รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

พิษภัยของบุหรี่


บุหรี่มือที่สาม

เป็นที่ทราบกันดี ถึงอันตรายและพิษภัยของบุหรี่  ที่เกิดกับนักสูบบุหรี่มือหนึ่งทั้งหลาย

แล้วนักสูบบุหรี่มือสองล่ะเป็นอย่างไร?

          นักสูบบุหรี่มือสอง ก็คือ ผู้ที่สูบ ควันมือสอง (Secondhand Smoke) นั่นเอง    ควันมือสอง ก็คือควันบุหรี่ที่นักสูบบุหรี่มือหนึ่งปล่อยออกมา  ซึ่งส่วนใหญ่นักสูบบุหรี่มือสอง ก็ได้แก่  ลูก สามี ภรรยา ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเป็นบุคคลทั่วๆไปในที่สาธารณะ เป็นผู้ที่ไม่กล้าท้วงติง นั่นเอง ในขณะที่การสูบบุหรี่มือสอง (Secondhand Smoking) คือ การได้รับควันบุหรี่จากคนที่สูบบุหรี่อยู่โดยที่ตัวเองไม่ได้สูบ

           การสูบบุหรี่มือที่สาม(Thirdhand smoking)คือ การหายใจหรือการสัมผัส สารพิษขนาดเล็กมากที่มาจากควันบุหรี่และตกค้างอยู่ตามที่ต่างๆหลังจากบุหรี่ถูกดับไปแล้ว สารพิษตกค้างจากควันบุหรี่เหล่านี้มีกว่า 250 ชนิดซึ่งมี  11 ชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง สารตัวที่บุคลากรทางการแพทย์ให้ความสำคัญมากที่สุดตัวหนึ่งคือ สารกัมมันตภาพรังสี โพโลเนียม-210  ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งและตกค้างอยู่ได้นาน ฉะนั้นถึงแม้พ่อ แม่ ผู้ปกครองจะไม่สูบบุหรี่ขณะที่มีเด็กอยู่ด้วย แต่สารพิษเหล่านี้สามารถตกค้างอยู่บนพื้นบ้าน เฟอร์นิเจอร์ และเสื้อผ้าได้เป็นเวลานาน ซึ่งเด็กๆ จะได้รับสารพิษนี้โดยการสัมผัสโดยง่าย เมื่อเล่น คลาน หรือ หายใจใกล้กับสถานที่ที่มีสารตกค้างอยู่  มีงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Pediatrics ซึ่งจัดพิมพ์โดยสมาคมกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatrics) กล่าวว่า จากการสอบถามชาวสหรัฐจำนวน 1500 คน พบว่ายังมีอีกเกือบ 40% ที่ไม่เชื่อว่าการสูบบุหรี่มือสามมีอันตรายต่อเด็ก  และยังพบอีกว่าผู้ที่เชื่อว่าการสูบบุหรี่มือสามมีอันตรายต่อเด็กจะมีกฎเกณฑ์ห้ามสูบบุหรี่ในบ้านอย่างเด็ดขาด มากกว่ากลุ่มที่ไม่เชื่อ ถึง 2.9 เท่า ในขณะที่ไม่พบความสัมพันธ์นี้ในกลุ่มที่มีความเชื่อว่าการสูบบุหรี่มือสองมีอันตรายต่อเด็ก ฉะนั้น จึงควรรีบสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่มือสามแก่พ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมให้บ้านปลอดบุหรี่อย่างเด็ดขาดเพื่อเด็กไทยไม่เป็นเหยื่อของบุหรี่โดยไม่รู้ตัว        

อ้างอิงจาก Belief about the health effects of “Thirdhand” smoke and home smoking bans.   Winickoff JP, Friebely J, Tanski SE, Sherrod .

ปัจจุบันเราถือว่าการติดบุหรี่เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เราเรียกว่า "โรคติดบุหรี่" จึงจำเป็นต้องบำบัดรักษา  สำหรับคนไทย ใช้วิธีการเลิกบุหรี่ โดย

-หักดิบ  เลิกทันทีด้วยตนเอง

-สายด่วนเลิกบุหรี่ National Quitline 1600 เป็นการให้คำปรึกษา ติดตามโดยทีมงานสายวิชาชีพ  เพื่อช่วยในการเลิกสูบบุหรี่

-การรักษาโดยแพทย์/บุคลากรสุขภาพ
     * รักษาโดยไม่ใช้ยา
     * รักษาโดยใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่

แนวทางการบำบัดรักษาโรคติดบุหรี่

     แนะนำให้ใช้มาตรการ 5A ในการค้นหาผู้สูบบุหร่และดำเนินการช่วยเหลือให้บุคคลเหล่านั้นสามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ ประกอบด้วย

Ask          A1 ถามประวัติการสูบบุหรี่และการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบอื่นๆทุกชนิด

Advice      A2 แนะนำให้ผู้สูบบุหรี่ เลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด

Assess      A3 ประเมินความรุนแรงในการติดบุหรี่และความประสงค์ในการเลิกบุหรี่

Assist       A4 ช่วยเหลือและบำบัดรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ

Arrange   A5 ติดตามผลการบำบัดเพื่อช่วยเลิกสูบบุหรี่ของผู้สูบทุกราย(follow up)

 

 

      
 

บันทึกหลังการอบรมเรื่อง "การดูแลรักษาภาวะติดบุหรี่(Smoking Cessation  in Practice) รุ่นที่ 1 วันที่ 7-8 มกราคม 2553 ณ โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพ โดยสุภาวดี เวตติวงษ์และจรรยา กระจ่างทอง รพ.หนองม่วง จ.ลพบุรี

หมายเลขบันทึก: 326978เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2010 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่เห็นประโยชน์มีแต่โทษกว้างขวาง

เมื่อไรหนอมนุษย์จะลเิกทำร้ายตัวเองและผู้อื่น

โดยเลิกยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่

แวะมาเยี่ยมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท