สรุปปัญหาความยากจน


สรุปปัญหาความยากจน

สรุป

 ในการวิเคราะห์ปัญหาความยากจนโดยทั่วไปแล้วนั้น อาจพิจารณาจากเกณฑ์หรือเครื่องวัด อันได้แก่ ความยากจนเชิงรายได้ หรือความยากจนสัมบูรณ์ โดยการการพิจารณาจากเส้นความยากจน (Poverty Line) และความยากจนเชิงการกระจายรายได้ หรือความยากจนสัมพัทธ์ ซึ่งเป็นการวัดความยากจนเชิงเปรียบเทียบด้านการกระจายรายได้ของสังคม โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค หรือ ดัชนีสัมประสิทธิ์จีนี (Gini Coefficient) มาเป็นเกณฑ์การวัด

เมื่อพิจารณาข้อมูลความยากจน จะพบว่า แนวโน้มจำนวนคนจนที่วัดจากเส้นความยากจนตามนิยามของทางการปรับตัวลดลง สะท้อนถึงแนวโน้มปัญหาความยากจนของสังคมไทยเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ยังคงเป็นประเด็นที่ควรติดตาม เนื่องจาก เศรษฐกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอาจจะส่งผลลบต่อการกระจายรายได้ ถ้าหากว่าการปรับเพิ่มขึ้นของ GDP โดยรวมนั้น เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของ GDP นอกภาคเกษตรกรรมมากกว่า GDP ในภาคเกษตรกรรม

นอกจากนั้น จากรายงานเบื้องต้นของสำนักงานคณะกรรมกาสถิติแห่งชาติ ระบุว่า รายได้ครัวเรือนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 17,094.0 บาท/ครัวเรือน/เดือน ณ ไตรมาส 1/2547 หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น 10.5% จากระยะเดียวกันปีก่อน ในขณะที่ ยอดหนี้ครัวเรือนไทยในช่วงเวลาเดียวกันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 110,133.0 บาท/ครัวเรือน หรือขยายตัว 14.7% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ หรือมีหนี้คิดเป็น 6.4 เท่าของรายได้ และเมื่อนำตัวเลขรายได้และหนี้สินดังกล่าวมาคำนวณหาสัดส่วนเพดานการก่อหนี้ที่เหมาะสมของครัวเรือนไทยจากแบบจำลองรายได้รายจ่ายของครัวเรือนที่จัดทำโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ครัวเรือนไทยไม่ควรจะก่อหนี้สูงกว่า 6.2 เท่าของรายได้ และถ้าหากว่าอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น 1.0% ต่อปี เพดานการก่อหนี้ที่เหมาะสมก็จะปรับต่ำลงมาอยู่ที่ระดับไม่เกิน 4.3 เท่าของรายได้ โดยทั้ง 2 ระดับอยู่ต่ำกว่าระดับการก่อหนี้ที่เกิดขึ้นจริงของครัวเรือนไทยที่ระดับ 6.4 เท่าของรายได้ (จำนวน 110,133.0 บาท/ครัวเรือน) ซึ่งบ่งชี้ถึงครัวเรือนไทยก่อหนี้สูงกว่าเพดานที่เหมาะสม ทำให้คาดว่าครัวเรือนไทยอาจจะยังคงต้องเผชิญกับวงจรปัญหาหนี้สินต่อไปอีก

หมายเลขบันทึก: 327039เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2010 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท