ลำน้ำแห่งชีวิต


ลำน้ำแม่ลายน้อย แห่งปางจำปี

จากการเดินป่าท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม ในที่สุดพวกเราก็มาถึงที่พักตอนประมาณ 11 โมงกว่าๆ แล้วก็มานั่งล้อมวงกันเพื่อรับประทานอาหาร ซึ่งก็คือ...ข้าวห่อใบตองที่ทางชาวบ้านได้จัดเตรียมไว้ให้ ในแต่ละห่อก็จะมีอาหารแตกต่างกัน คือ บางห่อเป็นข้าวผัด บางห่อก็เป็นผัดกระเพราไข่ดาว ทำให้พวกเรารู้สึกเหมือนได้ย้อนยุคไปในอดีตและคิดว่าเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติที่ดีอีกวิธีหนึ่งเลยทีเดียว!!

เย้!! จะได้กินข้าวแล้ว ^^

 

นักศึกษาสุขใจ..อาจารย์ก็มีความสุข!!

 

ที่หมู่บ้านปางจำปีมีลำน้ำสายหลักสายหนึ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนในหมู่บ้านตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน นั่นก็คือ ลำน้ำแม่ลายน้อย ซึ่งคนในหมู่บ้านใช้ในการอุปโภคและบริโภคมาตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีการตั้งหมู่บ้าน ซึ่งพวกเราก็ได้ไปเดินสำรวจดูโดยมีลุงสวัสดิ์เป็นคนนำทางและผู้ใหญ่บ้าน(ลุงเมือง) ร่วมเดินทางไปกับเราด้วย!!

ลุงสวัสดิ์ ขัตติยะ (ทางซ้าย) และ ลุงสุจิตร  ใจมา (ลุงเมือง) ผู้ใหญ่บ้าน (ทางขวา)

 

ทางลงไปลำน้ำ ดูเป็นธรรมชาติมากเลย  ^^

 

 ผู้ใหญ่บ้านได้เล่าให้ฟังว่า… “เมื่อก่อนป่านี้เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีน้ำเยอะ เมื่อมีน้ำเยอะก็เลยมีปลาเยอะตาม คนในหมู่บ้านก็อาศัยหาปลาในลำน้ำนี้กินกัน โดยการตกเบ็ด การดักปลา หลังๆ เริ่มมีการช็อตไฟฟ้า ระเบิดปลา เบื่อปลาบ้าง ทำให้ปลานั้นเริ่มหมดและสูญพันธุ์ไป แต่ในระยะหลังมีการตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น ทำให้เกิดการสัมปทานป่า เนื่องจากคนในหมู่บ้านยังไม่มีความรู้ ไม่รู้จักการอนุรักษ์รักษาป่า แข่งขันกันตัดต้นไม้ จึงส่งผลให้เกิดวิกฤตน้ำแห้งในหน้าแล้งเพราะขาดความชุ่มชื้น และเกิดน้ำหลาก ดินถล่ม ในหน้าฝน เพราะหน้าดินถูกทำลายและไม่มีต้นไม้ไปดักหน้าดินไว้ ส่งผลให้สัตว์น้ำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปลา กุ้ง พืชน้ำ ฯลฯ ตาย” และผู้ใหญ่บ้านยังได้เล่าต่ออีกว่า “ปัญหาที่เกิดนั้นมาจากคนเป็นส่วนใหญ่ ถ้าคนไม่ไปทำลาย ระบบนิเวศน์ก็จะไม่เสีย”

 

ภาพแสดงลักษณะของวังปลา

 

ลุงสวัสดิ์ได้กล่าวเสริมต่อว่า “เมื่อสมัยที่ลุงเป็นเด็ก น้ำจะเยอะกว่าตอนนี้มาก ดูได้จากหิน จะเห็นว่าเรียบลื่น แสดงว่าเคยมีน้ำไหลผ่าน และสังเกตได้จากบริเวณหินจะมีคราบสีขาวติดอยู่ เพราะต้นไม้จะคายน้ำในตอนกลางคืนจึงทำให้น้ำเยอะ แต่ในตอนกลางวันน้ำจะลดลงประมาณ 2 นิ้ว ถือได้ว่าเป็นตัวบอกสภาพการเปลี่ยนแปลงของลำน้ำ สัตว์น้ำก็เยอะ มีทั้งปลาทั้งกุ้งอยู่ในลำน้ำกันเป็นกลุ่มๆ แต่ปัจจุบันจะเห็นได้ก็แค่ในเขตอนุรักษ์ ซึ่งก็คือ..วังปลา เท่านั้น ส่วนสัตว์น้ำสำคัญประจำถิ่น คือ ปลาบะหาว ซึ่งมีลักษณะปากกว้างและฟันแหลม และยังมีตะพาบน้ำซึ่งเป็นสัตว์หายาก ราคาแพง  กินปลาเป็นอาหาร ปัจจุบันสัตว์ประเภทนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว”

 

ว้าว!! น้ำใสจังเลย>>มองเห็นปลาด้วย

 

หลังจากที่พวกเราเดินสำรวจและเก็บข้อมูลกันมาพอสมควรแล้ว ก็ได้นำข้อมูลที่ได้ในวันนี้มาช่วยกันรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อให้เข้าใจกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น!

ตั้งหน้าตั้งตาทำงานกันอย่างขมักเขม้น!

และเรายังมีเรื่องราวดีๆ สนุกๆ ต่างๆ อีกมากมาย มามอบให้กับผู้อ่านทุกท่าน ว่าแต่จะเป็นเรื่องอะไรนั้น โปรดติดตามชมในบันทึกต่อไปนะคะ ^ ^

 

น.ส. ผกาพันธ์        อิ่นแก้ว

5214101342

หมายเลขบันทึก: 327132เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2010 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท