ประเด็นความรู้และขั้นตอนการจัดการความรู้


การกำหนดประเด็กที่จะจัดการความรู้ดูจะเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นปัจจัยกำหนดความสำเร็จของการจัดการความรู้ในเรื่องนั้นๆ ได้

หลายหน่วยงานวิเคราะหืความรู้ตามแบบฟอร์ม 1 เพื่เลือกความรู้ที่ส่งผลต่อประเด็นยุทธศาสตร์  ก็พยายามเลือกเรื่องใหญ่ๆ เพราะเรื่องเล็กๆ ไม่กระทบ  แต่เรื่องใหญ่ๆ ก็ทำไม่สำเร็จ  การแก้ไขคือทำ Map องค์ความรู้  วางลำดับขั้นของการจัดกาความรู้เพื่อนำไปสู่ผลกระทบต่อประเด็นยุทธศาสตร์

เมื่อวานได้ไปคุยกับมือเก่าการจัดการความรู้ขั้นปรมาจารย์ 2 ท่าน ได้ความรู้มาบ้าง มือใหม่จึงขอบันทึกไว้..

- เมื่อเลือกองค์ความรู้ที่จะจัดการต้องทำกระบวนงานของเรื่องนั้นๆ ก่อน มีกระบวนงานใดที่ต้องการความรู้  แล้วยังไม่รู้บ้าง ทำ flowchart ของงาน  ขั้นตอนที่ยังไม่รู้ก็ต้องจัดความรู้

- ความรู้อยู่ที่ใครบ้าง  ช่องว่างที่เกิดขึ้นคือ  เมื่อบ่งชี้ความรู้  ไม่ได้ทำทะเบียนความรู้ว่าประเด็นความรู้นั้นประกอบด้วยความรู้ย่อยๆ เรื่องอะไรที่เราต้องค้นคว้าเพิ่มเติม  ความรู้นั้น เป็น EK หรือTK  แหล่งความรู้อยู่ที่ไหน  หากทำทะเบียนความรู้ได้ก็จะเป็นคำตอบให้ขั้นตอนของการแสวงหาความรู้ได้ ว่าเราต้องแสวงหาความรู้จากที่ไหน  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้องทำกับใครบ้าง  ใครคือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย  เช่น  การเยี่ยมบ้านไม่ได้เยี่ยมแต่ผู้ป่วย ญาติเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย งานสุขภาพจิตชุมชนก็เป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเพราะเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่มี stigma  รถสุขภาพจิตเข้าไปจอดหน้าชุมชนไหนก็อาจเป็นเรื่องได้ว่ามารับคนบ้า

- การใช้ CMP 1 เพื่อเตรียมการจัดกาความรู้อาจทำได้หลายวิธีการ  เช่น  การทำแบบทดสอบเพื่อประเมินว่ากลุ่มเป้าหมายมีความรู้มากน้อยเพียงใด เพื่อเป็น Baseline  เมื่อจัดการความรู้ ขยายความรู้ถึง KMP 7  แล้วก็ลองประเมินดูว่าผลการจัดการความรู้ที่นำไปใช้ทำให้กลุ่มเป้าหมายพัฒนาหรือแก้ไขปัญหามากน้อยเพียงใด เป็นการใช้ CMP 5 ประเมินผล  การจัดการความรู้

- มีการพูดคุยถึงเรื่องรางวัล /การยกย่องชมเชย หรือ CMP 6 ว่าน่าจะเป็นการที่หน่วยงานยกย่องผู้ปฏิบัติ  (ในที่นี้ก็ขอยกย่องทุกท่านที่เสียสละเพื่อการจัดการความรู้ไว้ด้วย) การยกย่องชมเชยมีหลายระดับคือ ระดับส่วนราชการ ระดับหน่วย ระดับเครือข่าย และระดับกลุ่มเป้าหมาย

หลักการจัดการความรู้อาจต้องมีรูปแบบต่างจากเดิมโดยเฉพาะในรายละเอียด  มีการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานและกระบวนการวิจัยหรือวิธีการเชิงคุณภาพอื่นๆ  อาจเข้ามามีส่วนร่วมได้ 

อนาคตการจัดการความรุ้ควรจะอยู่ในลักษณะใด เป็นกระบวนการจัดการความรู้โดดๆ เหมือน HA ISO CQI TQA หรือผสมผสานไปกับกระบวนการพัฒนาคุณภาพอื่นๆ  ขอความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมนะคะ

มือใหม่.. เรียนรู้

หมายเลขบันทึก: 324017เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2009 07:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท