เกล็ดความรุ้


เกล็ดความรุ้

ยาสมุนไพรรักษาโรคร้าย

 

แนวความคิดและความเป็นมาของยาสมุนไพร

การใช้ยาสมุนไพรที่ได้นำมาศึกษานี้ เกิดขึ้นภายหลังจากการประชุมระดับนานาชาติ ว่าด้วยเรื่องการวิจัยและพัฒนาจากยาสมุนไพรเพื่อผู้ป่วยเอดส์ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งการประชุมดังกล่าว ผู้วิจัยทราบว่ายาสูตรดังกล่าว ผู้ปรุงยาใช้พืชสมุนไพรรวม 11 ชนิด บดเป็นผงบรรจุแคปซูลขนาด 450 มิลลิกรัม ผ่านกรรมวิธีการทดสอบฤทธิ์ของยาในการฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นพาหะของโรคหลายชนิด ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้มีแพทย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ร่วมศึกษาวิจัยยาสูตรนี้ นำยาไปใช้รักษาผู้ป่วยเอดส์ได้ผลดีมาก่อน ผู้คิดค้นสูตรยาได้ โดยผู้คิดค้นสูตรยาขอรับสิทธิ์เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคร้ายแรง เช่น โรคติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ โรคมะเร็งบางชนิด โรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจและโรคผิวหนังซึ่งเกิดจากเชื้อราบางประเภท เป็นต้น

พืชสมุนไพรเป็นพืชที่ใช้เป็นทั้งอาหารและยาคู่กับสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตกาล หาง่าย และราคาถูก หากสามารถนำมาใช้ทดแทนยาต้านไวรัส และยารักษาจำเพาะโรคบางชนิดที่เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมเนื่องจากโรคติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จะสามารถเพิ่มโอกาสในการบำบัดรักษาให้ผู้เจ็บป่วยเหล่านั้นได้กลับสู่ภาวะปกติ อีกทั้งจะเป็นการประหยัดเงินตราในการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง

ปัญหาเรื่องค่ายามีราคาสูง จึงเป็นปัญหาต่อการบำบัดรักษาผู้ป่วยคนไทย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็น ผู้มีรายได้น้อย ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ส่วนผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ยังไม่ทราบชะตากรรมว่า จะรักษาตัวเองอย่างไร ทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อไปสู่คู่สมรส หรืบุคคลอื่นๆต่อไปอีก และส่งผลให้เกิด ปัญหาทางสังคมตามมา เพื่อเป็นการหาทางช่วยเหลือหรือเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ในการบำบัดรักษา วงการเภสัชกรรมทั้งไทยและต่างประเทศจึงระดมการวิจัยเพื่อพัฒนายาจากสมุนไพร สำหรับใช้ทดแทนยาต้านไวรัสทางวิทยาศาสตร์และยารักษาจำเพาะโรคอย่างรีบเร่งและต่อเนื่อง เนื่องจาก มีการกระจายของโรคร้ายดังกล่าวออกไปทุกประเทศทั่วโลก จนสามารถเรียกได้ว่า “โรคเอดส์คือมหันตภัยของโลก” และทุกประเทศทั่วโลกต้องการยารักษาโรคดังกล่าว

1.     การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดชื่อเรื่องว่า “ การศึกษาเบื้องต้นในการใช้ยาสมุนไพรไทยต่อผู้ป่วยเอดส์ที่เป็นทหารและครอบครัว”

2.     ยาสมุนไพรได้ทำการศึกษาและพัฒนามาเป็นเวลากว่า 5 ปี และได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในการรักษาโรคร้ายแรงหลายชนิดด้วยยาสมุนไพรผสมสูตรนี้ เช่น โรคมะเร็ง โรคไวรัสตับอักเสบเอ/บี โรคติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และโรคในระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์นั้น เมื่อร่างกายผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวชนิดซีดี 4 ต่ำกว่า 200 เซลส์/ไมโครลิตร จะทำให้ผู้ติดเชื้อได้รับเชื้อฉวยโอกาสได้ถึง 25 ชนิด เช่นโรคพุพอง เป็นตุ่ม จุดกระจายตามผิวหนัง โรคซีเอมวี ทำให้นัยน์ตาพร่ามัว ถึงขั้นมองไม่เห็น โรคในระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็งบางชนิด

การค้นคิดและพัฒนา เพื่อให้ได้ยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้หลายๆชนิดในเวลาเดียวกัน เนื่องจากคณะวิจัยได้เล็งเห็นว่า มีพืชสมุนไพรไทยหลายชนิดที่มีคุณสมบัติเป็นทั้ง สารแอนตี้ออกซิแดนท์(Antioxidant activity) ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียที่เป็นตัวก่อโรคอยู่ในพืชชนิดเดียวกัน จากการศึกษาวิจัยจึงคัดเลือกพืชที่มีสรรพคุณทางยาสูงไว้ 11 ชนิด ด้วยคิดว่าพืชสมุนไพรเหล่านั้น จะมีสรรพคุณส่งเสริมหรือสนับสนุนซึ่งกันและกันในการต้านเชื้อโรคต่างๆและปรับสมดุลในร่างกายผู้ป่วย

 

 

ยาตำรับจากสมุนไพรตามคำขอรับสิทธิบัตรที่ 05199 ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2542 ผู้เขียนได้นำเสนอใน วารสารวิมานเมฆ ฉบับที่ 28 ที่ผ่านมานั้นคุณสมบัติทางยาที่นักวิชาการได้ทำการทดสอบจากพืชสมุนไพรนั้น ได้ส่งผลให้เกิดการใช้ประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยในโรคหลายชนิดด้วยตำรับยาเดียวกันดังนี้

1.      คุณสมบัติความเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant activity) ทำให้วงจรชีวิตของจุลชีพต่างๆสั้นลง คุณสมบัติข้อนี้นำไปใช้ประโยชน์ในการยับยั้งเชื้อไวรัสและเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆได้อีกทั้งทำให้ลดการเกิด 0xidation ต่ออนุมูลอิสระ(Free radicals) ต่างๆ เช่น เนื้องอกที่มดลูก เนื้องอกทรวงอกหรือซีสต่างๆ ในผู้ป่วยจำนวนมากเมื่อรับประทานยาตำรับนี้ต่อเนื่องทุกวันประมาณ 3-5 เดือน เนื้องอกดังที่ได้กล่าวจะลดขนาดลงเช่นเดียวกันทุกคน

2.      ฤทธิ์ของพืชสมุนไพรที่ใช้ต้านเชื้ อรา เชื้อแบคทีเรียและไวรัส จากการทดลองได้พบว่า มีพืชสมุนไพร 7 ใน 11 ชนิด มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อราชนิด Penicillium Marneffei และเชื้อ แบคทีเรียชนิด Staphylococcus areus ได้ดี และพืชสมุนไพร 2 ชนิด มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ HIV ที่จุด Reverse Transcriptiion(จุด RT) ได้ดี คุณสมบัติในข้อนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยโรค Penicilliosis ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา ทำให้มีรอยแผลพุพอง ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย และผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับโลหิตเป็นพิษ ฝีหนองต่างๆ รักษาด้วยยาตำรับนี้ได้ผลดี อีกทั้งส่งผลให้ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน หรือโรคเรื้อนกวาง(Proriasis) ที่หายารักษายากได้ประโยชน์จากคุณสมบัติทางยาในข้อนี้เช่นกัน


สรุปผลการจากการวิเคราะห์

1.      ยาสมุนไพรมีประสิทธิภาพ ทำให้ไวรัสในเลือดลดปริมาณลงตามระยะเวลา สามารถใช้ ทดแทนยาต้านไวรัสจากต่างประเทศได้ ไม่มีผลข้างเคียง อีกทั้งทำให้ผู้ป่วยรับประทาน อาหารได้

2.     ยาสมุนไพรสูตรดังกล่าวมีประสิทธิภาพใช้บำบัดรักษาโรคฉวยโอกาสบางชนิด ได้แก่

  • โรค Pennicillosis ที่มีอาการ พุ พอง กระจายตามผิวหนัง แขน เท้า ลำตัว

  • โรคที่เกิดจากเชื้อจุลชีพบางชนิด ที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีสายตาพร่ามัว และเชื้อราในช่องหู ทำให้นัยน์ตาและหูกลับหายเป็นปกติได้

  • โรคในระบบทางเดินหายใจ ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี

  • โรคที่เกี่ยวกับระบบเลือด เช่น การฟอกเลือด การขับเลือดเสียของผู้ป่วย เพื่อให้ระบบเลือดดีขึ้น

3.     ยาสมุนไพร มีประสิทธิภาพใช้รักษาผู้ป่วยโรคจำเพาะบางชนิดได้แก่

  • โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด และซีสในระดับไม่เกินขั้น 4 โดยรับประทานยาสมุนไพรบรรจุแคปซูล 15 วัน พัก 1 วันในวันที่พักให้ใช้ยาสมุนไพรชนิดล้างภายใน เพื่อชลอการกระจายของโรค

  • โรคในระบบทางเดินหายใจ และไซนัส

  • โรคสะเก็ดเงินหรือเรื้อนกวาง

  • การปรับระบบรอบเดือนของสตรี

  • โรคเชื้อไวรัสขึ้นสมอง

4.     ยาสมุนไพร เป็นยาตำรับจากพืชแห้งมิได้สกัดสารมาทำยา จึงสามารถเพิ่มปริมาณการรับประทานให้ผู้ป่วยได้ เช่น ผู้ป่วยอาการหนัก หรือผู้ที่ต้องการผลความรุนแรงของโรค สามารถเพิ่มปริมาณการรับประทานจากวันละ 3 แคปซูล เป็นวันละ 6 แคปซูลต่อวันได้

5.     ยาสมุนไพร ผลิตจากพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในประเทศไทย ราคายาประมาณ 1200 บาท/เดือน/คน หากนำไปเปรียบเทียบกับยาด้านไวรัสจากต่างประเทศแล้ว พิจารณาได้ว่ามีราคาถูกกว่ายาที่ใช้รักษาผสมยาต้านไวรัสหลายชนิด ถึง 60 เท่าตัว


ข้อมูลด้านการปรุงยา

การดำเนินการผลิตยาสมุนไพรสูตรที่ทำการวิจัยนี้ มีกรรมวิธีตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบที่ใช้ปรุงยา, กรรมวิธีการผลิต ดังนี้

ก.      การเลือกวัตถุดิบ - ยาตำรับจากสมุนไพรสูตรที่ทำการศึกษาวิจัยนี้ใช้สมุนไพรในการปรุงยาได้แก่ บอระเพ็ดป่าชนิดต่างๆ หลายสายพันธุ์ ว่านนางคำ และพืชสมุนไพรอื่นๆรวม 11 ชนิด ผู้ปรุงยาจะเลือกพืชที่ได้อายุ เพื่อให้มีฤทธิ์ความเป็นยาสูงและเก็บยาไว้ใช้ได้นาน สมุนไพรแต่ละชนิดได้ถูกทดสอบฤทธิ์ของยา และทดสอบความป็นพิษเพื่อให้ผู้ใช้ยาสูตรนี้มีความปลอดภัยและได้ผลในการบำบัดรักษา

ข.     กรรมวิธีการผลิตการใช้ยา - ยาตำรับจากสมุนไพรสูตรที่ทำการศึกษาวิจัยนี้ มีวิธีการผลิตดังนี้

1)     ล้างทำความสะอาดพืชสมุนไพรสดด้วยน้ำสะอาด (Running water) แล้วนำสมุนไพรแต่ละชนิดหั่นเป้นแผ่นแล้วนำไปอบ หรือตากแดให้แห้งเพื่อไล่ความชื้นที่อุณหภูมิมาตรฐานซึ่งไม่ทำลายฤทธิ์ของยา

2)      ชั่งสมุนไพรแต่ละชนิดตามอัตราส่วนของน้ำหนัก แล้วเข้าเครื่องบดละเอียด อบแห้งด้วยเครื่องอบ ฆ่าเชื้อด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต แล้วจึงบรรจุแคปซูลขนาด 450 มิลลิกรัม ด้วยเครื่องบรรจุ


 

คำสำคัญ (Tags): #เกล็ดความรู้
หมายเลขบันทึก: 327919เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2010 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท