เชิญร่วมจาริกบุญขึ้นพระธาตุดอยตุง


เชิญร่วมจาริกบุญขึ้นพระธาตุดอยตุง

        

    การขึ้นพระธาตุ คือการทำบุญประการหนึ่งซึ่งตรงกับการไหว้หรือนมัสการพระเจดีย์ โดยเฉพาะเจดีย์ที่ว่ามีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่นั้น ถือว่าเป็นปูชนียสถานที่ควรแก่การเคารพกราบไหว้อันเป็นกริยาบุญ พระธาตุดอยตุง เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ ชาวเชียงราย มีประเพณีการเดินขึ้นดอยบูชาพระธาตุ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี มหาวิทยาลัยมห าจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ห้องเรียนวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย เล็งเห็นถึงความสำคัญของประเพณีดังกล่าว จึงได้กำหนดการจัดกิจกรรมจารึกบุญจาริกธรรมขึ้นพระธาตุดอยตุง เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีของชาวล้านนาให้ดำรงอยู่ตลอดไป

             วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ ๔๖ กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเนื่องจากพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร

    ห้องเรียนวัดพระแก้ว จึงได้จัดโครงการจาริกบุญขึ้นพระธาตุดอยตุงเพื่อให้ นิสิตของห้องเรียนวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย จำนวน 300 รูป/คนและพุทธศาสนิกชน จำนวน 100 คน ได้จาริกบุญบุญขึ้นพระธาตดอยตุง ในวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2553 กิจกรรมเริ่มตั้งตั้งแต่เวลา 13.00 น. เริ่มเดินขึ้นสู่พระธาตุดอยตุง จากนั้นจะมีการบำเพ็ญจิตภาวนา          

         ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์(ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะเถระได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง มีความยาว 1,000 วาปักบนยอดเขาหากทุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงค์มังราย พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้

                       แนะนำ/อุปกรณ์

๑.     การแต่งกาย

      ช่วงเดินทาง   แต่งกายชุดลำลอง, ชุดเดินป่าหรือชุดเรียบร้อย

        ช่วงเย็น          ชุดขาว (กรณีไม่มีชุดขาวให้ใช้กางเกงดำและเสื้อขาว) 

๒.   ที่พัก

          คฤหัสถ์ชาย   ทางเดินรอบนอกบริเวณวัดด้านทิศเหนือ (ชิดกำแพง)

         คฤหัสถ์หญิง  ลานขายของ/บริเวณในวัดด้านทิศตะวันตก 

๓.   ที่จอดรถ

          จุดที่  ๑    ในบริเวณวัดน้อย

           จุดที่ ๒     รอบวัดด้านทิศใต้ (ให้หันหน้าทางทิศตะวันตกเท่านั้น)

          จุดที่ ๓     หน้าวัดทางด้านทิศตะวันตก/ลานจอดรถ

     (ไม่อนุญาตให้นำรถไปจอดบริเวณพระบรมธาตุ)

๔.   ห้องน้ำ

        วัดน้อยดอยตุง   แยกชาย-หญิง (ในวัดด้านทิศเหนือ)

        พระบรมธาตุฯ   บริเวณลานจอดรถ บันไดทางขึ้นพระธาตุ

๕.   อุปกรณ์ที่เตรียมไป

         ไฟฉาย,ยาดม,ยานวด,ยารักษาโรค ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงฟัน

 

           

หมายเลขบันทึก: 327908เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2010 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท