คนยากจนคือใคร วัดกันอย่างไร?


คนยากจนคือใคร วัดกันอย่างไร?

คนยากจนคือใคร วัดกันอย่างไร?

เวลาใครกล่าวถึงความยากจน ผู้กล่าวมักจะมีกรอบคิดในเรื่อง ความหมายและสาเหตุที่มาของความยากจนไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว (ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่) เช่น กรอบคิดว่า คนจนคือผู้มีรายได้ต่ำไม่เพียงพอกับการ

ยังชีพ  หรือมีฐานะความเป็นอยู่ต่ำกว่าคนอื่น ๆ เนื่องมาจากเป็นคนที่ฉลาดน้อยกว่าคนอื่น เกียจคร้าน,  ไม่ขวนขวาย  ไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่ ฯลฯ แต่กรอบคิดแบบนี้ เป็นแค่ความคิดความเชื่อของคนที่รวยแล้วหรือไม่ค่อยจน โดยที่ไม่ใช่ความจริงทางสังคมทั้งหมด 

  1. 1.       การนิยามและชี้วัดความยากจน  โดยมองจากรายได้

1.1  ความยากจนใน เชิงสัมบูรณ์

ใช้แนวคิดรายได้ที่พอเพียงแก่การบริโภคขั้นพื้นฐานเป็นหลัก โดยคำนวณจากจำนวนแคลลอรี่ของอาหารที่คนเราจำเป็นต้องบริโภคและการใช้จ่ายที่จำเป็นอื่น ๆ ออกมาว่าคนเราควรจะมีรายได้เท่าไหร่ จึงจะพอซื้อหาอาหารจ่ายค่าเช่าบ้านหรือซื้อบ้านและเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็นเพียงพอแก่การดำรงชีพต่อไป และใช้ตัวเลขนี้เป็นเส้นความยากจน คือใครที่มีรายได้ต่อหัวต่อเดือนต่ำกว่าเส้นนี้ก็ถือว่ายากจน

1.2  ความยากจน เชิงเปรียบเทียบ    วัดโดยใช้การเปรียบเทียบรายได้ของคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ว่ามีความแตกต่างในส่วนแบ่งของรายได้ทั้งหมดมากน้อยอย่างไร

1.2.1) ความยากจนเปรียบเทียบจากการกระจายรายได้

1.2.2) ความยากจนเชิงเปรียบเทียบรายได้ของคนจนกับรายได้เฉลี่ยของคนทั้งประเทศ

1.2.3) ความยากจนเปรียบเทียบรายได้เฉลี่ยของคนในอาณาบริเวณ

      2. การนิยามและชี้วัดความยากจน ในแง่คุณภาพชีวิตคน  

การนิยามและวัดความยากจนในแง่รายได้เป็นพื้นฐานที่สำคัญ แต่ไม่เพียงพอ หรือถ้าเน้นว่าความยากจนเกิดจากรายได้ต่ำอย่างเดียวอาจจะนำไปสู่ข้อสรุปและแนวทางแก้ปัญหาที่ผิดพลาด เช่น มุ่งให้เงินกู้, มุ่งพัฒนาระบบตลาดเพื่อสร้างรายได้โดยอาจจะเป็นการเพิ่มหนี้สินในอัตราสูงกว่าการเพิ่มรายได้

2.1  การวัดความยากจนโดยใช้ข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ)

                กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการสำรวจจัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลในระดับครัวเรือนในหมู่บ้าน นอกเขตเทศบาล ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต ที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำไว้ว่า คนควรจะมีคุณภาพชีวิตในเรื่องต่าง ๆ อย่างไร จึงจะมีชีวิตที่ดีและสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

การแบ่ง หมวดตัวชี้วัด จปฐ เป็น 8 หมวด ประกอบไปด้วย

 1.สุขภาพอนามัยดี

2.ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

3.ได้รับการศึกษาและรับรู้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์

4.ครอบครัวสุขสบาย

5.มีอาชีพและรายได้พอเพียง

6.มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

7.มีการพัฒนาจิตใจ

8.มีจิตสำนึกและร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม       (ศูนย์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย  รายงานคุณภาพชีวิตของคนไทย จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) ปี 2542)

 

 

 

2.2  การวัดความยากจนจากข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช 2 ค)

                เป็นการจัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน นอกเขตเทศบาลทุก 2 ปี เพื่อแสดงความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ และสังคม จัดทำโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยเหมือนกัน แต่มีการกำหนดตัวชี้วัดและวิธีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ต่างกัน

 2.3  การวัดความยากจนโดยดัชนีความขัดสน (Index of Deprivation-IHD) ของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNDP Thailand)

                 เป็นการพัฒนาดัชนีขึ้นใหม่ จากแนวคิดของดัชนีการพัฒนาคน (Human Development Index-HDI) ที่ UNDP ใช้วัดเปรียบเทียบระหว่างประเทศต่าง ๆ กว่า 170 ประเทศ และพิมพ์รายงานเผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2523

                ดัชนีการพัฒนาคน ใช้ข้อมูลที่สำคัญ 3 ข้อ คือ ระดับรายได้ที่จำเป็นแก่การสามารถมีชีวิตที่ดี, ข้อมูลสุขภาพโดยดูจากอายุขัยเฉลี่ยของประชากรและอื่น ๆ และข้อมูลการศึกษา โดยดูจากข้อมูลการอ่านออกเขียนได้, การมีโอกาสได้เรียน และอื่น ๆ

 

 3.  วิพากษ์การให้นิยามความยากจนแบบทางการ

                 กรอบคิดที่วัดความยากจนในแง่รายได้ล้วนๆ นำไปสู่การเสนอแนวทางแก้ไขที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมเป็นด้านหลัก

                 ธนาคารโลก และนักเศรษฐศาสตร์ผู้สนับสนุนแนวทางการพัฒนาแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมตะวันตกเป็นผู้เผยแพร่กรอบคิดการวัดความยากจนของประเทศในแง่การวัดจากรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร หรือความสามารถในการผลิตเพื่อหารายได้มาซื้อสินค้าและบริการ ประเทศที่มีรายได้ต่อหัวโดยเฉลี่ยต่ำถูกจัดว่าเป็นประเทศยากจน คนที่มีรายได้ต่ำกว่าระดับรายได้ที่จะใช้ในการยังชีพ ถือว่าเป็นคนยากจน

 4.  การให้นิยามคนจนและสภาพเงื่อนไขความยากจน เชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคม

                 การนิยามคนยากจน  ควรขยายให้กว้างมากกว่าคนที่รายได้ต่ำกว่าเส้นวัดความยากจน  นั่นก็คือควรจะรวมคนขัดสน, ด้อยโอกาส, คนในภาวะยากลำบาก ทั้งในเชิงการเมือง สังคม และวัฒนธรรมด้วย ชาวบ้านเองก็จะมีคำที่เรียกคนอยู่ในสภาวะแบบนี้ แบบรวม ๆ ว่า คนทุกข์คนยาก

หมายเลขบันทึก: 327029เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2010 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท