occrayong
กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม รพ.ระยอง

ข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลระยอง


โรงพยาบาลระยองปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 555 เตียง
สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข

สถานที่ตั้ง

โรงพยาบาลระยอง สร้างอยู่บนที่ดินของวัดป่าประดู่และเป็นที่ธรณีสงฆ์ เลขที่ 138 ถนนสุขุมวิท ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง มีเนื้อที่ประมาณ 26 ไร่

ทิศเหนือติดถนนหลังวัดป่า (ที่ดินของวัดป่าประดู่)
ทิศใต้ติดถนนสุขุมวิท
ทิศตะวันออกติดโรงเรียนวัดป่าประดู่
ทิศตะวันตกติดถนนจันทอุดม

ประวัติโรงพยาบาลระยอง

ในปี พ.ศ.  2489  ข้าราชการ พ่อค้า  ทนายความ คหบดี และประชาชนจังหวัดระยองได้มีความคิดร่วมกันว่า จังหวัดระยองควรมีโรงพยาบาลประจำจังหวัดขึ้น เพื่อบำบัดทุกข์อันเนื่องจากโรคภัยและอุบัติเหตุต่าง ๆ เพราะขณะนั้นการคมนาคมทางบกติดต่อกับอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีและกรุงเทพฯ เป็นไปด้วยความลำบาก ดังนั้นจึงมีการปรึกษาหารือเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ และโดยเหตุที่สมัยนั้นการคมนาคมระหว่างประชาชนผู้อยู่อาศัยทางฝั่งเหนือกับฝั่งใต้ มีสะพานแคบสะพานเดียวใช้ข้ามไปมาหากัน บรรดาผู้ที่อยู่ฝั่งใต้ก็ใคร่ที่จะเห็นโรงพยาบาลตั้งอยู่ในฝั่งของตน เพื่อความสะดวกในการติดต่อ ส่วนผู้ที่อาศัยทางฝั่งเหนือเห็นควรตั้งอยู่ที่วัดจันทอุดม (วัดเก๋ง) คือที่อยู่ในขณะนี้ สรุปแล้วเห็นว่าเหมาะสมหลายประการคือ เป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วม ไม่ไกลจากชุมชนจนเกินไป เป็นศูนย์กลางของการติดต่อ ระหว่างอำเภอทั้งสามขณะนั้นคือ อำเภอบ้านค่าย อำเภอแกลงและอำเภอเมือง ตลอดจนทางรถยนต์สายกรุงเทพฯ ต้องวิ่งผ่านจังหวัดระยองไปจันทบุรี ดังนั้นในปี พ.ศ. 2490 คณะกรรมการจังหวัดระยอง ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คือ นายวิจิตร ลุสิตานนท์ กับผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง คือ นายเศวต เปี่ยมพงศ์ศานต์ เป็นกรรมการปรึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง คือ ขุนวรคุตคณารักษ์ เป็นประธาน ประกอบด้วยกรรมการจังหวัด ข้าราชการ พ่อค้า  คหบดี และทนายความ เป็นกรรมการจัดหาเงินโดยวิธีบอกบุญตามแต่ศรัทธาบริจาค ในครั้งนั้นได้รับเงินสุทธิทั้งสิ้น 3,974.58 บาท ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลสบทบ ด้วย 120,000 บาท ถึง พ.ศ. 2492 ได้รับเงินงบประมาณจากรัฐบาลอีก 162,744 บาท ครั้งแรกจึงได้ดำเนินการสร้างตึกอำนวยการ ในระยะเริ่มแรกระหว่างนี้ ท่านขุนศรี สาคร ได้นำเงินมรดกของ นางสาวแก้ว แซ่ตัน จำนวนเงินทั้งหมด 23,681.17 บาท สมทบ รวมทั้งมีผู้อื่นบริจาคสมทบอีก ทางโรงพยาบาลระยองจึงได้เริ่มลงมือทำการก่อสร้างอาคารขึ้นในสมัย พันโทหลวงนิตย์ เวชวิเศษฎ์ เป็นอธิบดีกรมการแพทย์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2492 จนสำเร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2493 ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2494 และได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลศูนย์ เมื่อปี พ.ศ. 2540

วิสัยทัศน์ (Vision)  

เป็นโรงพยาบาลคุณภาพที่ได้มาตรฐาน ผู้รับบริการเชื่อมั่นศรัทธา ผู้ให้บริการรักและผูกพันองค์กร

พันธกิจ (Mission)

โรงพยาบาลระยองมุ่งมั่นในการให้บริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคที่ได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้รับและผู้ให้บริการ (พุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551)

หมายเลขบันทึก: 325980เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2010 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เดี๋ยวนี้โรงบาลได้วางระบบใหม่แล้วงั้นเหรอ ไอ้พวกความสะดวกสบายทั้งหลายที่อยู่ในระบบเนี่ยมึงวางเพื่อบริการประชาชนหรือบริการตนเองกันแน่หา? จากที่ตอนยื่นเวลานัดของหมอแล้วรับบัตรคิวได้เลย กลับแบ่งเวลาเป็นเช้ากับบ่ายไม่วางเพล็ทฟอร์มในคราวเดียวกันไว้แล้วแยกโซนเวลาอัตโนมัติ(คนไข้จะได้ไม่ต้องเดินทางไปมาหลายรอบ)แบบถ้ามีธุระช่วงสายๆ10:00-11:50น.อยากยื่นให้ก่อนในตอนเช้าๆแต่กลับบอกคนไข้ว่าต้องมายื่นตอน11:30น.แล้วถึงจะได้รับบัตรคิว ก็ควรกลับไปใช้แบบที่มันยื่นบัตรแล้วออกบัตรคิวให้เลยดีกว่ามั๊ย แล้วหัดทำอะไรๆให้มันรวดเร็วกว่านี้ด้วยนะ เพราะเท่าที่เห็นมาในส่วนงานรัฐทุกองค์กร์(ทุกๆตัวในภาครัฐ)แม่งไม่มีใครทำงานรวดเร็วและฉับไวเลย รวมทั้งยังพูดจากับประชาชนแบบ"มะนาวไม่มีน้ำ"อีกด้วย(คือพวกสปส.ระยอง)

..............................คนเมืองสุนทรภู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท