ความเป็นปรนัย ดีที่สุดแล้วหรือ???


                ได้อ่านคอลัมน์ “คิดสลับขั้ว” ในนิตยสาร way ฉบับที่ 30 ของนายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ในหัวข้อเรื่อง “องค์กรปรนัย ตัวชี้วัด และ วิสัยทัศน์เฉลี่ยแบบสมานฉันท์” ทำให้นึกถึงเรื่องต่างๆในชีวิตเกี่ยวกับความสำคัญของ “ความเป็นปรนัย” ในด้านการประเมินเรื่องต่างๆอยู่เหมือนกัน

                ความสำคัญของการเป็นปรนัยในการประเมินนั้น หากจะให้ผู้คนยอมรับในสิ่งที่เราประเมิน เราก็จะต้องมีหลักฐานที่เป็นมาตรฐาน หลักฐานที่น่าเชื่อถือมายืนยัน เพื่อสนับสนุนสิ่งที่เราได้วิเคราะห์ออกไป ซึ่งแน่นอน การให้คะแนนนั้นต้องมีความเป็นปรนัย ชัดเจน เป็นรูปธรรม

                แต่ถามว่าสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่ดีที่สุดหรือไม่ อย่างที่ผมได้อ่านคอลัมน์ของนายแพทย์โกมาตร ที่ท่านได้เขียนว่า “ทำไป ทำมา คนที่ได้ดีในระบบงานไม่ใช่คนที่เก่งเรื่องงาน แต่กลายเป็นคนที่เก่งเรื่องการกรอกตัวชี้วัด” ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่บอกว่าเห็นด้วยอย่างยิ่งนั้น เนื่องจากว่าเคยมีประสบการณ์ได้ลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์อนามัยอำเภอในเรื่องเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ไปๆมาๆได้ฟังท่านที่เราไปสัมภาษณ์บ่นเกี่ยวกับเรื่องตัวชี้วัด การกรอกข้อมูลต่างๆอะไรอยู่เหมือนกัน ท่านบ่นว่ามันทำให้เสียเวลาอย่างมากมาย และสอนให้ข้าราชการโกหกเก่ง เพราะคนที่เขียนได้ดี สร้างข้อมูลขึ้นมาเก่งๆ ก็จะได้รับผลประโยชน์มากกว่าคนที่ทำงานจริง แต่เขียน หรือกรอกข้อมูลได้ไม่เก่งเท่า

                ย้อนมาที่คำถาม การทำอะไรให้เป็นปรนัยนั้น เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้วหรือยัง หรือมีวิธีการอื่นที่จะช่วยกำจัดปัญหาตรงนี้ออกไปหรือไม่ ก็คงเป็นสิ่งที่ต้องไปขบคิดกันให้ชัดเจน แต่คงไม่ต้องชัดเจนแบบเป็นปรนัย .... มั้ง??

หมายเลขบันทึก: 325990เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2010 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เพราะว่าเจ้านายไม่สนใจที่จะติดตามตัวลูกน้องเองป่าว ก็เลยเห็นว่าคนไหนเขียนดีกรอกข้อมูลดีได้ผลประโยชน์ไป

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คนที่ทำงานไม่ดี แล้วจะเอาข้อมูลที่ไหนมาเขียนงานให้ได้ดีๆว่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท