พรบ.คุ้มครองฯ พ.ศ. 2550


พรบ.คุ้มครองฯ พ.ศ. 2550

เข้าร่วมประชุม วันที่ 25 พ.ย 52 กับพี่ เปี้ยก ที่ศาลากลางจังหวัดชัยนาทโดย พมจ.ชัยนาทจัด

วันที่ 25 พ.ย. ของทุกปีเป็น “วันขจัดความรุนแรงต่อสตรีสากล” สำหรับประเทศไทย กำหนดให้เดือนพ.ย.ของทุกปีเป็น “เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี”

                การประชุมครั้งนี้ เป็นการรณรงค์เน้นให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันช่วยเหลือ/ป้องกัน/แก้ไขปัญหาความรุนแรงทั้งต่อเด็กและสตรี                เนื้อหาส่วนใหญ่เน้นให้เข้าใจกฎหมาย วันนี้เลยเอาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายตามพระราช บัญญัติ คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว  พ.ศ. 2550 มาแลกเปลี่ยนกันนะคะ

               หลักการ    การมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย มีศักดิ์ศรีของ ความเป็นคนเป็นสิทธิของทุก คน จึงไม่มีใครมีสิทธิทำร้ายใครไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม การกระทำความรุนแรงต่อเด็กและสตรีจึงไม่ใช่ปัญหาส่วนตัวแต่เป็นปัญหาส่วนรวมที่ทุกภาคส่วนต้องเข้าไปมีส่วนร่วมจัดการแก้ไขทั้งปัญหาด้านสุขภาพและสังคม

ประเด็นความรุนแรงในครอบครัวเป็นประเด็นสาธารณะ ที่ทุกคนมีหน้าที่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อพบเห็นการกระทำความรุนแรงในครอบครัว

                ลักษณะของความรุนแรงในครอบครัว (มาตรา 3)     แบ่งเป็น 3 ลักษณะ การกระทำที่เป็นเจตนาพิเศษ เพื่อให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของบุคคลในครอบครัว โดยมุ่งเน้นเจตนา ไม่มุ่งเน้นวิธีการพิจารณาลักษณะของการกระทำ ในกรณีที่การกระทำนั้นน่าจะก่อให้เกิดความรุนแรง  การจำกัดเสรีภาพบุคคลในครอบครัว เพื่อบังคับให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ โดยมิชอบ

                ผู้ได้รับความคุ้มครอง (มาตรา 3)  คู่สมรสเดิม   คู่สมรส    ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส    บุตร บุตรบุญธรรม    สมาชิกในครอบครัวอื่น ๆ  บุคคลใดที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน (ไม่รวมผู้เช่า)

                โทษ (มาตรา 4)ให้ความผิดตามกฎหมายนี้ ต้องระวางโทษจำคุก    ไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือ   ทั้งจำทั้งปรับ  แต่ทั้งนี้  กำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัวไว้

                กำหนดหน้าที่พบเห็น (มาตรา 5) ผู้ที่พบเห็นความรุนแรงมีหน้าที่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อชี้ให้เห็นว่าเรื่องความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องของสังคม ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวอีกต่อไปและกฎหมายให้ความคุ้มครองผู้แจ้งที่กระทำการโดยสุจริต

                อายุความ (มาตรา 7)ให้แจ้งความภายในกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่ผู้ถูกกระทำฯ อยู่ในวิสัยและมีโอกาสที่จะแจ้งหรือร้องทุกข์ได้               

                มาตรการนำเสนอข่าว (มาตรา 9)เมื่อมีการแจ้งความหรือร้องทุกข์แล้ว ห้ามมิให้เสนอ/เผยแพร่ข่าวอันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ**

 “ครอบครัวอบอุ่น  ไร้ความรุนแรง  พบเห็นความรุนแรง  แจ้งศูนย์ประชาบดี 1300  หรือศูนย์พึ่งได้   1669”

                                                         wan

 

 

หมายเลขบันทึก: 322115เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2009 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 02:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

"ประเด็นความรุนแรงในครอบครัวเป็นประเด็นสาธารณะ ที่ทุกคนมีหน้าที่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อพบเห็นการกระทำความรุนแรงในครอบครัว" อยากเน้นประโยคนี้ค่ะ ถ้าทุกคนไม่เพิกเฉยหรือคิดว่าธุระไม่ใช่ แล้วก็อาจสร้างความหวั่นไหวให้กับผู้ที่คิดหรือจะกระทำรุนแรงฯ ได้บ้าง /By Jan

ได้ความรู้เรื่องนี้ชัดเจนขึ้นเยอะเลยครับ Thanks /Boss

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท