หลุมดำการศึกษาไทย...( ภาค 3)


กฎหมายการศึกษา ใช่ว่าจะเป็นตำรายาสมานแผล หากแต่ต้องทำจริงเชิงภูมิปัญญาไทย

มิติที่ 1

...>>>ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เป็นการดำเนินชีวิต  และวิธีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ มีพระราชดำรัสแนะนำแก่พสกนิกรชาวไทยร่วม 30 ปี โดยมีหลักการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานทางสายกลาง  และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ มีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกันในตัว ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต สามารถดำรงตนในสังคมอย่างมั่นคง  ยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติโดยมีพระราชดำรัสไว้ว่า

                                “ พูดจาก็พอเพียง  ปฏิบัติตนก็พอเพียง”
...>>>ในที่นี้คำนิยามบอกหลักการไว้ว่า ความพอเพียงหมายถึง  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  และการสร้างภูมิคุ้มกันที่มีคุณค่าจากผลกระทบทั้งจากภายในและภายนอก  กล่าวได้ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับสังคม  วัฒนธรรมการดำรงอยู่และประวัติศาสตร์ ความเป็นคนไทย  สังคมไทย รู้ได้อย่างไรว่าพอประมาณหรือไม่  ต้องรอบรู้ในข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  สิ่งแวดล้อม  การใช้สติยั้งคิดด้วยปัญญา  ซื่อสัตย์  จริงใจ  ต่อตนเองและผู้อื่นใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจ  นี่คือการสร้างวัคซีนป้องกันตนเองอย่างยั่งยืน แม้ว่ากระแสวัฒนธรรมต่างชาติจะรุมเร้าก็มิอาจทลายกำแพงแห่งความพอเพียงได้  หากท่านมีสติและใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระราชทาน>>>มีต่อภาคหน้า

หมายเลขบันทึก: 322488เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท