พลังแห่งดนตรีบำบัด (Music Therapy )


ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก

อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์

ฤาอุบายมุ่งร้ายฉมังนัก มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี

และดวงใจย่อมดำสกปรก ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี้

ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้ เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

  บทในหนึ่งในพระราชนิพนธ์แปล (จากต้นฉบับของวิลเลี่ยม  เช็กเปียร์) ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชกาลที่ 6

     เมื่อก่อนเราฟังเพลง ฟังดนตรีเพื่อความรื่นเริง บันเทิงใจเท่านั้น แต่ปัจจุบันดนตรีถูกนำมาเป็นเครื่องมือ (สื่อ) ในการช่วยบำบัด/บำบัดโรค และอาการต่างๆ กันมากมาย รวมทั้งใช้ในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้สมวัย และใช้กับเด็กพิเศษ ซึ่งมีส่วนในการบำบัดรักษาได้เป็นอย่างดีและมีผู้นำมาใช้ทั้งอย่างเป็นทางการและใช้กันอย่างง่ายๆกันทั่วไป

“ดนตรีบำบัดหมายถึง เสียงอะไรก็แล้วแต่ที่บำบัดคุณ  ดนตรีคือ การบำบัดกายและจิต ทำแล้วคุณมีความสุข คุณทำเถอะ” (รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข)

“ผลที่ได้รับจากการเรียนดนตรีนั่นคงบอกได้จากเสียงตอบรับของผู้ปกครองที่เห็นลูกหลานมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น บางคนบอกว่า ทำให้เรียนหนังสือเก่งขึ้น ผลการเรียนดี เด็กจะใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ บางครั้งนำดนตรีที่ฟังจากโทรทัศน์มาเล่นกับดนตรีที่ตัวเองชอบ กลายเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่ง หรือเป็นส่วนหนึ่ง ในชีวิตประจำวันแล้วเด็กที่มีดนตรีในหัวใจ พอโตขึ้นเขาจะมีจิตใจที่อ่อนโยน อารมณ์ดีไม่หงุดหงิดง่าย” (อภิรดี อุสยาภาส)

เด็กออทิสติกมีการทำหน้าที่ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่ไม่ผสมผสานกันจึงมักปิดหูปิดตา ไม่รับรู้ ไม่สบตา ไม่ชอบปฏิสัมพันธ์ ไม่ชอบให้ใครถูกตัว ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ขณะเดียวกันชอบทำอะไรซ้ำซาก เนื่อกจากหวาดกลัวความเปลี่ยนแปลง การใช้ดนตรีบำบัดเข้ามาช่วยกระตุ้นทางด้านสังคมและประสาทสัมผัส นอกจากนี้ดนตรีจะ

สร้างอารมณ์ผ่อนคลาย เกิดสมาธิจิตใจเบิกบาน เด็กจะเริ่มยิ้มแย้ม รู้จักสบตากับเพื่อนๆ ในกลุ่มและกล้าแสดงออกมากขึ้น  แล้วดนตรียังช่วยดึงความสนใจให้เด็กสามารถใช้ความคิด และสร้างจินตนาการ และลดความกลัวที่จะต้องแยกจากพ่อแม่หรือพี่เลี้ยง เวลาเด็กเข้าห้องเรียน ดนตรีบำบัดมีส่วนต่อการพัฒนาสังคม การสื่อความหมาย อารมณ์และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (ศ.พญ.เพ็ญแข ลิ่มศิลา)

การใช้ดนตรีบำบัด ยึดหลัก 3 ประการดังนี้

  1. การใช้มือเพื่อกระตุ้นสมอง มือกับสมอง มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน นิ้วมือของคนเรา เป็นจุดที่มีปลายประสาทอยู่มากเมื่อเทียบกับอวัยวะอื่น
  2. ใช้เสียงและอากาศบริหารอวัยวะภายใน ขณะที่ร้องเสียงดัง ออกซิเจนจากภายนอกจะเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการบริหารกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ และ ปอดให้แข็งแรง
  3. การทำร่างกายให้เข้าจังหวะช่วยให้เกิดความสมดุลของการนั่ง ยืน หรือเดิน

( ชัยวุฒิ  ดินปรางค์ )

ขอดีของการใช้ดนตรีกับเด็ก

  1. การร้องเพลงกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาและช่วยควบคุมการออกเสียงและฝึกฝนบริหารปอด
  2. การร้องเพลง ช่วยเด็กให้แก้อาย
  3. ช่วยพัฒนาสมอง เพราะเมื่อร้องเพลงสมองถูกกระตุ้นทั้งสองด้าน
  4. ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว

เครื่องดนตรี บำบัดโรค

-          เสียงขิมที่กังวานใส ทำให้เกิดความสงบผ่อนคลาย

-          กีตาร์ทำให้สนุกสนานเพลิดเพลิน

-          เสียงอังกะลุง ทำให้อึกทึก แข็งแกร่ง

-          เสียงเปียโน ทำให้เกิดจินตนาการ เพราะมีระดับเสียงมา และยังฝึกความแข็งแรงของทั้งมือและการประสาน

-          กลองใช้กับคนไข้โรคจิตบางประเภท และทำให้ฝึกการทำงานสัมพันธ์ประสานกันระหว่างแขนกับขา ทำให้แข็งแรง

-          ไวโอลิน ฟรุต เปียโน ช่วยบรรเทาการเจ็บปวด เช่นปวดศรีษะ

-          หีบเพลง บริหารปอดและกล้ามเนื้อกระพุ้งแก้ม

 

-          จังหวะมาร์ช ทำให้เกิดพลัง ปลุกระดม

-     จังหวะร๊อก ทำให้ตื่นเต้น

-     จังหวะช่าช่าช่า และรุมบ้า ทำให้สนุกสนาน เพลิดเพลิน

-     จังหวะสโลว์ ทำให้รู้สึกสงบ

-     จังหวะป๊อป ร็อค แร็พ ช่วยให้ท่องจำดี เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานท่องจำ

 

ประโยชน์ของดนตรีจิตใจ

  1. ปรับจิตใจให้สมดุล มีมุมมองในเชิงบวก
  2. คลายความเครียด ลดความวิตกกังวล
  3. กระตุ้น และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ
  4. กระตุ้นประสาทสัมผัสการรับรู้
  5. สร้างสมาธิ
  6. พัฒนาทางสังคม
  7. พัฒนาการสื่อสาร และการใช้ภาษา
  8. พัฒนาการเคลื่อนไหว
  9. ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ

10.  ลดอาการเจ็บปวด

11.  ปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

12.  สร้างสัมพันธภาพที่ดี

13.  เสริมกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ในด้านการประเมินความรู้สึก การควบคุมตนเอง การแก้ปัญหาขัดแย้งต่างๆ

http://www.paidi-th.com/index.php

หมายเลขบันทึก: 328347เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2010 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท