สวัสดิการพะเยา "คนไม่ทิ้งกัน"


สวัสดิการคนพะเยา เป็นเสมือนหุ้นส่วนทางสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน เพราะคนพะเยาคือคนพะเยาที่ร่วมกันสรางระบบสวัสดิการ จังหวัดเล็กที่ใจใหญ่มาเป็นผู้พลิกระบบสังคมเรา

สวัสดิการชุมชน คนพะเยา 

 

กว้านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง 

บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งานลือเรื่องดอยบุษราคัม

 

                ในปี 2550 -2551 จังหวัดพะเยาด้มีกระบวนการขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ทั้งหมด 15 ตำบล ซึ่งมีเกณฑ์การคัดเลือกตำบลได้แก่ ต้องเป็นพื้นที่ที่เคยขับเคลื่อนงานด้านชุมชนเข้มแข็งมาก่อน เช่น แผนชุมชน แผนที่ทุนทางสังคม ครอบครัวเข้มแข็ง และมีฐาน แกนนำ/องค์กรชุมชนที่ทำงานมาแล้วหลายปี จากผลจากการขับเคลื่อนทำให้เกิดสวัสดิการตำบลเป้าหมายแล้ว 10 ตำบลซึ่งมีทั้งสมาชิกและองค์กรท้องถิ่นให้การสนับสนุนและสมทบกองทุน และอีก 5 ตำบลยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ ในปี 2551 จังหวัดพะเยาจะขยายพื้นที่ในการขับเคลื่อนอีก 32 ตำบล และในปี 2552 จังหวัดพะเยา จะขยายให้เต็มพื้นที่จังหวัดพะเยา โดยกระบวนการอาศัยการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนบนฐานงานเดิมที่มีอยู่แล้ว  และอาศัยหลักเกณ์เบื้องต้น ในเรื่องโครงสร้างคณะกรรมการ ระเบียบกองทุน หรือจำนวนสมาชิกเป็นต้น เพื่อการพิจารณากองทุนสวัสดิการที่เข้ามาร่วม

                ปี 2552 การจังหวัดพะเยาได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน  ภายใต้งบประมาณโครงการไทยเข้มแข็งที่สนับสนุนเรื่องการจัดสวัสดิการชุมชนทั้งประเทศเป็นจำนวน  727.3 ล้านบาท ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการ ภายใต้แนวคิดการทำงาน “ ภาคราชการ : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ภาคประชาชน”  ที่ต้องเป็นผู้ขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนให้ออกดอกผล  และมีพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นกองเลขาหรือคุณอำนวยในการพัฒนาระบบให้เกิดความยั่งยืนและประสานงานร่วมกัน ทั้งนี้ได้มีการร่วมพัฒนายุทธศาสตร์ระดับจังหวัด 5 ข้อ (ยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด 5 ข้อ)

  1. ให้ชุมชนท้องถิ่นเป็น “เจ้าของกองทุนสวัสดิการ” บริหารจัดการโดยชุมชน
  2. หนุนเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นกลไกการขับเคลื่อนระดับจังหวัด
  3. พัฒนาสวัสดิการชุมชนร่วมกับหน่วยงาน ภาคีและขบวน ศจพ.จังหวัด
  4.  เปลี่ยนการทำงานให้ชุมชนเป็นหลัก หน่วยงานให้การสนับสนุน
  5. เชื่อมโยงและบูรณาการกองทุน / ทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น ให้เป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น โดยการรวมทุนชุมชน ทุนท้องถิ่น และทุนจากส่วนกลาง

 เป้าหมายสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นคนพะเยา

        จากการสวัสดิการสังคมคนพะเยาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน  มีจุดมุ่งหวังเพื่อให้เกิดระบบการจัดสวัสดิการพื้นฐานโดยชุมชนเป็นหลักดูแลร่วมกับท้องถิ่น รวมถึงสังคมที่มีความเอื้ออาทรและห่วงใยกัน “ภานใต้แนวคิดสังคมไม่ทอดทิ้งกัน” ที่ผ่านมากระบวนการสวัสดิการสังคมได้เข้าไปประสานให้เกิดความร่วมมือในการทำงานด้านอื่นๆ อาทิ การเกษตร ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เป็นต้น แสดงถึงการเข้าไปในกระบวนการต่างๆ อย่างเป็นกลไกเครือข่ายภายใต้ เครือข่ายสวัสดิการจังหวัดพะเยา ทั้งนี้ทิศทางต่อไปของโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนคือ การประสานความร่วมมือและเป็นเจ้าของร่วมกันอย่างมีการพัฒนาและค่อยเป็นค่อยไป ชุมชนเป็นแกนหลักในการดำเนินการ โดยมีแผนที่นนำทางคือ

 

สวัสดิการ 3 ประสาน(จังหวัดพะเยา) : “ ภาคราชการ : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ภาคประชาชน” แนวทางการเคลื่อนสวัสดิการจังหวัดพะเยา  [1]

จังหวัดพะเยามีแนวทางการขับเคลื่อนงานสวัสดิการชุมชนสวัสดิการสังคมสู่ความยั่งยืน  3 ประสาน ดังนั้นขบวนการเคลื่อนสวัสดิการภายใต้การดำเนินงานของ โครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน จึงมุ่งเน้นทิศทางดังต่อไปนี้เพื่อเป็นไปสู่จุดหมายสวัสดิการสังคมอย่างยั่งยืน โดยเป็นแนวทางการดำเนินงานเรื่องสวัสดิการสังคมแนวทางหลัก

จากการสัมภาษณ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา[2] ได้กำหนดแนวทางทางการประสานและการประสานงานร่วมกันคือ เน้นกลไกความร่วมมือของคณะกรรมการฯระดับจังหวัดในการประชุมเพื่อประสานความร่วมมือในงานภารกิจโดยตรงของหน่วยงานและจะเสริมทีมงานชุดเล็กเป็นทีมสหวิทยาการในการติดตามและสนับสนุนพื้นที่ (เน้นทีมทีมาจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน)และมีการปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง  และเสริมสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา นักวิชาการในการพัฒนาฐานข้อมูลการจัดสวัสดิการชุมชน การถอดองค์ความรู้ งานวิจัยและถอดบทเรียน ซึ่งในพื้นที่จังหวัดพะเยามีทีมงานจากมหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา และมหาวิทยาลัยพายัพเชียงใหม่ เป็นภาคีร่วมเป็นต้น 

รวมถึงเป็นการกระตุ้นหนุนเสริม การทำงานที่ผ่านมา พมจ. ภายใต้ พ.ร.บ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 ซึ่งจังหวัดมีกลไกที่เป็นคณะกรรมการ และงบประมาณที่เป็นกองทุนส่งเสริมการสวัสดิการสังคม จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดำเนินงานร่วมกับโครงการสวัสดิการชุมชนเพื่อให้บรรลุการจัดสวัสดิการ คือให้มีการบูรณาการกลไกของคณะกรรมการ กสจ. โดยให้มีเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นคณะกรรมการเพื่อสามารถผลักกันนโยบายและงบประมาณกองทุนในการพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนให้มีความเข็มแข็ง และพัฒนาการทำงานเรื่องสวัสดิการกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบเอดส์ บุคคลไร้สัญชาติ คนพิการยากไร้ หรือ บุคคลเร่ร่อน และอื่นๆ ซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลทุกพื้นที่สามารถเข้าร่วมได้  ทั้งนี้จังหวัดพะเยา ภาครัฐ : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ภาคประชาชน ได้กำหนดทิศทางร่วมกันดังนี้

-  ส่งเสริมและพัฒนากลไกคณะกรรมการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นและคณะอนุกรรมการสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนและขยายผลการดำเนินงาน

-   พัฒนายกระดับองค์ความรู้การพัฒนาสวัสดิการที่หลากหลายและศักยภาพพื้นที่ สวัสดิการชุมชน

-   ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีทั้งในระดับส่วนกลางและพื้น ในการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาและขยายผลการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น

-   พัฒนาระบบการติดตามการรายงานผลการดำเนินงาน  งานข้อมูล ให้สามารถสนับสนุนการทำงานให้กับระบบสวัสดิการชุมชนทุกระดับ

-   ประสานและเชื่อมโยงแผนพัฒนาสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ให้เป็นแผนพัฒนาท้องถิ่น

ดังนั้นขบวนสวัสดิการสังคมจังหวัดพะเยา  จึงเป็นสวัสดิการสังคม 3 ประสานหรือ สวัสดิการสังคม 3 ขา ที่มีการประสานงานและมีทิศทางในการพัฒนาไปพร้อมกันอย่างยั่งยืนและเป็นระบบอย่างแท้จริง “ภายใต้แนวคิดสวัสดิการคนพะเยาคนพวกเราไม่ทอดทิ้งกัน

ข้อมูลสวัสดิการสังคมจังหวัดพะเยา

การขับเคลื่อนงานสวัสดิการชุมชนชุมชนจังหวัดพะเยาเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี  2548  โดยมีคณะทำงานส่งเสริมสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนของจังหวัดเป็นผู้ขับเคลื่อนในการจัดตั้ง  ซึ่งเริ่มปีแรกมีการจัดตั้ง  เพียง  1  ตำบลเพื่อเป็นตำบลต้นแบบที่นำผลการการดำเนินงานมาเป็นบทเรียน 

หลังจากนั้นก็มีการขยายผลเพิ่ม  ปี 2551   จำนวน  15  ตำบล           ขยายผลเพิ่มปี  2552  

32  ตำบล  รวม ณ  ปัจจุบันมีการจักตั้งไปแล้วทั้งสิ้น รวม   47  ตำบล  และในปี  2553   คณะทำงาน  จึงมีการกำหนดแผนในการขยายงานเพิ่ม  ในเรื่องของการขยาย พื้นที่การจัดตั้งใหม่   พัฒนากองทุนที่จัดตั้งแล้ว  การเชื่อมโยงการทำงานกับภาคีต่างๆ  การจัดระบบข้อมูล  และการประชาสัมพันธ์งานสวัสดิการชุมชน  ดั้งนั้นเพื่อให้แผนที่ตั้งไว้ให้บรรลุวัตถุประสงค์จึงมีการจัดทำโครงการ เพื่อดำเนินการต่อไป

 

 

 

 

 

 


[1] สัมภาษณ์ ครูมุกดา  อินต๊ะสาร ที่ปรึกษาสวัสดิการสังคมจังหวัดพะเยา และ คณะอนุกรรมการโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน 5 มกราคม 2553

[2] การสัมภาษณ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา โดยการประสานงานผ่าน คุณราณี  วงค์ประจวบลาภ เจ้าหน้าที่ พมจ. พะเยา วันที่ 5 มกราคม 2553

หมายเลขบันทึก: 325943เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2010 19:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท