นานาทัศนะ ::เวทีเสวนาการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่


เวทีเสวนาการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จัดวันที่ 14 มกราคม 2553 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เวทีเสวนาการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 

            ต้องรีบมานั่งอัพๆๆ ทั้งที่มันควรจะไวกว่านี้

            เข้าเรื่องดีกว่า ก็วันพฤหัส ที่  14 มกราคม 2552 มีโอกาสเข้าไปนั่งฟัง การเสวนาเรื่อง การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์คลื่นความถี่ ที่ห้อง LT1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  พอไปถึงสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น แม่เจ้า บร๊ะเจ้า ทำไม คนล้นห้องประชุมแบบนี้ล่ะ ว้าว แกรน์โอเพ่นนิ่ง มากๆๆ ไม่เป็นไร เข้ามีการถ่ายทอดสด ที่ common นั่งฟังเอาประมาณนี้ก็ได้เนื้อหาเหมือนกัน ว่าแล้วชั้น ก็หาที่นั่งจัดแจง เพื่อรวบรวมสมาธิ เพื่อฟังการเสวนา

วันนี้ประเด็นการเสวนาคงไม่พ้นเรื่อง การจัดสรรคลื่นความถี่ 3G กับเรื่องอำนาจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม มีผู้ทรงคุณวุฒิหลายคนเข้าร่วมเสวนา อีกทั้งมีองค์กรที่คอยขับเคลื่อน อีกด้วยไม่ว่าจะเป็น  คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ   True move  Dtac  นักกฎหมาย  พนักงานอัยการ และนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องพอสมควร

            ประเด็นที่มีการพูดคุย

            เรื่องรัฐต่างด้าวเข้ามาลงทุนในกิจการโทรคมนาคม  

            ในประเด็นนี้ อาจารย์วรเจตน์ ได้ให้ความเห็นว่า ในเรื่องของกฎหมายที่ให้อำนาจ นั้นมีกฎหมายที่ได้ให้อำนาจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม โดยมีลักษณะเป็นการออกข้อกำหนดในเรื่องนี้ น่าเสียดายอย่างมาก ถ้ามี อาจารย์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร หรือ อ.แหววของเรา เข้ามาร่วมวงเสวนาด้วย จะทำให้มองเห็นประเด็นในความเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ และเรื่องสถานะบุคคลของ บริษัทต่างด้าว ชัดเจนขึ้น

          ในเรื่อง3G กับประเด็นเรื่องความมั่นคง

             อาจารย์วรเจตน์ ให้ความเห็นว่า การประกอบกิจการ 2G VS 3G นั้นท่านมองว่ามีสิ่งที่คล้ายกันอยู่มาก แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือเรื่องความเร็วที่ 3G มีความเร็วกว่า และสามารถสนทนาโดยเห็นภาพกันได้ และเป็นเรืองคลื่นความความถี่ที่ใช้ในเชิงการพาณิชย์มากกว่า  

            ทางด้านอาจารย์จุลสิงห์ ได้ให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า เรื่องนี้เกี่ยวกับประเด็นเรื่องความมั่นคงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 84 และอาจคล้ายกับเรื่องโรงไฟฟ้าเอกชนที่ มีหน่วยงานรับผิดชอบเป็นการเฉพาะ นั่นคือ กทช คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม และตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 64 คำว่ารัฐที่ถูกตีความกันอาจต้องตีความว่าเป็นรัฐไทยด้วยในเรื่องการประกอบกิจการของคนต่างด้าวและยกตัวอย่าง ในประเทศมาเลเชียที่มีการจัดสรรโดยการประกวด มี บริษัท Digi ที่เป็นบริษัทต่างด้าวมาถือหุ้นในมาเลเชีย และมาเลเชียได้ปฏิเสธไม่ให้สัมปทานในเรื่อง 3G เนื่องด้วยเหตุว่าเป็นต่างด้าว  และตามกฎหมายไทยได้มีการบัญญัติไว้ว่า ธุรกิจคมนาคมต้องไม่ใช่คนต่างด้าวถือหุ้นได้เกิน 49%           แต่ได้มีการบัญญัติไว้เท่านี้ อีกทั้งมีการกำหนดบทลงโทษในเรื่องคนต่างด้าวไว้ด้วย ดูประกอบความเห็นของคณะกรรมการกฤษฏีกา เลขที่ 386/2549 http://appthca.krisdika.go.th/Naturesig/CheckSig?whichLaw=cmd&year=2549&lawPath=c1_0386_2549

            ในเรื่องการทำสัมปทาน มีการทำสัญญา มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กับบริษัทเอกชน สถานะองค์การโทรศัพท์ไม่เหมือนเดิม มีการเปลี่ยนแปลงสถานะภาพไปโดยปริยาย แต่เนื่องด้วยหลักการตามกฎหมายที่ว่า สัญญาต้องเป็นสัญญา จึงถือเอาเป็นเกณฑ์ไม่ได้ ส่วนประเด็นในเรื่องการครอบงำของกิจการของคนต่างด้าวนั้นไม่สามารถแก้ไขได้โดยอำนาจ กทช แต่เป็นเรื่องกฎหมายลำดับรองซึ่งต้องสอดคล้องเป็นไปตามกฏหมายแม่บท ทั้งในเรื่อง พรบ.กิจการโทรคมนาคม และเรื่อง พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่ง กทช ต้องฝ่าฟันด่านจำนวนมากเรื่อง 3G

และในประเด็นเรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กทช 

            จะเห็นได้ว่าประเด็นนี้ยังเป็นที่วิพากย์ วิจารณ์ กันในสังคมกันอยู่มากในเรื่องอำนาจหน้าที่ของกทช อาจารย์วรเจตน์ ได้ให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ว่า ปัจจุบันองค์การโทรศัพท์ไม่มีแล้วคงมีแต่ TOT และ CAT ที่ในปัจจุบันผู้ที่ถือหุ้นใหญ่ก็คือ กระทรวงการคลังที่มีการถือหุ้น 100%  ฉะนั้นประชาชนก็ควรที่จะเลือกและต้องให้ความเท่าเทียมกันแก่ทุกฝ่าย  อีกทั้งหน่วยงาน กทชก็ได้รับเงินเดือนจากภาษีประชาชน ก็ควรทำงานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่

            อาจารย์จุลสิงห์ ได้ให้ความเห็นว่า ในเรื่องการออกใบอนุญาต 3G ต้องทำตามพรบ. ร่วมทุน เพราะว่าร่างพรบ.ของกทช นั้นเป็นกฎหมายเฉพาะ และการดำเนินการต่างๆ ต้องเป็นไปตามพรบนั้นๆ  ส่วนอำนาจในการประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวนั้น มีวิธีการประมูลได้ไหม  ในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องยังมีความคลุมเครือกันอยู่ เพราะว่าคนที่จะเข้ามาประมูลนั้นต้องผ่านเงื่อนไขเบื้องต้น ทั้งนี้ต้องผ่าน ในเรื่องอำนาจของ กทช. และต้องผูกพันตามจำนวนเงินที่เข้ามาประมูล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กทช ก็ต้องผ่านหลักเกณฑ์คุณสมบัติในเบื้องต้นก่อน

 

 

เนื้อหาข่าวที่เกี่ยวข้องจากเวทีเสวนา

http://news.mediathai.net/detail_news.php?newsid=66904

 

หมายเลขบันทึก: 328691เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2010 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท