การวางแผนตอบสนองความต้องการของสังคม ( social demand )


ความต้องการของสังคม จึงเป็นแนวทางสำคัญในการนำมาวางแผนการจัดการการศึกษา

 

 

 

การวางแผนตอบสนองความต้องการของสังคม (  social  demand )

  หมายถึง     การวางแผนขององค์กรให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมว่าสังคมคาดหวังให้สถานศึกษา ตอบสนองในด้านใดบ้าง  ความต้องการของสังคมเป็นสิ่งที่สังคมมุ่งหวังและต้องการจากองค์การนั้นตอบสนองทางด้านใดต่อสังคม ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม  แต่อยู่ในข้อสำคัญเหล่านี้คือ

    สังคมมนุษย์ต้องการอะไร

1. (Human  Social  nature) จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นในวัยเยาว์ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงจำเป็นที่จะต้องอยู่ร่วมและอาศัยการอบรมเลี้ยงดูจากผู้อื่นที่อยู่ร่วมกันในสังคม

2. ความต้องการของมนุษย์ในเรื่องของปัจจัยสี่ (Human  needs) ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำหรับ    การดำรงชีวิตบุคคลเพียงคนเดียวไม่อาจจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างสะดวกและปลอดภัยจึงจำเป็นต้องอยู่    ร่วมกันเป็นกลุ่ม

3. มนุษย์เป็นสัตว์ทางวัฒนธรรม (Cultural  creature) วัฒนธรรมเป็นแบบอย่างของการดำรงชีวิตในสังคมและเป็นมรดกแห่งสังคม มนุษย์สามารถเรียนรู้ สะสมวัฒนธรรมที่ดีและทิ้งวัฒนธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ การแยกตัวจากสังคมไปอยู่เพียงลำพังผู้เดียวย่อมไม่อาจเรียนรู้ ถ่ายทอดและเก็บรักษาวัฒนธรรมที่ดีได้สืบไป

4. ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน (Conciousness  of Kind) หมายความว่าสังคมเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมทั้งมองเห็นว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่เป็นลักษณะร่วมกัน     ในระหว่างพวกเขาจึงมาอยู่กันเป็นกลุ่มก้อน  โดยกลุ่มก้อนแรกคือครอบครัว

 5. ความต้องการความอบอุ่น-ความปลอดภัย (Security) มนุษย์เมื่ออยู่คนเดียวไม่อาจมั่นใจในชีวิตและทรัพย์สิน แต่เมื่ออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคม มนุษย์รู้สึกปลอดภัย อบอุ่น มั่นใจในชีวิตและทรัพย์สิน

             เมื่อกาลเวลาแปรเปลี่ยนไปความต้องการของมนุษย์ก็ซับซ้อนขึ้น       ซึ่งองค์กรต้องตอบสนองความต้องการนั้น  เช่น  สังคมไทยปัจจุบันต้องการความต้องการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม มีการกระจายรายได้สู่ทุกภาคทุกคนอย่างเป็นธรรม  กระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีมาตรฐาน หากประชาชนมีการศึกษาที่ดีสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ จะทำให้มีรายได้เป็นผลตอบแทน กลับมาซึ่งจะทำให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ   ต้องการความสามัคคีสมานฉันท์ เป็นต้น

                 สำหรับสถานศึกษาสังคมมีความคาดหวังว่า 

          1.ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษา ที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

          2. ครูมีการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเน้นคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่องทำให้เป็น ที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

          3.มีผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำและความรู้ ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ

และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของ

ผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

           4.กรรมการสถานศึกษาได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นผู้ที่ทำประโยชน์ และมีส่วนพัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพทางการศึกษาให้แก่เยาวชนและชุมชนร่วมกับผู้บริหารและครู สมควรที่ได้รับความไว้วางใจให้มาเป็นกรรมการสถานศึกษา

           5.หน่วยงานที่กำกับดูแล ได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง

 ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับ ดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพของสถานศึกษา

          6.ชุมชนและสังคมประเทศชาติ ได้เยาวชนและคนที่ดี มีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยพัฒนาองค์กร ชุมชน และสังคมประเทศชาติต่อไป

          7.ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจจากการให้บริการของหน่วยงาน 

            ความต้องการของสังคม จึงเป็นแนวทางสำคัญในการนำมาวางแผนการจัดการการศึกษา เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ

หมายเลขบันทึก: 323037เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2009 08:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท