นั่งกระบะหลังเสี่ยงเท่าไร


ไทยรัฐ สำนักข่าวคุณภาพ 9 มกราคม 2553 ตีพิมพ์ผลการศึกษาใหม่พบ [ ไทยรัฐ ]

(1). โอกาสตายจากการนั่งกระบะตอนหลังสูงกว่าตอนหน้า = 8 เท่า

(2). โอกาสรถพลิกคว่ำ กรณีคนท้ายกระบะนั่งลง 10 คน = 2 เท่า

(3). โอกาสรถพลิกคว่ำ กรณีคนท้ายกระบะยืนขึ้น 10 คน = 4 เท่า

...

เรื่องที่ไทยรัฐนำมาตีพิมพ์เป็นเรื่องที่มีคุณค่าต่อสังคมไทย ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง

ถ้าท่านได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ ขอความกรุณาแวะไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ "ไทยรัฐ" กันครับ

...

[ ขอขอบพระคุณ "ไทยรัฐ" ]

ผจก.ศูนย์วิชาการ เพื่อความปลอดภัยทางถนน ยกผลศึกษาเตือนภัยผู้ปกครอง นำลูกหลานนั่งท้ายรถกระบะตระเวนเที่ยววันเด็ก เสี่ยงอุบัติเหตุ-บาดเจ็บรุนแรงสูง  เผยนั่งกระบะหลัง เสี่ยงตายสูงกว่านั่งกระบะตอนหน้า 8 เท่า..

เมื่อวันที่ 9 ม.ค. นพ.ธนะพงษ์ จินวงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า

...

ในช่วงวัน เด็ก เป็นวันที่ผู้ปกครองจะพาบุตรหลานไปเที่ยวงานวันเด็กตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งภาพที่มักพบเห็นจนชินตา คือ ผู้ปกครองจะนำเด็กขึ้นท้ายรถกระบะตระเวนเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ สร้างความสนุกเพลิดเพลินให้กับเด็กที่อยู่บนรถกระบะท้าย

แต่สิ่งที่หลายคนมักมองข้ามคือ คือ ความปลอดภัยของเด็กที่อยู่ท้ายรถกระบะ

...

เพราะการบรรทุก คนจำนวนมาก โอกาสเสี่ยงต่อการเสียหลักพลิกคว่ำของรถกระบะจะสูงกว่ารถปกติ  ซึ่งบทเรียนของเหตุการณ์รถกระบะบรรทุกเด็กๆ จำนวน 19 คน เสียหลักพลิกคว่ำชนต้นไม้ เป็นเหตุให้มีเด็กเสียชีวิตถึง 9 ศพ เมื่อปีที่แล้ว ที่ จ.นราธิวาส คงเป็นอุทาหรณ์เตือนใจได้เป็นอย่างดี

นพ.ธนะพงษ์ กล่าวต่อว่า ข้อมูลจากศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย พบว่า หากเกิดอุบัติเหตุ ผู้โดยสารรถกระบะหลังจะได้รับความรุนแรงจากการบาดเจ็บมากกว่าผู้โดยสารที่ นั่งข้างหน้า

...

สอดคล้องกับ การศึกษาในอเมริกาที่ยืนยันว่า ความเสี่ยงที่ผู้โดยสารกระบะหลังจะเสียชีวิตมีมากกว่าผู้โดยสารตอนหน้าถึง 8 เท่า ซึ่ง 25-50% ของผู้ประสบอุบัติเหตุเกิดจากอุบัติเหตุเสียหลักที่ไม่ได้ชนกับรถคันอื่นๆ 

นอกจากนี้ สถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างปี 2545-2550 ระบุว่า อุบัติเหตุจากรถกระบะเกิดขึ้นเป็นลำดับ 3 รองจากรถจักรยานยนต์ และรถยนต์ส่วนบุคคล

...

แต่เมื่อพิจารณา จากจำนวนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ รถกระบะเป็นรองเพียงรถจักรยานยนต์เท่านั้น เนื่องจากผู้โดยสารรถกระบะหลังเป็นกลุ่มผู้ใช้รถที่ไม่ได้รับการป้องกัน (unprotected road user)

เมื่อ เกิดอุบัติเหตุ ผู้โดยสารกระบะหลังจะพุ่งเคลื่อนที่อย่างไร้ทิศทางไปกระแทกเข้ากับสิ่งต่างๆ ภายในรถ หรือพุ่งไปชนวัตถุข้างทางอื่นๆ เช่น พื้นถนน ข้างทาง เสา ต้นไม้ จึงเกิดความรุนแรงจากการบาดเจ็บมาก

...

“ในการขับ ขี่นั้น มีน้อยคนที่รู้ว่า การบรรทุกคนหรือของบนรถกระบะหลังมากๆ ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเสียหลักหรือพลิกคว่ำมากกว่าปกติ เนื่องจากจุดศูนย์ถ่วงสูงขึ้น

เมื่อ ประเมินจากปัจจัยด้านเสถียรภาพของรถแล้ว สามารถประเมินได้ว่า หากมีผู้โดยสารนั่งอยู่บนกระบะหลัง 10 คน น้ำหนักคนละ 60 กิโลกรัม จะทำให้มีโอกาสพลิกคว่ำมากกว่าเดิม 2 เท่า

...

แต่หากผู้ โดยสารทั้งหมดยืนขึ้นจะทำให้มีโอกาสพลิกคว่ำมากกว่าเดิมถึง 4 เท่า ซึ่งน่าเป็นห่วงสำหรับผู้ขับขี่ที่ไม่ชินกับการบรรทุกของหนักเป็นประจำ” นพ.ธนะพงษ์ กล่าว

และ ว่า นอกจากผู้ปกครองจะต้องช่วยกันระมัดระวังและดูแลในเรื่องนี้แล้ว คงจะต้องอาศัยบทบาทของตำรวจที่จะช่วยกวดขันรถกระบะที่บรรทุกคนจำนวนมาก ให้ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อมิให้เกิดเหตุเศร้าสลดในวันเด็กอย่างเช่นปีที่ผ่านมา

[ ขอขอบพระคุณ "ไทยรัฐ" ]

หมายเลขบันทึก: 326692เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2010 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 07:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท