระบวนการและข้อดีต่างๆ แต่พี่ชัยบอกว่า ”ตอนแรกชาวบ้านเขาก็ไม่ทำกันหรอก..แต่เราทำให้ชาวบ้านเห็นว่า บรรยากาศในหมู่บ้านมันดีขึ้น น่าอยู่ยิ่งขึ้นและสามารถมีรายได้เสริมเก็บออม จากที่มีบ้านเริ่มทำเพียงหลังเดียว..ก็เริ่มมีหลังที่สองและก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนวันนี้ทุกหลังก็ทำเหมือนกันหมด”

              เราเดินไปคุยไปเผลอแป๊บเดียวก็มาถึงปากทางเข้าที่พักของเราแล้ว...

              พอเราขึ้นไปยังที่พักหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "บ้านวังปลา” หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้เรามาเขียนเกี่ยวกับว่า เราได้ทราบข้อมูลอะไรมาบ้าง ตรงกับคำถามที่เราคิดกันเอาไว้หรือเปล่า?

              เราได้มานั่งพูดคุยกันเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆที่เราช่วยกันรวบรวมมา เราก็ได้รู้สาเหตุว่า "ทำไมชาวบ้านถึงอยากให้ขยะหายไปจากหมู่บ้านนี้" ตอนแรกที่เราคิดเราคิดกันว่า "อาจจะเป็นเพราะอยากมีรายได้เสริมหรือเปล่าถึงได้มีการแยกขยะ"

              แต่สาเหตุหลักๆที่ชาวบ้านของหมู่บ้านปางจำปีแห่งนี้พูดตรงกันว่าที่ทำการแยกขยะเป็นเพราะอยากให้บรรยากาศในหมู่บ้านร่มรื่น บ้านเราจะได้น่าอยู่ และไม่อยากให้เป็นอันตรายต่อลูกหลานในอนาคตต่อไป และสิ่งที่เราเห็นตรงกันประกอบกับที่ได้สอบถามรายละเอียดในการเดินสำรวจของเพื่อนๆกลุ่มอื่นปรากฏว่า "ขยะที่พบไม่ว่าจะเป็นตามถนน ตามลำน้ำ และในป่าของหมู่บ้านแห่งนี้มีเพียงน้อยชิ้นเท่านั้น" ซึ่งก็เป็นอย่างที่พี่ชัยได้บอกเราเอาไว้จริงๆ

              หลังจากที่เราพูดคุยกันและได้คำตอบของคำถามนี้เรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็อนุญาตให้เราไปเล่นน้ำตกได้ !!! น้ำได้บอกทุกๆคนไปหรือยังคะว่า "ที่หมู่บ้านนี้บรรยากาศดีมาก และมีน้ำตกด้วย” เราได้เก็บภาพบรรยาศการเล่นน้ำตกของพวกเรามาฝากกันด้วยนะคะ

 

     เรื่องราวเกี่ยวกับการกำจัดขยะของหมู่บ้านปางจำปีจะเป็นอย่างไรต่อไปอย่าลืมติดตามบันทึกต่อไปโดยเพื่อนสาวสมาชิกในกลุ่ม "กำปอ" ของเรานะคะ

สวัสดีค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 328741เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2010 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท