Strategic Planning and Balanced scorecard


เป็นประโยชน์แก่หน่วยงาน

Strategic Planning and Balanced scorecard

ยุทธศาสตร์ กับ กลยุทธ์ มีจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Strategy นี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคือ Strategia แปลว่า “การเป็นนายทัพ”  การวางแผน (Planning) คือ การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน  คาดการณ์ไปล่วงหน้า และกำหนดแนวทางที่คาดว่าน่าจะดีที่สุด เพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างได้ผล กลยุทธ์ (Strategy) คือ ไม่ใช้วิธีการธรรมดา  มีการใช้ความคิดเป็นพิเศษ เพื่อกลั่นเอาแนวทางที่ดีที่สุด  และสามารถแปรเปลี่ยนสถานการณ์ทุกประเภท ให้กลับกลายเป็นประโยชน์แก่หน่วยงาน  ไม่ว่าขณะนั้นองค์การจะอยู่ในสถานการณ์ใด  ไม่ว่าจะเป็นช่วงได้เปรียบ หรือเสียเปรียบก็ตาม ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อ

  • เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานพัฒนาตนเองได้ทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม เพราะการวางแผนกลยุทธ์ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานเป็นประเด็นสำคัญ
  • เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานในทุกระดับ มีความเป็นตัวเองมากขึ้น รับผิดชอบต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของตนเองมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะการวางแผนกลยุทธ์เป็นการวางแผนขององค์การ โดยองค์การและเพื่อองค์การไม่ใช่เป็นการวางแผนที่ต้องกระทำตามที่หน่วยเหนือสั่งการ
  • เป็นรูปแบบการวางแผนที่สอดรับกับการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นกระแสหลักในการบริหารภาครัฐในปัจจุบัน
  • กลยุทธ์ใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนางานสู่มิติใหม่ของการปฏิรูประบบราชการ
  • เป็นการวางแผนที่ให้ความสำคัญต่อการกำหนด “กลยุทธ์” ที่ได้มาจากการคิดวิเคราะห์แบบใหม่ ๆ ที่ไม่ผูกติดอยู่กับปัญหาเก่าในอดีตไม่เอาข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร และงบประมาณมาเป็นข้ออ้าง ดังนั้น การวางแผนกลยุทธ์จึงเป็นการวางแผนแบบท้าทายความสามารถเป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ จึงเป็นการวางแผนพัฒนาที่ยั่งยืน

 

 

หมายเลขบันทึก: 325609เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2010 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท