kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

เก็บตก : งานประสานความคิด เนรมิตผู้สูงวัยภาคเหนือ ฟันดี ปี 2553 ... สุนทรียปรัศนี


         จากบันทึกที่แล้ว http://gotoknow.org/blog/kongkiet/325206 เป็นการเก็บตกบรรยากาศทั่ว ๆ ไป  สำหรับบันทึกนี้จะเป็นการเก็บตกเรื่องราวเกี่ยวกับกระบวนการสุนทรียปรัศนี ที่อาจารย์อุทัยวรรณ และอาจารย์บดินทร์ เป็นวิทยากร ซึ่น่าสนใจมาก และน่าจะนำไปปรับกระบวนการในการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการทำงานกับคนหมู่มาก มีหลายปัจจัย สำหรับรายละเอียดของกระบวนการ พี่นนเขียนไว้อย่างละเอียดแล้ว ติดตามได้ที่ http://gotoknow.org/blog/km-dental-nonta/322721 ครับ

       เริ่มต้นด้วยอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม  กำหนดประธาน รองประธาน เลขา ผู้ช่วยเลขา โฆษก ผู้ช่วยโฆษก และอื่น ๆ เพื่อให้สามารถรู้หน้าที่ของคนในกลุ่ม โดยให้เขียนชื่อกลุ่ม และชื่อสมาชิกลงในกระดาษทั้งหมด

       จากนั้นวิเคราะห์ตนเองก่อน โดยใช้กระดาษ 4 สีแทนข้อคำถามดังนี้คือ 

  • สีส้ม - อะไรที่เคยทำสำเร็จมาแล้วและมีความภาคภูมิใจ
  • สีเขียว - อะไรเป็นหัวใจของความสำเร็จนั้น ๆ
  • สีฟ้า - อะไรคือความสามารถที่เป็นที่ยอมรับและเป็นที่ประจักษ์
  • สีชมพู - ต้องการให้เกิดอะไรกับองค์กร หรือชุมชน (ในที่นี้กำหนดในเรื่องฟันครับ)

      จากนั้นอาจารย์ให้นำกระดาษสีต่าง มาบรรจุลงใน Model ซึ่งแล้วแต่กลุ่มจะคิด โดยส่วนหัวหรือยอดจะเป็นสีชมพู   ปลายหางหรือฐานจะเป็นสีส้ม  ในลำตัวจะเป็นสีเขียว และสีฟ้า

    เมื่อได้ model ที่บรรจุข้อความดังกล่าวแล้ว   ต่อไปจะเป็นการทำ 7 ขั้นตอนของการวางแผนปฏิบัติการร่วมกันคิด คือ

  1. วิเคราะห์สถานการณ์ และกำหนดประเด็น โดยใช้สีชมพูคือเป้าหมาย  ส่วนสีส้มเป็นตัวชี้หรือเป็นหางเสือ ส่วนสีเขียวและฟ้าจะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ โดยตั้งคำถามว่า  - จะทำอะไร เมื่อไร ที่ไหน กับใคร และได้รับการสนับสนุนจากใคร
  2. กำหนดหัวใจแห่งชัยชนะ (สร้างจิตนาการ) โดยให้คิดว่าเมื่องานสำเร็จแล้วจะเกิดอะไรขึ้น โดยเขียนรูปหัวใจแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นสิ่งที่ประชาชนได้ประโยชน์ ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่ว่าเมื่อสำเร็จแล้วเราจะได้ประโยชน์อะไร
  3. สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ให้กำหนดข้อดี ข้อเสีย 
  4. กำหนดพันธกิจ (สัญญาใจ) โดยนำเอาจุดอ่อนมาเป็นสิ่งที่มุ่งมั้นในการสร้างพันธสัญญา
  5. กิจกรรมสำคัญ   ให้เขียนกิจกรรมว่าจะทำอะไรบ้าง โดยเรียนตามลำดับก่อนหลัง
  6. ปฎิทินกิจกรรม  นำมาลงในปฎิทินกิจกรรม
  7. ไตร่ตรอง  - สำรวจว่าครบถ้วน เป็นไปได้หรือไม่

        สิ่งที่ผมชอบคือหลังจากทำกิจกรรมทั้งหมดแล้ว อาจารย์ให้ทุกกลุ่มจัดแสดงโชว์ เพื่อให้กลุ่มอื่น ๆ ได้ดูด้วย

         สุดสิ้นกิจกรรม อาจารย์ยังไม่ลืมขั้นตอน AAR  อาจารย์ใช้ AAR ที่ผมอาจจะยังไม่เคยสัมผัสมาก่อน โดยอาจารย์ให้เขียนรูปหัวใจ และภาพตัวคนลงบนแผ่นกระดาษ จากนั้นให้ทุกคนเขียนบัตรคำ 3 ข้อคือ

  1. การประชุมครั้งนี้ท่านได้รับความรู้อะไรบ้าง  ----  จากนั้นนำไปติดบนแผ่นกระดาษบริเวณนอกตัวคน
  2. ได้ความรู้แล้ว ท่านจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง ---- อันนี้นำไปติดในตัวคน
  3. เมื่อนำไปใช้ประโยชน์แล้ว ท่านรู้สึกอย่างไร ---- อันนี้นำไปติดบริเวณหัวใจด้านบนสุด 

        หลังจากผ่านกระบวนการทั้งหมด ผมมีความรู้สึกเป็นสุข ที่ได้มีโอกาสร่วมการประชุมในครั้งนี้ รู้สึกความคิดและความรู้ในการทำงานกับชุมชนมันผุดและกระจ่างมากขึ้น ขอบคุณศูนย์อนามัยที่ 10  กองทันตสาธารณสุข และอาจารย์อุทัยวรรณ และอาจารย์บดินทร์ ครับ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณหมอนน คนขยัน ที่บันทึกอย่างละเอียด ทำให้เป็นขุมความรู้ที่เข้ามาอ่านทบทวนได้ตลอดเวลา

 ขอบคุณครับ

 

หมายเลขบันทึก: 325351เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2010 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • วันนี้จะไปขอรับคำแนะนำค่ะ จะทดลองใช้ในงานกพว.กลุ่มการพยาบาลค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท